การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาองค์การบริการส่วนตำบลศรีถ้อย
1. หลักและแนวคิดในการวางแผนพัฒนาองค์การบริการส่วนตำบลศรีถ้อย
ขอบข่ายแนวคิดในการวางแผนพัฒนาองค์การบริการส่วนตำบลศรีถ้อย ได้ยึดคำแถลงนโยบายของรัฐบาลในชุดปัจจุบัน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550–2554) ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของจังหวัดพะเยา (พ.ศ.2551-2553) และกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพะเยา(พ.ศ.2551-2555)
คำแถลงตามนโยบายของรัฐบาล
1.นโยบายการปฏิรูปการเมืองการปกครองและการบริหาร
1.1สนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร
1.2เสริมสร้างมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
1.3จัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมือง
1.4จัดทำแผนแม่บทการใช้ทรัพยากรสื่อสารของชาติการใช้เครื่องมือสื่อสารของรัฐ
1.5ส่งเสริมเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อสารมวลชน
1.6ส่งเสริมบทบาทขององค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชน
1.7มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลและการจัดองค์กรภาครัฐ
1.8สนับสนุนการกระจายอำนาจอจ่างต่อเนื่อง
2.นโยบายเศรษฐกิจภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคือการใช้หลักคุณธรรมกำกับการ
พัฒนาเศรษฐกิจในระบบตลาดเสรี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเปรียบเสมือนรากแก้วของประเทศ
เศรษฐกิจระบบตลาดและเศรษฐกิจส่วนรวมให้มีส่วนร่วมในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบความยั่งยืนและความพอดี
โดยเน้นให้ภาคเอกชนมีบทบาทนำ ผนึกกำลังร่วมกับภาครัฐ และภาคประชาสังคมเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจทั้งสามภาค
3.นโยบายด้านสังคม
1.1ส่งเสริมความรักความสามัคคีความสมานฉันท์ของคนในชาติ
1.2จัดทำแผนปฏิรูปสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์
1.3เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้
1.4พัฒนาสุขภาวะของประชาชนให้ครอบคลุมทั้งมิติทางกาย..จิต..สังคม..และปัญญา
1.5ส่งเสริมกีฬาพื้นฐานและกีฬามวลชน
1.6ส่งเสริมทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีสันติสุขยั่งยืน
1.7 ปฏิรูประบบการะบวนการยุติธรรมโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม
1.8 ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10(พ.ศ.2550-2554)เน้นการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา เพื่อสังคมเข้มแข็งและมีคุณภาพ มุ่งพัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหาความยากจน และฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความสมดุลทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืนพึ่งพาตนเองได้ เสริมสร้างความมั่นคงด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมภายใต้การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน โปร่งใสตรวจสอบได้ โดยมีเป้าหมายหลัก 5 ด้านดังนี้
1.การพัฒนาคุณภาพคน
2.พัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหาความยากจน
3.ฟื้นฟูเศรษฐกิจ
4.สร้างความมั่นคงของฐานทัพยากรและสิ่งแวดล้อม
5.บริหารจัดการด้วยระบบธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ให้สอดรับกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของประเทศไว้4ประเด็นหลัก
1.ส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีและกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
2.ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.ส่งเสริมการพัฒนาสังคมบนพื้นฐานของคุณธรรม
4.ส่งเสริมรักษาความมั่นคงของรัฐและความสงบของประชาชน
ยุทธศาสตร์อยุ่ดีมีสุขจังหวัดพะเยา
วิสัยทัศน์จังหวัดพะเยา “พะเยาเป็นเมืองน่าอยู่ ประชาชนมีรายได้พอเพียงกับรายจ่ายที่จำเป็น
มีโอกาสพัฒนาตนเองให้อยู่ดีมีสุข ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้”
ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดพะเยา ภายใต้วิสัยทัศน์ดังกล่าว ได้กำหนดกรอบในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไว้

5ประเด็นยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่
1ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียงมี3 กลยุทธหลัก
1.1 ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 พัฒนาเกษตรพื้นฐาน
1.3 สร้างอาชีพชุมชน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่2ยุทธศาสตร์พัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชนมี5กลยุทธหลัก
2.1 พัฒนาด้านการเกษตรเพื่อการส่งออก
2.2 พัฒนาอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการSMEs
2.3 พัฒนาการท่องเที่ยวและบริการ
2.4 พัฒนาการค้าและการลงทุน
2.5 พัฒนาสารสนเทศเพื่อการแข่งขัน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่3 ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน มี5กลยุทธหลัก
3.1 บ้านสวยเมืองสะอาด
3.2 เมืองปลอดภัย
3.3 เมืองกีฬาเพื่อสุขภาพ
3.4 ป่าสวยน้ำใสเมืองปลอดมลพิษ
3.5 สร้างเครือข่ายเรียนรู้เมืองน่าอยู่
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่4 ยุทธศาสตร์การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ มี 8กลยุทธหลัก
4.1 สร้างสุขภาพและควบคุมป้องกันโรค
4.2 พัฒนาการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
4.3 ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
4.4 สร้างความมั่นคงและอำนวยความเป็นธรรม
4.5 พัฒนาสถาบันครอบครัว
4.6 พัฒนาเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของประชาชน
4.7 ขยายโอกาสและให้ความคุ้มครองทางสังคม
4.8 ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน มี 4 กลยุทธหลัก
5.1 สร้างจริยธรรมและคุณธรรมแก่ข้าราชการและทุกภาคส่วนในสังคม
5.2 เพื่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ
5.3 เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
5.4 พัฒนาองค์กร

ยุทธศาสตร์อยุ่ดีมีสุของค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย
เพื่อเป็นการบูรณาการแผนและแนวทางการพัฒนาในระดับท้องถิ่น ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อยตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล(พ.ศ.2551-2553)
จึงสอดรับกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดพะเยา และกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพะเยา (พ.ศ.2551-2555)ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่1ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียงมี4แนวทาง
1. 1 ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 พัฒนาเกษตรพื้นฐาน
1.3 สร้างอาชีพชุมชน
1.4 พัฒนาปัจจัยในการผลิต
ยุทธศาสตร์ที่2ยุทธศาสตร์พัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน
2.1 พัฒนาด้านการเกษตรเพื่อการบริโภคการซื้อขายภายในประเทศและส่งออก
2.2 พัฒนาอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการSMEs
2.3 พัฒนาการท่องเที่ยวและบริการ
2.4 พัฒนาการค้าและการลงทุน
2.6 พัฒนาสารสนเทศเพื่การบริหารการบริการและการแข่งขัน
ยุทธศาสตร์ที่3ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน
3.1 บ้านสวยหมู่บ้าน/ชุมชนสะอาด
3.2 หมู่บ้าน/ชุมชนปลอดภัย
3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาและการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
3.4 ป่าสวยน้ำใสหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดมลพิษ
3.4 สร้างเครือข่ายเรียนรู้เป็นเมืองน่าอยู่
ยุทธศาสตร์ที่4ยุทธศาสตร์การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ
4.1 สร้างสุขภาพและควบคุมป้องกันโรค /สงเคราะห์ครอบครัวผู้ด้อยโอกาส
4.2 พัฒนาการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
4.3 ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
4.4 สร้างความมั่นคงและอำนวยความเป็นธรรม
4.5 พัฒนาสถาบันครอบครัว
4.6 พัฒนาเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของประชาชน
4.7 ขยายโอกาสและให้ความคุ้มครองทางสังคม
4.8 ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่5ยุทธศาสตร์การบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน
5.1 เพื่มประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ
5.2 สร้างจริยธรรมและคุณธรรมแก่ข้าราชการและทุกภาคส่วนในสังคม
5.3 เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
5.4 พัฒนาองค์กร

2.การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย
ศักยภาพการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย เมื่อวิเคราะห์ด้วยเทคนิค (SWOT Analysis) คือวิเคราะห์ ทั้งปัจจัยภายใน(จุดแข็ง และจุดอ่อน )และปัจจัยภายนอก(โอกาส และอุปสรรค) สามารถนำมากำหนดแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ตรงตามเป้าหมายยิ่งขึ้นปัจจัยภายใน (Internal Factors) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของตำบลศรีถ้อย จุดแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย ( Strengths)
1.เป็นที่ตั้งของส่วนราชการระดับอำเภอที่ว่าอำเภอโรงพยาบาลสถานศึกษาอยู่ใน
พื้นที่ตำบลสะดวกในการติดต่อประสานงานการให้บริการประชาชน และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของตำบล
2.การคมนาคมสะดวก มีถนนสี่ช่องทางจราจรผ่าน อยู่ใกล้กับหน่วยงานราชการ และอปท.ทุกแห่ง
ในอำเภอ
3. มีพื้นที่ปลูกลิ้นจี่มากที่สุดในอำเภอ และมีจุดรับซื้อขายลิ้นจี่ที่มากที่สุดในจังหวัดพะเยา
4. มีภูมิทัศน์สวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่ตำบลเช่น
สวนลิ้นจี่ หมู่บ้านHomestayปางปูเลาะ-ผาแดงถ้ำประกายเพชรจุดชมวิวผาแดง ฯลฯ
6.มีวัฒนธรรมหลากหลายที่น่าศึกษาท่องเที่ยวในเทศกาลต่างๆ ทั้งวัฒนธรรมล้านนา และวัฒนธรรชนเผ่า
จุดอ่อนขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย(Weaknesses)
1.การรวมกลุ่มของเกษรตรในพื้นที่ยังไม่เข้มแข็ง ขาดอำนาจการต่อรองราคาผลผลิต
2.ความไม่พร้อมของประชาชนในการเป็นผู้ประกอบธุรกิจการค้า และผู้ให้บริการ ทั้งธุรกิจการค้าด้าน
ผลผลิตทางการเกษตร และการให้บริการท่องเที่ยว
3.ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรมมีรายได้เฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ต่ำมีภาระหนี้สินเกิดวัฎจักรความยากจน
4.แหล่งท่องเที่ยวทรุดโทรม การวางแผนประชาสัมพันธ์ เอกลักษณ์กิจกรรมการท่องเที่ยว ไม่ต่อเนื่อง
5.งบประมาณของท้องถิ่นมีจำกัดเกินศักยภาพในการช่วยเหลือเกษตรกรภาวะผลผลิตตกต่ำในภาพรวม
ทั้งตำบล ปัจจัยภายนอก (External Factors) วิเคราะห์โอกาส และอุปสรรคของตำบลศรีถ้อย
โอกาสของตำบลศรีถ้อย (Opportunities )
1. นโยบายของจังหวัดกำหนดให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในยุทธศาสตร์เศรษฐกิจด้านการเกษตร
2.นโยบายของจังหวัดส่งเสริมให้เป็นพื้นที่เป้าหมายและเป็นเครือข่ายในยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแ
บริการ
3.นโยบายของจังหวัดส่งเสริม ให้เป็นเครือข่ายศูนย์ข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ
4.รัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข
อุปสรรคของตำบลศรีถ้อย (Threats)
1. ขาดแคลนแหล่งน้ำ สำหรับการเกษตรและการบริโภค เนื่องจากภัยแล้งซ้ำซากทุกปี
2.ระเบียบ กฎหมาย อุทยาน,ป่าไม้ ไม่เอื้อต่อการพัฒนาหมู่บ้านการท่องเที่ยวและบริการ
3.มาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกรภาวะผลผลิตตกต่ำของภาครัฐไม่สอดรับยุทธศาสตร์จังหวัด
4.บทบาทขององค์กรชุมชนกับการมีส่วนร่วมพัฒนาได้รับการตอบสนองน้อย

Followers