เปิดนโยบายรัฐบาล "อภิสิทธิ์
หมาย เหตุ นโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่จะมีการแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 29 - 30 ธ.ค.นี้ โดยวันนี้ (23 ธ.ค.) คณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบร่างแถลงนโยบาย ซึ่งมีความหนา 36 หน้า แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยที่น่าสนใจคือ การตั้งองค์กรถาวรแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดแดนภาคใต้ กำหนดเป็นเขตพัฒนาพิเศษ เน้นการปลูกฝังค่านิยม "คนไทยต้องไม่โกง"
นโยบายรัฐบาล ระยะ ที่ 1 หรือ ระยะ เร่งด่วนที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 1 ปี
1. การพัฒนาความเชื่อมั่น และกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม โดยการเสริมสร้างความสมานฉันท์ และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว รับฟังความเห็นของทุกฝ่าย จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดแดนภาคใต้ พร้อมทั้งกำหนดเป็นเขตพัฒนาพิเศษ มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษ ด้านภาษี พัฒนาเขตอุตสาหกรรมฮาลาล ที่สำคัญกำหนดเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม และส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางอิสลามการศึกษานานาชาติ เน้นการปฏิรูปการเมือง มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูปโดยการมีส่วนร่วมของ ประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย
เร่งสร้างความ เชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาชาวโลก โดยจะมีการเร่งลงนาม ข้อตกลงในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือน ก.พ.นี้ ฟื้นฟูเเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจะมีการออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การส่งออก รวมถึงอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมกับทำงบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติมประจำปี พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยจะมีการปรับแผนงบประมาณ รายจ่ายปี 2552 ที่มีอยู่แล้ว ในการจัดอบรมและสัมมนา ให้กระจายทั่วประเทศเร่งลงทุน เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด
เร่งสร้างบรรยากาศในการลงทุน เน้นการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
2. การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน เน้นความร่วมมือของภาคเอกชน ในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง และป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้าง ในภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่ เล็กและย่อม ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงาน จากภาคอุตสาหกรรม และนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานว่างงาน กว่า 5 แสนคน ในระยะเวลา 1 ปี เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือความเดือดร้อนของลูกจ้าง และผู้ว่างงานจากวิกฤติเศรษฐกิจ โดยจะเร่งให้ได้สิทธิประโยชน์ที่พึ่งได้ตามกฎหมายโดยเร็ว
การ เพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และให้ผู้ถูกเลิกจ้างเข้าถึงแหล่งทุน สร้างหลักประกันด้านรายได้ ให้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอ โดยจัดเบี้ยเลี้ยงยังชีพให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยการขอขึ้นทะเบียนขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดาน ให้กู้ยืมจากกองทุนผูสูงอายุ เป็น 30,000 ต่อราย
เพิ่ม มาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชน และกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากโดยการตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอ เพียง จัดสรรวงเงินเพิ่มจากที่เคยให้ เร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณอย่างรวดเร็ว ดำเนินการมาตรการรักษาเสถียรภาพ ราคาสินค้าเกษตร ผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ เร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร เร่งรัดและพัฒนาตลาด ระบบการจ่ายสินค้า ของสินค้าเกษตร และสินค้าชุมชน
จัดตั้ง สภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วม ในการรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.)ทั่วประเทศ โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
3.การลดภาระค่าครอง ชีพของประชาชน ให้ทุกคนมีโอกาสรับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราฟรี ชุดนักเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 ทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อชดเชยรายการต่าง ๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง กำกับดูแลราคาสินค้า อุปโภค บริโภค และบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม ดำเนินการมาตรการลดภาระค่าครองชีพ ของประชาชนในการเดินทางก๊าซหุงต้ม การบริการด้านสาธารณูปโภคให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ บนหลักการของการประหยัด
4. ตั้งคณะกรรมการ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตามแก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการ โครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเร็ว
ระยะที่ 2 บริหารราชการเป็นเวลา 3 กำหนดไว้ดังนี้

1. เร่งนโยบายความมั่นคงของรัฐด้วยการปกป้อง เทิดทูนพระมหากษัตริย์ เสริมสร้างพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อม ในการรักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน คุ้มครองผลประโยชน์ของชาติ เตรียมความพร้อมของกองทัพ ฝึกกำลังพลให้เกิดความชำนาญ จัดให้มีแผนสำรองอาวุธ และพลังงานเพื่อความมั่นคง ปรับสิทธิประโยชน์ กำลังพล เบี้ยเลี้ยง และค่าเสบียงสนาม ของทหารหลัก และทหารพราน ให้สอดคล้องกับสภาวเศรฐกิจ เร่งแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี ให้ความสำคัญกับการสำรวจ และการปักปันเขตแดน กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างถูกต้อง ตามข้อตกลง และสนธิสัญญากับประเทศเพื่อนบ้าน แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ ปัญหาแรงงานต่างด้าว เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ และพร้อมที่จะแก้ไขปัญหา การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติทุกรูปแบบ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาชาติในกรอบสหประชาชาติ
2. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต เน้นนโยบายด้านการศึกษา มีการปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พัฒนาบุคลากร เน้นการเรียนรู้มมุ่งคุณธรรม และมีการกระจายอำนาจทุกภาคส่วน ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา โดยเน้นระดับอาชีวะ และอุดมศึกษา พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ดูแลคุณภาพชีวิตของครู ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู จัดให้ทุกคนมีโอกาสศึกษาฟรี ตั้งแต่อนุบาลไปจนมัธยมปลาย ยกระดับมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวะศึกษา และอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีการประนอม และไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้วขยายกองทุนให้กู้ยืม เพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้น ให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษา ระดับอาชีวะ และปริญญาตรีเพิ่มขึ้น ที่สำคัญ เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษา เน้นเรื่องการวิจัย ปรับเกณฑ์มาตรฐาน ส่งเสริมความเป็นเลิศ ของมหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค ที่เน้นการวิจัย และแก้ปัญหา
นโยบาย แรงงาน เน้นการแก้ไขแรงงานทั้งระบบได้มาตรฐาน แรงงานต้องได้สิทธิคุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็ง ยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อให้ไปทำงานในต่างประเทศได้อย่างมีคุณภาพ จัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน มีสถานดูแลเด็กอ่อนในสถานประกอบการ จัดระบบแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกัยภาคผลิต ไม่กระทบแรงงานไทย ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุ และผู้พิการ
นโยบายด้าน สาธารณสุข ส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนา บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนเพื่อให้กลับมาทำงานในท้องถิ่น สร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคที่กลายพันธุ์ และเป็นสายพันธุ์ใหม่ อย่างทันต่อสถานการณ์ไม่ให้ระบาดซ้ำ ปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุข โดยการลงทุนพัฒนา ระบบบริการสาธารณสุขภาครัฐให้มีมาตรฐานทุกระดับ ยกระดับสถานีอนามัย เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ทำให้ระบบประดันสุขภาพเชื่อมโยงระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือก และการบริการครอบคลุม ลงทุนผลิต และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมทั้งสนับสนุนเทคโนโลยีด้านสุขภาพให้ทันสมัย ปรับปรุงระเบียบ เพื่อให้มีรายได้และค่าตอบแทนที่เหมาะสม และผลักดัน การขับเคลื่อนให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ ในระดับนานาชาติ
นโยบาย ด้านศาสนา ศิลป และวัฒนธรรม ส่งเสริมการทำนุ บำรุง ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย ส่งเสริมค่านิยมที่ดีงาม เรียนรู้ให้มีการเผยแพร่สู่สังคมโลกสร้างความเป็นเอกลักษณ์
นโยบายด้าน สวัสดิการและความมั่นคงของมนุษย์ เน้นแก้ไขปัญหาความยากจน จัดหาที่ดินทำกินให้ผู้มีรายได้น้อย ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน ยืดระยะเวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระดอกเบี้ย เร่งรัดให้มีการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ สร้างความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ป้องกันปัญหาอาชญากรรมนโยบายการ กีฬา และนันทนาการ ส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มออกกำลังกาย พัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ ตั้งศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ นำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้เพื่อยกมาตรฐานให้ทัดเทียมนานาชาติ
3.นโยบาย เศรษฐกิจ เน้นนโยบาบบริการเศรษฐกิจมหภาค สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญอย่างต่อเนื่อง สร้างเสถียรภาพอย่างมั่นคงของสถาบันการเงิน และสร้างความร่วมมือทางการเงิน ภายใต้กรอบการประชุมสุดยอมอาเซียน พัฒนาตลาดทุน และระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็ง สามารถรองรับผลกระทบจาความผันผวนของสภาวะการเงินโลก ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศ ให้สอดคล่องกับกำลังเงินของแผ่นดิน ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษีให้มีความเป็นธรรมโปร่งใส กำหนดกรอบลการลงทุนภาครัฐ รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือ และกลไกการระทุนให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สุงสุด ลดต้นทุนการผลิตและการดำเนินการ
นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในส่วนของ ภาคการเกษตร เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร และพัฒนาระบบโลจิสติกส์เกษตร ส่งเสริมอาชีพ และการนขยายโอกาสการทำประมงทั้งชายฝั่งและประงมงน้ำจืด จัดตั้งองค์กรระดับชาติเพื่อแก้ไขปและพัฒนาประมงประเทศ พัฒนาศักยภาพปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ เช่น โค กระบือ ดูแลสินค้าการเกษตร โดยมีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้า ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าการเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก ส่งเสริมเพิ่มมูลค่าเกษตรโดยการส่งเสริมการวิจัย พัฒนามาตรฐาน และความปลอดภัยสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร สร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยเน้นตามแนวทางพระราชดำริ มีธนาคารโค กระบือ สนับสนุนแนวทางเกษตรอินทรีย์ แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพ ความเป็นอยู่ของเกษตรกร
ภาคอุตสาหกรรม เน้นสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เน้นการวิจัยระหว่างรัฐกับเอกชน เพื่อพัฒนาสินค้า กำพหนดมาตรฐาน อุตสาหกรรมการผลิต เครื่องจักรในประเทศ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอัญมณี โดยส่งเสริมด้วยการลดต้นทุนทางภาษี คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญหา เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะ ตามความต้องการของตลาด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยคำนึงถึงความอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชน ส่วนเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม เน้นคุณภาพมาตรฐานรักษาสิ่งแวดล้อม
ภาคการท่องเที่ยวและการบริการ เพิ่มความหลากหลายของธุรกิจบริการ พัฒนาฝีมือบริการในด้านคุณภาพ และภาษา พัฒนาแหล่งท่อมเที่ยวทั้งของรัฐ และเอกชน ให้ยังคงสภาพ เป็นจุดขาย โดยเน้นตามกลุ่มจังหวัด ให้มีความเหมาะสม เช่น กทม. ที่ทรงเสน่ห์ อันดามัน เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก ภาคเหนือเป็นศูนย์กลางอารยธรรมล้านนา ภาคอีสาน เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม และชายแดน ภาคกลางเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวอารยธรรม มรดกโลก และมรดกธรรมชาติ มีการพัฒนามาตรฐานธุรกิจการท่องเที่ยว เช่นโรงแรมพนักงาน บริษัทนำเที่ยวอาหาร เสริมสร้างความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว เน้นการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนจุดขายที่มีความโดดเด่นให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมรักษาสภาพแวดล้อม ให้คงอยู่ต่อไป
ด้านการตลาด การค้า และการลงทุน ส่งเสริมระบบการค้าเสรี และเป็นธรรม มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า เพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด ตัดตอน รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีก เพื่อกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นระบบ ขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย และพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้เกิดความรวดเร็ว ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการเค้าเสรี ทั้งในระดับทวิภาค และพหุภาคี ปรับปรุงมาตรฐานการนำเข้า เพื่อป้องการกัารค้าไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด ส่งเสริมการลงทุนภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะด้านอาหาร อุตสาหกรรมภาพยนต์ พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศ ในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ปรับปรุงและเร่งรัด กระบวนการพิจารณา อุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานที่พิจารณาเรื่องอุทธรณ์ จากระดับกรม ขึ้นมาในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณา ตัดสินอุทธรณ์ เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์
นโยบายการพัฒนาโครง สร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยการขยายสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน พัฒนาระบบคมนาคม ขนส่ง แบบโลจิสติกส์ พัฒนาระบบโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใน กทม. และปริมณฑลให้สมบูรณ์ สามารถเชื่อมต่อชานเมือง พัฒนาระบบรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเส้นทางที่มีปริมาณการขนส่งหนาแน่น พัฒนากิจการพานิชย์นาวี และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ เพื่อเพิ่มสัดส่วนในการขนส่งทางน้ำมากขึ้น พัฒนาและขยายความสามารถการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค พัฒนาระบบขนส่งระบบโลจิสติกส์ ในภูมิภาค และเชื่อมโยงกับโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามแนวเศรษฐกิจเหนือ - ใต้ แนวเศรษฐกิจ ตะวันออก - ตะวันตก โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมอ่าวไทย และอันดามัน โครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย รวมทั้งปรับปรุงอำนวยความสะดวกทางการค้า การขนส่งสินค้า ตามจุดชายแดนสำคัญ เช่น ด่านหนองคาย แม่สอดมุกดาหารสระแก้วด่านสิงขรและช่องเม็ค
นโยบาย ด้านพลังงาน พัฒนาให้ไทยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น จัดหาพลังงานทดแทน และมีเสถียรภาพ ส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก สนับสนุนใช้พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล กำกับดูแลราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมีเสถียรภาพ เป็นธรรมต่อประชาชน ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน ทั้งภาครัฐเรื่องอุตสาหกรรม บริการและขนส่ง เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน เน้นการใช้พลังงานสะอาด เพื่อไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อมลดเรือนกระจก
นโยบายเทคโนโยโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร พัฒนาโครงข่าวสื่อสารพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งการพัฒนา ศักยภาพของบุคลากร ในอุตสากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์
4. นโยบายที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยเน้นการคุ้มครองทัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่า เน้นการฟื้นฟูอนุรักษ์ระบบนิเวศ เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ จัดให้มีระบบป้องกัน เตือนภัย และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ควบคุมของเสียที่จะเกิดมลพิษด้วยการหามาตรการจูงใจในเรื่องภาษีและสิทธิต่าง ๆ จากผู้ประกอบการเพื่อลดปัญหาโลกร้อน และมลพิษ ให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง
5. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เน้นการวิจัยตามแนวพระราชดำริ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพานิชย์ และอุตสาหกรรม เร่งรัดผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดให้มีกองทุนวิจัยร่วมภาครัฐและเอกชน ที่รัฐลงทุนร้อยละ 50 และจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เอกชนที่เข้าร่วมงานวิจัย
6.นโยบายด้าน การต่างประเทศ และเศรษฐกิจการต่างประเทศ โดยการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านในทุกมิติ เร่งรัดแก้ปัญหาข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค สร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนเพื่อให้บรรลุข้อตกลงอาเซียนในวาระที่ไทยเป็น ประธานอาเซียน ส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศมุสลิม และแนวทางแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระชับความร่วมมือ และความเป็นหุ้นส่วน ทางยุทธศาสตร์ กับประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก และประเทศคู่ค้าของไทยในภูมิภาค ร่วมกันแสวงหาตลาดใหม่ ส่งเสริมเข้าร่วม ในข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งทวิภาคี และพหุภาคี เร่งรัดการให้สัตยาบันในข้อตกลงที่ได้ลงนามไว้แล้ว สร้างความเชื่อมั่นของต่างชาติต่อประเทศไทยโดยเร็ว คุ้มครองสิทธิประโยชน์และผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ
7.นโยบายการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เน้นประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน สนัลสนุนการกระจ่ายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น และการกระจายอำนาจสู่การปกครองท้องถิ่น ปรับบทบาท และภารกิจ การบริหารระหว่างส่วนกลาง กับส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจน ไม่ให้ซ้ำซ้อน มีการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ สนับสนุนให้มีการบริหารท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ปรับเงินเดือนค่าจ้างค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหมาะสมกับความสามารถ
นโยบายด้านกฎหมาย ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่ล้าสมัย และเปิดช่องให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่น และมีผลประโยชน์ทับซ้อน ขยายและยกเลิกอายุความ ในคดีอาญาบางประเภท และคดีทุจริต ปราบปรามการทุจริตทุกระดับ สนับสนุนให้ประชาชน ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากขึ้น พร้อมทั้งเน้นการปลูกฝังค่านิยม " คนไทยต้องไม่โกง" พัฒนาระบบยุติธรรมให้สะดวก มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส จัดให้มีการตั้งองค์กร ประนอมข้อพิพาท มีกระบวนการชะลอการฟ้องสำหรับคดีประมาท และคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3ปี เป็นอย่างน้อย พัฒนาระบบกฎหมายให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและสังคม เร่งดำเนินการจัดตั้ง องค์กร เพื่อปฏิรูปกฎหมาย และองค์กรเพื่อปฏิรูปแกระบวนการยุติธรรม สนับสนุน และพัฒนาตำรวจ ให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และเป็นตำรวจมืออาชีพ ที่มีเกียรติ และศักดิ์ศรี รวมทั้งดำเนินการ ให้มีการกระจายอำนาจ ของตำรวจไปยังภูมิภาค เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารกระบวนการยุติธรรมรวมทั้งให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผลการทำงาน ของตำรวจ อัยการ และผู้ใช้ อำนาจรัฐอื่น ๆ
นโยบายด้านสื่อ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลทางราชการ และสาธารณอย่างกว้างขวาง ปรับปรุงกลไกการสื่อสารภาครัฐ ให้ดำรงบทบาทสื่อเพื่อประโยชน์สาธารณะ และสร้างความสมานฉันท์ในชาติ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมนชนมีส่วนเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นประโชย์ต่อสาธารณะ ที่มีกิจกรรมตอบแทนเชิงพาณิชย์ต่ำ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และจัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ เพื่อให้สื่อมีเสรี ปราศจากการแทรกแซง มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งยกเลิกและปรับปรุง กฎหมาย ที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชนตามรัฐ


นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ ว่าด้วยมาตรการเร่งด่วน 1 ปี
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาล ต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 มีเนื้อหาทั้งสิ้น 36 หน้าขอนำเสนอในส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ1ปี
รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ
หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง
สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน
สามฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ
สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้
1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก
1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค
1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท
1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม
1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน
1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้
1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศรวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน
1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน
1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน
1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร
1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย
1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ
1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว
1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ
1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก
1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน
1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ
1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง
1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด
1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน
เจาะนโยบายรัฐบาล 'อภิสิทธิ์1' ชูเศรษฐกิจพอเพียงกู้วิกฤติ!
ทันทีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 อย่างเป็นทางการเขาได้ประกาศชัดว่าต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยให้กระเตื้องขึ้นมาได้ โดยคาดหมายกันว่าตัวบุคคลของคณะรัฐมนตรีชุดนี้คงไม่ขี้เหร่มากนัก ในขณะที่นโยบายรัฐบาล ได้เตรียมจะแถลงต่อรัฐสภาให้ได้ก่อนสิ้นเดือนธันวาคมนี้ โดยจะต้องเป็นนโยบายที่ปฏิบัติได้จริงไม่เพ้อฝัน
นายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นเดินสายพบปะทั้งภาคเกษตรกร นักธุรกิจ นายธนาคาร เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทาง แล้วนำไปจัดทำนโยบายของรัฐบาล พร้อมๆกับ แผนปฏิบัติการเร่งด่วน 99 วัน เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ
เร่งแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังรับพระบรมราชโองการถึงปัญหาเศรษฐกิจว่า จะต้องเร่งแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ครอบคลุมทุกส่วน เช่น แก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ คนตกงาน ฟื้นการท่องเที่ยว ภาคอสังหาริมทรัพย์ให้กับประชาชนมีกำลังซื้อ โดยอาศัยงบประมาณกลางปีแสนล้านบาทมาดำเนินการ
ขณะเดียวกันก็พร้อมปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจให้เกิดสภาพคล่อง รวมทั้งปัญหายางพาราที่ตกต่ำ จะเข้าไปแทรกแซงตลาด โดยจะซื้อนำไปเก็บใน
สต๊อก แก้ปัญหายางล้นตลาดและดึงระดับราคาให้สูงขึ้น และย้ำถึงการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ที่ต้องจัดตั้งองค์กรดำเนินการในยุทธศาสตร์รวม โดยเฉพาะเรื่องความยุติธรรม
"งานใดที่เป็นประโยชน์แม้จะเป็นของรัฐบาลก่อน ผมขอยืนยันว่าผมจะไม่ทิ้งจะสานต่อ จะปรับปรุงให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นโครงการรักษาฟรี ไม่ว่าจะเป็นบรรดากองทุนทั้งหลายที่ลงไปอยู่ในชุมชนต่างๆ และผมทราบดีครับว่าปัญหาเร่งด่วนที่สุดในใจพี่น้องประชาชนในขณะนี้คือปัญหาเศรษฐกิจ การฟื้นฟูเศรษฐกิจจึงเป็นงานสำคัญอันดับแรกของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการต่อไป "
ด้านการบริหารงานนั้นตั้งใจอย่างเต็มที่ในการดูแลเกษตรกร เพื่อไม่ให้รับผลกระทบจากราคาพืชผลที่ตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยาง ปาล์ม รวมถึงการดูแลประชาชนที่อยู่นอกภาคเกษตร ให้มีงานทำ มีรายได้ มีโอกาส และจะทำทุกวิถีทางที่จะลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ตามแนวทางวาระประชาชนและแผนปฏิบัติการเร่งด่วน
ทันทีที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา จะนำเสนอแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ครอบคลุมทุกปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกษตรกร ผู้ใช้แรงงานภาคเศรษฐกิจ ตั้งแต่อุตสาหกรรม การบริการ การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์
นอกจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในระยะสั้นที่ต้องเร่งแก้ไขแล้ว จำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาในระยะยาวที่หมักหมมสะสมเรื้อรังและเป็นปัญหากับการพัฒนาประเทศในอนาคต คือเรื่องการศึกษาซึ่งถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดของประเทศ ที่จะยังคงเน้นการเรียนฟรีมีคุณภาพ
"งานกอบกู้เศรษฐกิจนั้น ต้องเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ถนน การคมนาคม การสื่อสาร อินเตอร์เน็ต รวมถึงการสนับสนุนพลังงานทดแทน เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนาของประเทศจำเป็นต้องมีการเริ่มต้นและผลักดันอย่างรวดเร็ว "
ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เห็นว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะมีแผนใช้งบประมาณเพิ่มเติมจากแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ ทั้งที่เสถียรภาพการเงินของไทยยังมั่นคง แต่เป็นห่วงเรื่องอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่การส่งออกยังเป็นปัญหา และระดับบริโภคภายในประเทศที่มีการชะลอตัว
แต่ขณะเดียวกันยังมีความเชื่อมั่น ว่าปัญหาเศรษฐกิจของเราหากมีความตั้งใจและมีแนวคิดเชิงนโยบาย ที่ชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติน่าจะเป็นปัญหาที่รักษาเยียวยาได้ เช่นโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ชนบท การเข้าถึงแหล่งเงินของประชาชนรากหญ้า ที่จะต้องสานต่อโดยจะพิจารณาหาเงินจากมาใช้จากส่วนใดบ้าง
ส่วนโครงการรถไฟฟ้า จะต้องไปพิจารณาว่าที่ก่อสร้างจริง ควร มีกี่สายและดำเนินการไปถึงไหนแล้ว แต่จะต้องประเมินตามความเหมาะสมว่าจะจัดลำดับความสำคัญของเส้นทางไหนก่อนหลัง และต้องดูความต้องการตามสภาพทางการเงินของประเทศ
นอกจากนี้ยังจะต้องช่วยเหลืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการเข้าถึงแหล่งเงินของธุรกิจเอสเอ็มอี หากให้ความช่วยเหลือได้ คาดว่าเศรษฐกิจก็น่าจะฟื้นตัวได้ในไตรมาส 2- 3 ในปีหน้า
ปรับเศรษฐกิจพึ่งตนเอง
แหล่งข่าวจากทีมร่างนโยบายพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า นโยบายรัฐบาลนั้นจะพิจารณาสานต่อโครงการของรัฐบาลเดิม หากเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ไม่ใช่โครงการประชานิยม แต่จะให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการทำงาน
" เปลี่ยนหลักคิดให้เป็นการพึ่งตัวเอง และต่อยอดโครงการต่างๆ เน้นการทำงานให้มีรายได้ไม่ใช่การนำเงินไปให้และสุดท้ายต้องพึ่งตัวเองได้ในอนาคต เช่นโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคยังจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป เพราะถือเป็นรัฐสวัสดิการ ไม่ใช่ประชานิยม รัฐบาลต้องแยกให้ประชาชนเห็นระหว่างรัฐสวัสดิการกับประชานิยม"
ด้านการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร โครงการกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน ต้องเป็นนโยบายที่ปฏิบัติได้จริง ทั้ง ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่าเงินงบประมาณที่รัฐบาลสนับสนุนโดยเฉพาะงบประมาณกลางปี 2552 ที่เตรียมตั้งงบขาดดุลเพิ่มอีก 1.1 แสนล้านบาทและยังมีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ที่มีอยู่ประมาณ 1แสนล้านบาท ต้องใช้ตอบสนองนโยบายรัฐบาลกลางให้มากขึ้น ด้วยการมอบหมายกระจายงานให้องค์กรท้องถิ่นรับดูแลไปเช่นเรื่องการศึกษาให้เด็กได้เรียนฟรี
การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีประมาณ 1 แสนล้านบาทแต่เบิกจ่ายจริงเพียง 50% ต้องเร่งรัดเงินเหล่านี้ให้กระจายออกมา และเงินที่รัฐบาลช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นนี้จะใช้ลดภาระ ให้ประชาชนมีอาชีพเป็นหลักฐานมั่นคง ดูแลลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งต้องสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้มีแรงจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมต่อไป โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและแหล่งเงินทุน
ขณะเดียวกันภาครัฐต้องกำกับดูแลการใช้เงินของชุมชนของกลุ่มที่ปล่อยเงินสนับสนุนด้วยมากกว่าการปล่อยเงินให้โดยไม่มีการควบคุมไม่มีระสิทธิภาพอย่างที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่านโยบายเหล่านี้สอดคล้องกลุ่มเพื่อนเนวินนำเสนอก่อนหน้านี้ เช่นนโยบายเอสเอ็มแอล หรือการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน และชุมชน การต่อยอดโครงการกองทุนหมู่บ้าน เบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ60ปีขึ้นไปที่พรรคประชาธิปัตย์มีแนวคิดใช้งบประมาณ 6,000 ล้านบาทมาเพิ่มการช่วยเหลือให้คนชรา 1 ล้านคนในปี 2552
การจัดค่าตอบแทนอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตรเป็นต้น
แนวร่างนโยบายเร่งด่วน
สำหรับนโยบายที่พรรคประชาธิปัตย์ร่างไว้เป็นแนวทางและได้นำมาผสมผสานเป็นร่างนโยบายที่จะใช้ในแผนปฏิบัติการเร่งด่วน 99 วันที่เคยหาเสียงไว้ อาทิ เรื่องเด็กทุกคนได้เรียนฟรีจนจบมัธยมปลาย ฟรีหนังสือ อุปกรณ์การเรียน และเครื่องแบบ โดยคาดว่างบประมาณ 17,000 ล้านบาท เพิ่มจากงบประมาณที่กระทรวงศึกษาธิการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรให้ตามปกติ การลดภาระค่าครองชีพ ด้วยการยกเลิกการจัดเก็บเงินส่งกองทุนน้ำมันเฉพาะน้ำมันดีเซล และแก๊สโซฮอล์เพื่อให้พลังงานราคาถูกลง ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม เพื่อประชาชนทุกครัวเรือนไม่ต้องจ่ายค่าก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นจากที่จ่ายในปัจจุบัน อันเป็นการช่วยลดค่าครองชีพส่วนหนึ่ง
แผนปฏิบัติการฟื้นฟูชนบททันที เพื่อสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรและสร้างงานในท้องถิ่น โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงในทุกตำบล เริ่มต้นทุนประเดิมที่ตำบลละ 1 - 2 ล้านบาท โดยรัฐบาลโอนงบประมาณ ให้คณะกรรมการกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบล ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทุกหมู่บ้าน เพื่อจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ช่วยให้เกิดการเพิ่มมูลค่าผลผลิต การเก็บรักษาผลผลิตเพื่อชะลอการขาย ตลอดจนการลงทุนในเครื่องจักรกล เพื่อลดต้นทุนการผลิต หรือเพื่อการลงทุนประกอบธุรกิจที่ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ใช้งบประมาณกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 10,000 ล้านบาท กระจายลงสู่ทุกตำบลทั่วประเทศ
การจัดตั้งองค์กรเพื่อการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นเอกภาพ โดยมีกฎหมายรองรับและปฏิบัติหน้าที่ได้ทันที นอกจากนี้ยังมีนโยบายกอบกู้เศรษฐกิจเช่นการขยายระบบชลประทานทั่วประเทศใช้งบลงทุน 3 แสนล้านบาท การประกันภัยพืชผล ลงทุน 450,000 ล้านบาท ในระบบขนส่งมวลชนและระบบรถไฟ เป็นต้น นี่คือความหวังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

๑. ความเป็นมา
ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๕๑ หมวด ๔ ว่าด้วยกรรมาธิการ ข้อ
๘๒ กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีหน้าที่ดังนี้ “มีอำนาจ
หน้าที่กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารราชการและการ
ปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น” แต่เนื่องจากภารกิจเหล่านี้มีขอบข่ายในการดำเนินงานที่กว้างขวาง ประกอบกับ
อีกทั้งการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยนั้นอยู่ในช่วงเริ่มต้น ด้วย
เหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว ที่ประชุมจึงมีมติให้มีการเดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการปกครอง
ส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย รวมทั้งเสริมสร้างและเชื่อมสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันระหว่างสองประเทศ

๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อศึกษาการวางแผนและการพัฒนาการของการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศ
ญี่ปุ่น
๒.๒ เพื่อศึกษาลักษณะการปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัดและเมืองของประเทศ
ญี่ปุ่น
๒.๓ เพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องด้านการเมืองของการปกครองส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
๒.๔ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น
๒.๕ เพื่อศึกษาถึงผลกระทบ ทั้งด้านบวกและด้านลบในการกระจายอำนาจของประเทศ
รวมถึงการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น
๒.๖ เพื่อนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาปรับปรุงและพัฒนาการปกครองส่วน
ท้องถิ่นภายในประเทศ
๓. การศึกษาดูงาน
ในปี พ.ศ.๒๔๓๐ (ค.ศ. ๑๘๘๗) ประเทศไทยและญี่ปุ่นได้มีการลงนามในสัญญาทางไมตรีและ
พาณิชย์ ที่กรุงโตเกียว ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ญี่ปุ่นทำสัญญาในลักษณะนี้ด้วย
แม้ว่าสัญญาดังกล่าวจะเป็นเพียงเอกสารสั้นๆ ที่ระบุเพียงเจตนารมณ์ของทั้งสองประเทศว่าจะมีการ
ทำสนธิสัญญาเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนทางการทูตและส่งเสริมการพาณิชย์และการเดินเรือระหว่างกัน
ต่อไปก็ตาม แต่ก็ถือว่าการทำสัญญานี้เป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ
ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างน่าพอใจ
ในทุกๆ ด้าน โดยในปีที่ผ่านมามีการฉลองความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ประเทศ ครบรอบ ๑๕๐ ปี โดย
ประเทศญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาและส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบัน

ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
นับตั้งแต่ฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ จนถึงฉบับปัจจุบัน โดยที่มีการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
และมีการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ ดังนั้น ทาง
คณะกรรมาธิการจึงเห็นควรให้เดินทางไปศึกษาดูงานด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ประเทศญี่ปุ่น
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยต่อไป
การศึกษาดูงานด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นของคณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่น
สภาผู้แทนราษฎร ณ ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ ๒๘ กรกฎาคม - วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๑
คณะกรรมาธิการได้มีการศึกษาดูงานด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
และประสบการณ์ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่าง ๒ ประเทศโดยมีรายละเอียด ดังนี้
วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๑
คณะกรรมาธิการได้เข้าพบคณะกรรมาธิการกิจการภายในและการสื่อสาร สภาผู้แทนราษฎร
ของประเทศญี่ปุ่น ณ สภาไดเอต โดยมีรายนาม ดังนี้
คณะกรรมาธิการกิจการภายในและการสื่อสาร สภาผู้แทนราษฎร ประเทศญี่ปุ่น
๑. Mr. Watanabe Hiromichi ประธานคณะกรรมาธิการ
๒. Mr. Haraguchi Kazuhiru กรรมาธิการ
๓. Mr. Yamaguchi Shuichi กรรมาธิการ
๔. Mr. Masuya Keigo กรรมาธิการ
๕. Mr. Hase Hirushi กรรมาธิการ
วันอาทิตย์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๑
คณะกรรมาธิการได้เข้าพบเจ้าหน้าที่ประจำกงสุลใหญ่ ณ นครโอซาก้า โดยมีรายนาม ดังนี้
เจ้าหน้าที่ประจำกงสุลใหญ่ นครโอซาก้า
๑. นายสุพจน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา กงสุลใหญ่
๒. นางสาวศิรินทรา จันทพันธ์ รองกงสุลใหญ่
๓. นางสุทธิลักษณ์ สง่ามั่งคั่ง รองกงสุลใหญ่
การเดินทางศึกษาดูงานด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ประเทศญี่ปุ่นในครั้งนี้
คณะกรรมาธิการมีความเห็นว่า ควรที่จะนำข้อคิดเห็น ประสบการณ์ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น
ตลอดจนความรู้ที่ได้รับนำมารวบรวมเพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาการปกครองส่วน
ท้องถิ่นของประเทศไทย โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

การปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น
(๑) รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นถือว่าเป็นรัฐเดี่ยวโดยแบ่งการบริหารเป็นส่วนกลางซึ่งมีรัฐบาลกลางเป็นผู้บริหารและ
อีกส่วนหนึ่งคือการปกครองส่วนท้องถิ่น
การปกครองส่วนท้องถิ่นในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆคือ รูปแบบทั่วไปและ
รูปแบบพิเศษ
(๑.๑) รูปแบบทั่วไป ได้แก่ จังหวัดและเทศบาล ซึ่งเทศบาลประกอบไปด้วยเทศบาลนคร
เทศบาลเมือง และเทศบาลหมู่บ้าน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบนี้มีลักษณะเป็นโครงสร้างสองชั้นโดยการปกครองระดับ
เทศบาลจะอยู่ภายใต้การปกครองระดับจังหวัด
(๑.๑.๑) การปกครองแบบจังหวัด
จังหวัดของญี่ปุ่นนั้นประกอบไปด้วย ๔๗ จังหวัด และแบ่งลักษณะการปกครองจังหวัดออกเป็น
สี่ประเภท คือ
ก. การปกครองแบบเมืองหลวงหรือมหานครหรือ “โทะ”
เมืองหลวงของญี่ปุ่น คือ กรุงโตเกียว ถือเป็น การปกครองแบบเขตปกครองพิเศษ ที่
แตกต่างจากระบบการปกครองของจังหวัดอื่นๆ
ข. การปกครองจังหวัดบนเกาะใหญ่ “โด” มีอยู่เพียงจังหวัดเดียว คือ จังหวัดฮอกไกโด
ค. การปกครองแบบ “ฟุ” มีอยู่สองจังหวัด คือ จังหวัดโอซาก้าและจังหวัดเกียวโต
ง. การปกครองแบบจังหวัดส่วนภูมิภาค “เค็น” คือจังหวัดนอกเหนือจาก ก - ค จำนวน
๔๓ จังหวัด ถึงแม้ชื่อเรียกใน ข - ง นั้นจะแตกต่างกันตามเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ก็ตามแต่ระบบ
การปกครองนั้นยังคงเหมือนกัน ทั้งนี้ การปกครองระดับจังหวัดมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
- งานที่ต้องดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น การร่างแผนแม่บทเพื่อพัฒนาท้องถิ่น การ
อนุรักษ์ป่าไม้ และการปรับปรุงแม่น้ำ
- งานที่ต้องดำเนินการในรูปแบบเดียวกันทั้งหมดทั่วทั้งจังหวัด หรือทั่วพื้นที่ประเทศ เช่น การรักษา
มาตรฐานการศึกษาภาคบังคับ และการบริหารงานกิจการตำรวจ
- งานที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระหว่างรัฐบาลกลางและเทศบาล หรือการให้คำแนะนำหรือแนวทาง
แก่เทศบาล เช่น ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานและการจัดองค์การ
- งานที่ขอบเขตดำเนินการที่ไม่เหมาะสมที่จะอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาล เช่น การจัดตั้งและ
การบริหารงานโรงพยาบาลและโรงเรียนมัธยม

(๑.๑.๒) การปกครองแบบเทศบาล
เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นฐานที่ดำเนินงานใกล้ชิดกับความเป็นอยู่ของประชาชนมากที่สุด
โดยในปัจจุบัน ณ วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ มีจำนวนเมือง อำเภอและหมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น ๑,๘๑๗ แห่ง
การที่สามารถเป็นเมืองได้นั้น พื้นที่จะต้องมีประชากรอยู่มากกว่าห้าหมื่นคนขึ้นไปและจำเป็นต้อง
เพียบพร้อมด้วยปัจจัยด้านต่างๆเทียบเท่ากับเมืองใหญ่
เมือง อำเภอ และหมู่บ้าน จะดำเนินหน้าที่ทั้งหมดในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
นอกเหนือจากการดำเนินงานของจังหวัด โดยมีลักษณะดังนี้
- ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประจำวัน เช่น การจดทะเบียนครอบครัวและผู้อยู่อาศัย
รวมทั้งการออกเอกสารรับรองต่างๆ
- การจัดบริการสาธารณสุขและความปลอดภัย และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การดับเพลิง
การจัดเก็บขยะมูลฝอยและกำจัดสิ่งโสโครก การจัดให้มีน้ำประปาและสวนสาธารณะ
- การดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง เช่น การวางผังเมือง การก่อสร้างและบำรุงรักษา
ทางหลวง และงานที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำ
- การดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารงานและการจัดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ
รวมทั้งสถานเลี้ยงเด็ก โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมต้น และห้องสมุด
(๑.๒) รูปแบบพิเศษ ประกอบด้วย Special Ward, Municipal Cooperative, property Ward
และ Local Development Cooperation
- Special Ward (ku)
การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบนี้มีในเขตนครกรุงโตเกียว (City of Tokyo) เท่านั้น ทั้งหมดมี
๒๓ แห่ง หรือ ๒๓ เทศบาลนครด้วยกัน
ทั้งนี้ Special Ward มีหน้าที่คล้ายคลึงกับเทศบาล โดยมีข้อยกเว้นบางประการ เช่น ไม่มี
อำนาจหน้าที่ในการดับเพลิงเหมือนอย่างเทศบาล
การจัดรูปแบบการปกครองของ Special Ward นี้ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี (Mayor) ซึ่ง
ได้รับเลือกโดยตรงจากประชาชนและสมาชิกสภา (Councilors) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงเช่นกัน
- Municipal Cooperative หน่วยการปกครองท้องถิ่นประเภทนี้เกิดจากการรวมตัวกันระหว่าง
เทศบาลตั้งแต่ ๒ แห่งขึ้นไป เพื่อร่วมกันดำเนินภารกิจบางประการ ซึ่งถ้าปล่อยให้เทศบาลแต่ละแห่ง
ดำเนินงานโดยลำพังจะไม่มีประสิทธิภาพ และได้รับผลสำเร็จต่ำกว่าการรวมตัวกันดำเนินงาน ปัจจุบัน
มีการรวมตัวกันเพื่อให้บริการด้านต่างๆ เป็นการเฉพาะด้าน เช่น เพื่อจัดตั้งและบริการงานโรงเรียน
และโรงพยาบาลร่วมกัน

- Property Ward เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตามเขตหรือพื้นที่ซึ่งมีทรัพย์สิน
บางประเภทภายในอาณาเขตของเทศบาล ทั้งนี้เพื่อบริหารงานทรัพย์สินเหล่านั้น ทรัพย์สินดังกล่าว
เหล่านี้ได้แก่ คลองชลประทาน หนองหรือบึง สุสาน พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตร และสถานที่มีบ่อน้ำแร่
เป็นต้น ส่วนใหญ่การปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทนี้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมดูแลพื้นที่ป่าและมักจัดตั้ง
ตามหมู่บ้านในพื้นที่เกษตรหรือภูเขาในเขตชุมชนเมืองมีไม่มาก
- Local Development Cooperation หน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบนี้จัดตั้งขึ้นจากการ
รวมตัวกันระหว่างหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป (จังหวัดและเทศบาล) ตั้งแต่ ๒ แห่งขึ้นไป
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาและเตรียมสถานที่สำหรับก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
ตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาแม่บท
(๒) การจัดการบริหารองค์กรภายในหน่วยการปกครองท้องถิ่น
การจัดองค์การของจังหวัดและเทศบาล ประกอบด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ฝ่าย
นิติบัญญัติ ได้แก่ สภาจังหวัด (กรณีจังหวัด) หรือสภาเทศบาล (กรณีเทศบาล) ทำหน้าที่อนุมัติ
งบประมาณ ออกเทศบัญญัติและควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามนโยบายที่
กำหนดไว้
ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย (๑) หัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด (Governor)
กรณีจังหวัด หรือนายกเทศมนตรี (Mayor) กรณีเทศบาล และ (๒) คณะกรรมการบริหาร
(Administrative Committee) ทำหน้าที่บริหารงานตามนโยบายและอำนาจหน้าที่
สภาท้องถิ่น ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในพื้นที่ของ
หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี สำหรับจำนวนสมาชิกท้องถิ่นจะ
แตกต่างกันไปตามขนาดของประชากร โดยในแต่ละขนาดจะมีสมาชิกสภาท้องถิ่น ดังนี้
- สภาจังหวัดจะมีจำนวนสมาชิกอยู่ระหว่าง ๔๐ - ๑๒๐ คน
- สภาเทศบาลนครจะมีจำนวนสมาชิกอยู่ระหว่าง ๓๐ - ๑๐๐ คน
- สภาเทศบาลเมืองและหมู่บ้านจะมีจำนวนสมาชิกอยู่ระหว่าง ๑๒ - ๓๐ คน
จำนวนดังกล่าวนี้อาจถูกลดลงได้ตามกฎหมาย หรือจำนวนประชากรที่ลดลง
อำนาจหน้าที่ของสภาท้องถิ่น กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้
- อำนาจในการออกกฎหมาย เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกกฎหมายและข้อบัญญัติต่างๆ
- อำนาจในการอนุมัติงบประมาณประจำปีที่เสนอเข้ามาโดยฝ่ายบริหาร
- อำ นาจในการกำ หนดหลักการเกี่ยวกับการสร้างอัตราภาษีอากรของท้องถิ่น
ค่าธรรมเนียม และขอบข่ายการกระทำสัญญาต่างๆ
- อำนาจในการอนุมัติจัดซื้อหรือยกเลิกทรัพย์สินสาธารณะ
- อำนาจในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบบัญชีของเทศบาล

- อำนาจในการตั้งกระทู้ถามข้อข้องใจเกี่ยวกับการใช้อำนาจต่างๆ ของฝ่ายบริหาร ซึ่ง
รวมทั้งการลงมติไม่ไว้วางใจ อันเป็นผลให้ฝ่ายบริหารต้องลาออก หรืออาจยุบสภาได้ภายในสิบวันนับ
จากวันที่ลงมติ หากไม่ยุบสภาหลังจากสิบวันก็ให้ถือว่าพ้นตำแหน่ง เป็นต้น
ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ หัวหน้าฝ่ายบริหาร (ผู้ว่าราชการจังหวัด
และนายกเทศมนตรี) และคณะกรรมการบริหารด้านต่างๆ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการอิสระ
รับผิดชอบบริหารงานเฉพาะด้าน เช่น ในด้านการศึกษา และด้านความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งในแต่
ละส่วนมีรายละเอียด ดังนี้
หัวหน้าฝ่ายบริหาร เป็นบุคคลที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ไม่ว่าจะเป็น
ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายกเทศมนตรี โดยมีระยะเวลาในการอยู่ในตำแหน่ง ๔ ปี สำหรับผู้มีสิทธิ
สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรี กฎหมายกำหนดให้มีคุณสมบัติ ดังนี้ เป็นพลเมืองญี่ปุ่นที่
พำ นักอยู่ในเขตปกครองท้องถิ่นนั้นๆ ไม่ต่ำ กว่าสามปี มีอายุไม่ต่ำ กว่า ๒๕ ปี และไม่เป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับชาติ (Diet) และสมาชิกสภาท้องถิ่นในเวลาเดียวกัน ส่วนผู้มีสิทธิ
สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดก็มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น
นายกเทศมนตรี ยกเว้น ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๐ ปี
ในส่วนของการปฏิบัติงาน หัวหน้าฝ่ายบริหารสามารถแต่งตั้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ
รองนายกเทศมนตรี และหัวหน้าฝ่ายบัญชี (Chief accountant) และสมุห์บัญชี (treasurer) มาช่วยใน
การปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบได้ โดยการแต่งตั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น
ก่อน และจะอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ ๔ ปี
อำนาจของหัวหน้าฝ่ายบริหาร ตามที่กฎหมายกำหนดมีดังนี้
- อำนาจในการบริหารงานตามที่บัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของจังหวัด
- อำนาจในการเสนอร่างกฎหมายให้สภาท้องถิ่นพิจารณา
- อำนาจในการจัดเตรียมและบริหารงบประมาณรวมทั้งควบคุมดูแลบัญชีการเงิน
- อำนาจในการจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
- อำนาจในการแต่งตั้งและควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น
- อำนาจในการอนุมัติสัญญา จัดตั้ง บริหารกิจการสาธารณะ และธุรกิจสาธารณะ
ตลอดจนการเข้าถือสิทธิ์ จัดการ ย้าย โอนทรัพย์สิน และการเก็บรักษาเอกสารสาธารณะ
- อำนาจในการเรียกประชุมสภา
- อำนาจที่จะเสนอเรื่องหรือปัญหาต่าง ๆ ที่เห็นสมควรให้สภาเทศบาลประชุมพิจารณา
- อำนาจการยับยั้งร่างกฎหมาย
- อำนาจในการยุบสภาท้องถิ่น เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า การจัดองค์กรภายในท้องถิ่นของญี่ปุ่นนั้น ยึดระบบการเลือกตั้งโดยตรง
จากประชาชนเป็นหลักทั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารและสภาท้องถิ่น ตามหลักการแบ่งอำนาจ (separation
of powers) และหลักการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (check and balance) ซึ่งหลักการจัดองค์กรใน

รูปแบบนี้ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบประธานาธิบดีที่ใช้กันในสหรัฐอเมริกา แต่อย่างไรก็ดี
ในทางปฏิบัติจริง ฝ่ายบริหารกลับมีความเข้มแข็งมากกว่าฝ่ายสภา ทั้งนี้เนื่องจากอำนาจในการปฏิบัติ
กิจการต่างๆ ในท้องถิ่นเกือบทุกด้านนั้น เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร
(๓) ระบบภาษีท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่นมีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการการเงินและการคลัง
ของตนเองโดยพื้นฐาน รวมทั้งรับประกันแหล่งที่มาของรายได้ และรักษาสมดุลระหว่างการบริหาร
การเงินและการคลังขององค์กรกับส่วนกลางผ่านระบบการเงินการคลังต่างๆ
แหล่งที่มาของรายได้มาจาก ภาษีท้องถิ่น ภาษีจากการออกเอกสาร เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล
รวมทั้งการให้กู้ยืมหรือตราสารหนี้ส่วนท้องถิ่นจากแหล่งอื่นๆ
ในปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นได้มีการจัดเก็บภาษีบ้านเกิด สำหรับประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน
พื้นที่นั้นๆเพื่อให้เป็นรายได้ในการพัฒนาท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง
(๔) คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น
กฎหมายของญี่ปุ่นกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกท้องถิ่นไว้เฉพาะเรื่องอายุของผู้ที่จะลงสมัคร
รับเลือกตั้ง คือ ๒๕ ปีขึ้นไป และ จะต้องเป็นผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งนั้นโดยไม่จำกัด
ระยะเวลาการอาศัยอยู่ในพื้นที่ และไม่จำกัดวุฒิการศึกษารวมทั้งไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง
(๕) วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่น
ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นของญี่ปุ่นมีวาระการดำรงตำแหน่งวาระละ ๔ ปี โดย
มิได้มีการจำกัดจำนวนวาระแต่อย่างใด ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่นมีธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติเป็นมารยาททาง
การเมืองที่จะดำรงตำแหน่งอยู่ในวาระไม่เกิน ๓ วาระ
(๖) ปัญหาเกี่ยวกับระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น
(๖.๑) ปัญหาการลดจำนวนเทศบาลเมือง
ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๖ และ พ.ศ. ๒๕๔๔ เมืองและหมู่บ้านของญี่ปุ่นจำนวนมากได้ถูกยุบ
รวมกันภายใต้กฎหมายส่งเสริมการยุบรวมเมืองและหมู่บ้านของการปกครองส่วนกลาง ส่งผลให้
จำนวนเมืองและหมู่บ้านลดลงอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบันจำนวนเทศบาลของญี่ปุ่นเหลือเพียง
๑,๗๘๘ เทศบาล ซึ่งการยุบรวมหน่วยงานดังกล่าวมีข้อดีที่ทำให้เกิดการขยายงบประมาณพื้นฐานแก่
ท้องถิ่น อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวก็มีข้อเสียที่ทำให้การบริหารงานต่างๆยังต้องรวมศูนย์อยู่ที่
ส่วนกลาง
(๖.๒) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุ

ปัญหาที่ยากจะแก้ไขของญี่ปุ่น คือ การจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม
ซึ่งนำญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จากสถิติทำให้ทราบว่าจำนวนผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันมีจำนวน
มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลก ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ สัดส่วนของประชากรญี่ปุ่นที่มีอายุ
มากกว่า ๖๕ ปี คิดเป็น ๒๐.๐๔% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ปัจจัยที่นำญี่ปุ่นไปสู่สังคมผู้สูงอายุแบ่งเป็น ๒ ปัจจัย คือ
- อายุขัยเฉลี่ยของประชากรชาวญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ประชากรชายมีอายุขัย
เฉลี่ยอยู่ที่ ๗๘.๖๔ ปี และประชากรหญิงมีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ ๘๕.๖๙ ปี
- การลดลงของอัตราการเกิด ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ อัตราการเกิดอยู่ที่ ๑.๒๙ คนต่อหนึ่ง
ครอบครัว ซึ่งน้อยกว่าที่รัฐบาลตั้งไว้คือ ๒.๐๘ คนต่อครอบครัว
(๖.๓) ผลกระทบจากความเจริญทางเศรษฐกิจในเมืองใหญ่
ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมักกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่เท่านั้น ทำให้เกิดความไม่
เท่าเทียมกันระหว่างเมืองเล็กและเมืองใหญ่นอกจากนี้จำนวนประชากรที่แออัดในเมืองใหญ่และความ
เจริญทางเศรษฐกิจยังก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย ความปลอดภัย การจราจร
ราคาที่ดินที่พุ่งขึ้นสูง การเสื่อมสลายของวัฒนธรรมท้องถิ่น และการแพร่กระจายของแนวความคิด
ด้านวัตถุนิยมอีกด้วย
นโยบายที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นของชุมชนคือสิ่งสำคัญที่จะสร้าง
ความสมดุลในการพัฒนาเมืองใหญ่และชนบทไปพร้อมๆ กัน
การพัฒนาการดำเนินงานของการปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การพัฒนาปรับปรุงหน่วยย่อย
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชน และค้ำจุนวัฒนธรรมประเพณี
ท้องถิ่นให้สืบเนื่องต่อไป มิใช่การมุ่งพัฒนาแต่เศรษฐกิจในชุมชนแต่เพียงอย่างเดียว
ข้อสังเกต
จุดเด่นของการปกครองท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ในปัจจุบัน มีดังนี้
๑. การประกันเสรีภาพ อาจแยกพิจารณาได้ ๓ ประการได้แก่
- ป้องกันการใช้อำนาจของระบบราชการส่วนกลาง
- เปิดโอกาสให้แก่ชุมชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่น
- ส่งเสริมจิตสำนึกในสิทธิประชาชน รัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่งกำหนดวันพิเศษเพื่อตอกย้ำ
จิตสำนึกในสิทธิของประชาชน
๑๐
๒. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ๔ ลักษณะ คือ
- ช่วยลดความไม่เท่าเทียมในการมีส่วนร่วม และง่ายต่อการแสดงความต้องการให้ปรากฏ
- ช่วยฝึกความเป็นพลเมือง เช่น รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน
- ช่วยฝึกผู้นำระดับชาติในอนาคต พรรคการเมืองของญี่ปุ่นบางพรรค เริ่มต้นจาก
การเมืองท้องถิ่น ก่อนที่จะก้าวไปสู่การแข่งขันระดับชาติ
- ช่วยหล่อหลอมความรู้สึกความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ ชนชั้น หรือกลุ่ม
ลักษณะข้างต้น ๔ ประการนี้ ได้ช่วยเสริมคุณค่าแห่งประชาธิปไตย ให้หยั่งรากลึกในสังคม
ญี่ปุ่น โดยที่สังคมญี่ปุ่นที่ประชาชนไม่นิยมการเป็นการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและเข้าไปมีส่วนร่วม
ในกิจการทางการเมืองอย่างเปิดเผย อย่างในสังคมตะวันตก คุณูปการของระบบการปกครองท้องถิ่นที่
เป็นประชาธิปไตย จึงมีอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง
จุดอ่อนของการปกครองท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ในปัจจุบัน มีดังนี้
หลักการความเป็นอิสระของท้องถิ่นเป็นอุดมคติที่ยกแก่การปฏิบัติในญี่ปุ่น เนื่องจากสาเหตุ ๒
ประการ คือ ปัจจัยประเพณีการปกครองรวมศูนย์อำนาจและปัจจัยภาษีท้องถิ่นไม่เพียงพอกับรายจ่าย
ของท้องถิ่น โดยรัฐบาลกลางควบคุม ๔ ลักษณะ ได้แก่
๑. รัฐบาลท้องถิ่นถูกกฎหมายห้ามไม่ให้ออกกฎระเบียบใดๆ ที่ขัดแย้งกับกฎหมายแห่งชาติ
๒. งานด้านการบริหารของรัฐบาลท้องถิ่นจำนวนมาก เป็นงานที่รัฐบาลกลางมอบหมายให้
ปฏิบัติ ดังนั้นหัวหน้าบริหารท้องถิ่นจึงมีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐบาล
๓. รัฐบาลท้องถิ่นถูกกำหนดให้ดำเนินการต่างๆ “การชี้แนะเชิงบริหาร” ที่กฎหมายเขียนไว้
อย่างกว้างๆ ซึ่งบางครั้งมีลักษณะเป็นการก้าวล่วงเข้าสู่ความเป็นอิสระของท้องถิ่น
๔. รัฐบาลท้องถิ่นถูกควบคุมจากส่วนกลางอย่างมากในด้านการคลัง รวมทั้งการกู้ยืมเงิน
ต่างๆ ของท้องถิ่นจะต้องถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด
ข้อวิตก ๕ ประการ
๑. ความเป็นรัฐเดี่ยว ญี่ปุ่นเป็นรัฐเดี่ยวเช่นเดียวกับไทย ระบบกระจายอำนาจหรือ “หลัก
ความเป็นอิสระ” ของท้องถิ่นที่ใช้มานับแต่รัฐธรรมนูญ ค.ศ. ๑๙๔๖ (พ.ศ. ๒๔๘๙) ซึ่งไม่ทำให้ญี่ปุ่น
กลายเป็น “สหรัฐ” หรือเกิดรัฐอิสระขึ้นมา รัฐบาลท้องถิ่นบางแห่งอาจจะดำเนินนโยบายต่างจากรัฐบาล
กลาง แต่ประชาชน ๔๗ จังหวัดยังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ถ้าหัวใจของการกระจายอำนาจ คือ “การมีส่วนร่วมของประชาชน” อาจกล่าวได้ว่า ระบบการ
กระจายอำนาจนี้เอง ที่ทำให้ประชาชนญี่ปุ่นมีความรู้สึกผูกผันกับท้องถิ่นและประเทศของตนยิ่ง
กว่าเดิม กลยุทธ์การสร้างชาติ เสริมสร้างอำนาจให้แก่ชาติ และการสร้างความภักดีต่อชาติ ที่ได้ผล
ที่สุดก็คือให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง ด้วยปรัชญาเช่นนี้ ญี่ปุ่นสมัยเมจิจึงเริ่มต้น
กระบวนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างครบถ้วน ๕ ด้านคือ จัดการปกครองด้วยระบอบ๑๑
รัฐธรรมนูญ ให้มีสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเลือกตั้ง ให้มีพรรคการเมืองได้ และการกระจายอำนาจสู่
ท้องถิ่นในระดับหนึ่ง
๒. การแบ่งแยกดินแดน กรณีของญี่ปุ่นต่างจากไทยตรงที่ว่า ญี่ปุ่นเป็นหมู่เกาะไม่มีปัญหาชน
กลุ่มน้อย และปัญหาเชื้อชาติ ความวิตกว่าจะเกิดการแบ่งแยกดินแดนจึงแทบจะหมดไป แต่ญี่ปุ่นก็มี
ปัญหาซึ่งอาจจะรุนแรงไม่น้อยกว่าเรื่องเชื้อชาติ คือ ปัญหาอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน
แต่ญี่ปุ่นก็ได้พิสูจน์ว่า การให้สิทธิปกครองตนเองแก่ท้องถิ่นช่วยดึงให้ประชาชนเข้าสู่ – หมู่บ้าน –
เมือง – นคร และจังหวัด แล้วเข้าสู่ประเทศชาติโดยส่วนรวมที่สุด
การกระจายอำนาจ มักจะดำเนินไปโดยมี “สายเชื่อมต่อ” ระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลาง เป็น
ต้นว่า เงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง กฎระเบียบการใช้จ่ายเงินและโครงการต่างๆ จากส่วนกลาง
รวมทั้งการส่งบุคลากร จากส่วนกลางมาประจำ ณ สำนักงานบริหารท้องถิ่น “สายเชื่อมต่อ” เหล่านี้
ช่วยดึงให้ส่วนกลางและท้องถิ่นมีความผูกพันต่อกัน
๓. เรื่องงานของส่วนกลางอาจไม่มีใครดูแล กรณีของญี่ปุ่นบอกแก่เราว่า ข้อวิตกนี้ไม่เป็น
ปัญหา งานของส่วนกลางกลับเป็นที่ต้อนรับจากรัฐบาลท้องถิ่น เพราะ รัฐบาลกลางก็มีเป้าหมายที่การ
ทำเพื่อประโยชน์ต่อท้องถิ่น ถ้าเป็นโครงการที่ขัดประโยชน์ของท้องถิ่น ก็ชอบที่ผู้บริหารท้องถิ่น
จะต้องทำหน้าที่พิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชนที่เลือกตนมา
๔. กรณีการกระจายอำนาจของญี่ปุ่น ไม่ได้มีผลกระทบต่อสถาบันจักรพรรดิ เนื่องจากอยู่
เหนือการเมือง จึงไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการจัดระบบแบ่งอำนาจระหว่างส่วนกลางกับส่วน
ท้องถิ่น
ประชาชนชาวญี่ปุ่น มองว่า สถาบันจักรพรรดิมีความมั่นคง ปราศจากกลุ่มหรือบุคคลคิดล้ม
ล้าง เมื่อระบบประชาธิปไตยรัฐสภาสามารถพัฒนาไปได้โดยไม่มีอุปสรรค และการกระจายอำนาจสู่
ท้องถิ่นดำเนินไปตามความต้องการของประชาชน ถ้าจะมีปัญหาการต่อต้านสถาบัน สาเหตุมาจาก
ด้านอื่น มิใช่การให้ประชานได้ปกครองตนเอง ที่แน่นอน คือ ไม่ได้เกิดปัญหาเรียกร้องให้มีการ
เลือกตั้งประธานาธิบดีแต่อย่างใด
๕. ความแตกแยกในบ้านเมือง กรณีของญี่ปุ่นบอกแก่เราว่า การกระจายอำนาจอย่างเต็มที่
ความแตกต่างระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับรัฐบาลกลางไม่ว่าจะในด้านอุดมการณ์ทางการเมืองหรือใน
ด้านนโยบาย ก็ไม่เกิดปัญหา แม้ว่ารัฐบาลกลางกับท้องถิ่นจะแตกแยกกัน ก็ไม่ใช่การแตกแยกกันใน
เรื่องหลักการใหญ่ระดับรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
อาจสรุปได้ว่า จากกรณีของญี่ปุ่น ข้อวิตกกังวลทั้ง ๕ ข้อเกี่ยวกับผลเสียของการกระจาย
อำนาจ โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด อาจถูกเพียงข้อเดียว คือ ข้อ ๕ แต่ยังอยู่ในวิสัยที่
จะควบคุมได้ ความแตกแยกในประเด็นหลักการใหญ่ เช่น ควรมีการกระจายอำนาจถึงขั้นเลือกตั้งผู้ว่า
ราชการจังหวัดหรือไม่ เพราะส่งผลให้สถาบันรัฐธรรมนูญขาดความยอมรับร่วมกันทุกฝ่าย และอาจ
นำไปสู่วิกฤตการณ์ “ประชาธิปไตยรัฐสภา” ซึ่งรวมถึงศรัทธาต่อพรรครัฐบาลด้วย
๑๒
ข้อเปรียบเทียบบางประการของการปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อเปรียบเทียบบางประการที่สามารถสังเกตได้ ระหว่างการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศ
ญี่ปุ่นและประเทศไทย มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการ ดังนี้
(๑) รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น
ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
รูปแบบทั่วไปและรูปแบบพิเศษ
- รูปแบบทั่วไป ได้แก่ จังหวัดและเทศบาล ซึ่งเทศบาลประกอบไปด้วยเทศบาลนคร
เทศบาลเมือง และเทศบาลหมู่บ้าน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบนี้มีลักษณะเป็นโครงสร้างสองชั้นโดยการปกครองระดับ
เทศบาลจะอยู่ภายใต้การปกครองระดับจังหวัด
- รูปแบบพิเศษ ประกอบด้วย Special Ward, Municipal Cooperative, property
Ward และ Local Development Cooperation
ประเทศไทย มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น ๒ ระบบ
ได้แก่
- ระบบทั่วไปที่ใช้แก่ท้องถิ่นทั่วไป โดยในปัจจุบันมีอยู่ ๓ รูปแบบ คือ เทศบาล
องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- ระบบพิเศษที่ใช้เฉพาะท้องถิ่นบางแห่ง โดยในปัจจุบันมีอยู่ ๒ รูปแบบ คือ
กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
(๒) การปรับปรุงขนาดพื้นที่ของการปกครองส่วนท้องถิ่น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นได้มีการยุบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเมือง
อำเภอ และหมู่บ้านลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงเศรษฐกิจส่วนท้องถิ่นโดยการขยายงบประมาณ
พื้นฐาน เมืองและหมู่บ้านจำนวนมากได้ยุบรวมกัน ภายใต้กฎหมายการส่งเสริมการยุบรวมเมืองและ
หมูบ้านของการปกครองส่วนกลาง ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงสมรรถภาพด้านการเงินและการบริหาร
นอกจากนี้การปกครองส่วนกลางได้ริเริ่มแนวคิดที่จะสนับสนุนการยุบรวมการปกครองส่วน
ท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจบริหาร
สำหรับประเทศไทย การส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในช่วงของการพัฒนา ในหลาย
พื้นที่ยังประสบปัญหาด้านการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านงบประมาณ บุคลากร
อำนาจในการบริหารจัดการต่างๆ การซ้ำซ้อนกันของอำนาจการปกครองส่วนต่างๆ เป็นต้น ถึงแม้ว่า
จะมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้มีการกระจายอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับกิจการต่างๆที่เป็น
สาธารณะของท้องถิ่นด้วยตนเอง แต่การดำเนินการเหล่านั้นยังไม่บรรลุเป้าหมายเนื่องจากการขาด
แคลนงบประมาณ การขาดอำนาจในการบริหารดูแลพื้นที่โดยตรง การซ้ำซ้อนของอำนาจจาก๑๓
ส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น ทำให้ประเทศไทยยังไม่สามารถกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นดูแลพื้นที่ของตนเองได้ จึงควรให้มีการแบ่งภารกิจระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจน
เพิ่มความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารงานเพื่อให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง สามารถ
ที่จะบริหารจัดการท้องถิ่นได้
(๓) การกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น
ในประเทศญี่ปุ่นนั้น มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้ง ได้แก่ เป็นพลเมืองญี่ปุ่นที่
พำ นักอยู่ในเขตปกครองท้องถิ่นนั้นๆ ไม่ต่ำ กว่า ๓ ปี มีอายุไม่น้อยกว่า ๒๕ ปี และไม่เป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระดับชาติ (Diet) และสมาชิกสภาท้องถิ่นในเวลาเดียวกัน โดยมิได้กำหนด
วาระในการดำรงตำแหน่ง
ส่วนการดำรงตำแหน่งผู้บริหารองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย ยกเว้น
กรุงเทพมหานครนั้น มีการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งไม่เกิน ๒ วาระ ซึ่งในปัจจุบัน วาระการ
ดำรงตำแหน่งนี้ยังเป็นข้อถกเถียงในเรื่องการจำกัดสิทธิของประชาชน ควรให้ประชาชนเป็นคน
ตัดสินใจเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
(๔) คณะกรรมการการเลือกตั้ง ในประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมการเลือกตั้งมิได้มีอำนาจในการ
ตัดสิทธิ หรือเพิกถอนสิทธิผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทำการทุจริต โดยการให้ใบเหลือง ใบแดง
เหมือนกับกรณีของประเทศไทย เพราะประชาชนเห็นความสำคัญของประชาธิปไตย และมีการ
ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองทุกระดับของประเทศ อีกทั้งมีระบบการตรวจสอบผู้
ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจากภาคประชาชน จึงไม่มีการยอมรับพฤติกรรมการซื้อสิทธิขายเสียงใน
การเลือกตั้ง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่คณะกรรมการการเลือกตั้งของประเทศญี่ปุ่นจะมีอำนาจ
ดังกล่าว
สำหรับในประเทศไทยนั้น ในปัจจุบันอยู่ในช่วงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เริ่มที่จะมี
การปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นความสำคัญของประชาธิปไตย จึงควรที่จะมีการดำเนินการพัฒนา
ในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมจากทั้งภาคประชาชนและภาครัฐบาลเพื่อให้ได้รับผลสำเร็จในการปกครอง
ส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย
บทสรุป
การเดินทางไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ของคณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่น ประสบ
ความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ เนื่องจากได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการปกครองส่วน
ท้องถิ่น โดยได้ตั้งเป็น ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนำมาเป็น
ข้อมูลการพัฒนา ปรับปรุงการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยในมีความก้าวหน้า ตาม
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ หมวดที่ ๑๔
อย่างไรก็ตามในสภาพความเป็นจริงของวัฒนธรรมทางการเมืองของญี่ปุ่น ลักษณะเอกรัฐของ
ชาติญี่ปุ่น และการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ เราก็ได้เห็นข้อจำกัดบางประการและที่สำคัญคือ
งบประมาณการพัฒนาท้องถิ่นนั้นไม่เพียงพอ ภาษีที่ท้องถิ่นจัดเก็บได้เองนั้นเฉลี่ยแล้ว ประมาณร้อยละ
๑๔
๓๐ เศษ ของงบประมาณรายจ่ายแต่ละปีของท้องถิ่น ส่งผลให้ผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่นที่สังกัดพรรค
เดียวกันกับรัฐบาล ได้เปรียบคู่ต่อสู้ โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรครัฐบาล สามารถรณรงค์หาเสียง
เลือกตั้งอ้างจุดแข็งของตนในข้อนี้
ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของการปกครองส่วนท้องถิ่นในญี่ปุ่น นอกจากในเรื่องความเป็น
อิสระในทางทฤษฎี และการต้องพึ่งพาส่วนกลางในทางด้านความเป็นจริง ก็คือการเลือกตั้งผู้บริหาร
ท้องถิ่นโดยตรง แทนที่จะให้สภาเลือกอย่างกรณีการเมืองระดับชาติ ระบบเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น
โดยตรงนี้ นำมาจากแบบแผนของสหรัฐอเมริกา ทำให้ญี่ปุ่นมีระบบเลือกตั้งหัวหน้าฝ่ายผู้บริหาร ๒
แบบคือ เป็นแบบเลือกตั้งทางอ้อมในระดับชาติ และเป็นแบบเลือกตั้งโดยตรงในระดับท้องถิ่น
ข้อดีอย่างหนึ่งของการเลือกตั้งผู้บริหารโดยตรงก็คือ การเลือกตั้งมีความคึกคักและการ
รณรงค์หาเสียงมีความเข้มข้น ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง เพราะตนจะเป็นผู้เลือก
ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีด้วยตนเอง นอกเหนือจากที่เลือกสมาชิกสภา ในทางตรงข้าม
การเลือกตั้งผู้บริหารโดยตรงก็ทำให้ระบบพรรคการเมืองไม่เข้มแข็งในการเมืองท้องถิ่น
พลวัติสำคัญของการเมืองระดับท้องถิ่นประการหนึ่งก็คือ การเมืองญี่ปุ่นมีความเป็นพหุนิยม
สูงมาก แต่ละพรรคพยายามจะควบคุมการปกครองท้องถิ่นให้ได้
การปกครองท้องส่วนถิ่นในญี่ปุ่นปัจจุบันต้องประสบปัญหาหนักเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนในหลายๆ
ด้าน เช่น ปัญหาการหาทางออกสู่เศรษฐกิจต่างประเทศด้วยตนเองเพื่อตอบสนองธุรกิจในท้องถิ่นของ
ตน ปัญหาการสร้างความเป็นนานาชาติให้แก่สังคมในท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องคู่กันไปกับสภาพความ
เป็นจริงทางเศรษฐกิจและสังคมของตนที่ใกล้ชิดกับเศรษฐกิจโลก ปัญหาต้องพึ่งงบประมาณอุดหนุน
จากรัฐบาลกลางก็เป็นปัญหาหนัก เพราะหมายถึงการสูญเสียความเป็นอิสระของท้องถิ่น รวมทั้ง
ปัญหาประนีประนอมกับแนวนโยบายของพรรคการเมืองที่ควบคุมรัฐบาลกลาง และยังมีปัญหา
สังคมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาสภาพแวดล้อม ปัญหาคนสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นและปัญหา
คุณภาพชีวิต แต่อย่างไรก็ตาม เราอาจกล่าวสรุปได้ว่า การปกครองตนเองแห่งท้องถิ่นคงจะหาทาง
ออกให้แก่ปัญหาเหล่านี้ได้ ระบบดังกล่าวจะบรรจุผู้นำทางการเมืองที่สามารถตอบสนองปัญหาของ
ท้องถิ่นของตน ผู้ที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ต้องหลีกทางให้แก่ผู้นำใหม่ ซึ่งอาจมีแนวความคิดใหม่
ความกล้าหาญ และมีอายุน้อยกว่า ดังที่เราได้เห็นในผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลนคร
ที่มีคนหน้าใหม่ได้รับเลือกตั้งเข้ามาจำนวนมาก


การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่นของอังกฤษ
อังกฤษไม่เพียงแต่ได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศแม่บทของประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภาเท่านั้น แต่ยังได้ชื่อว่าเป็นประเทศแม่บทของการบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่นด้วย ประเทศประชาธิปไตยต่างๆ ซึ่งรวมทั้งไทย ได้นำการปกครองระบอบประชาธิปไตยการบริหารเมืองหลวง และการบริหารท้องถิ่นของอังกฤษมาเป็นแบบอย่างมากพอสมควรเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดและสับสนที่สืบเนื่องมาจากการที่อังกฤษเป็นประเทศผู้นำใน สหราช-อาณาจักร (The Kingdom of Great Britain and Northern Ireland อาจเขียนหรือเรียกย่อว่า The United Kingdom หรือ Great Britain) อีกทั้งการบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่นของอังกฤษในบางกรณีจะมีวิวัฒนาการควบคู่ไปกับการบริหารท้องถิ่นของประเทศอื่นใน สหราชอาณาจักร เช่น กฎหมายการบริหารส่วนท้องถิ่น ค.ศ. 1972 (The Local Government Act, 1972) ได้กำหนดให้โครงสร้างหน่วยบริหารท้องถิ่นของอังกฤษเป็นเช่นเดียวกับเวลส์ (Wales) ประกอบกับในอดีตและปัจจุบัน เมื่อกล่าวถึงอังกฤษ บางคนอาจเข้าใจว่ามีความหมายครอบคลุมไปถึงประเทศอื่น ในสหราชอาณาจักรด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจอังกฤษพอประมาณพร้อมกับกำหนดขอบเขตการพิจารณาศึกษาไว้ในที่นี้ว่า เมื่อกล่าวถึงการบริหารเมืองหลวงของอังกฤษหมายถึงการบริหารกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอังกฤษเพียงประเทศเดียวเท่านั้น มิได้พิจารณาศึกษาเมืองหลวงของประเทศอื่น ในสหราชอาณาจักร เช่น กรุงเอดินเบอร์ก (Edinburgh) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสกอตแลนด์ (Scotland) ทั้งนี้เพราะ สหราชอาณาจักรมีพื้นที่รวม 94,500 ตารางไมล์ หรือ 242,432 ตารางกิโลเมตรประกอบด้วย
1) อังกฤษ (England) มีพื้นที่ 130,439 ตารางกิโลเมตร
2) เวลส์ (Wales) มีพื้นที่ 20,766 ตารางกิโลเมตร
3) สกอตแลนด์ (Scotland) มีพื้นที่ 77,080 ตารางกิโลเมตร
4) นอร์ธเธิร์น ไอร์แลนด์ (Northern Ireland) มีพื้นที่ 14,147 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ดังกล่าวนี้ไม่รวม ชันเนิ้ล ไอสแลนด์ และไอเซิล ออฟ แมน (The Channel Islands and the Isle of Man) อาณานิคม และดินแดนที่เป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร
เฉพาะประชากรของอังกฤษ ในกลางปี ค. ศ. 1996 มีประชากร 58.8 ล้านคน ต่อมาในปี ค.ศ. 1999 มีประชากร 59.4 ล้านคน
ในช่วงเวลาที่นางมากาเร็ท แธ็ทเชอร์ (Margaret thatches ) ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยแรก ค.ศ. 1996 ถึง ค.ศ. 2001 และหลังจากได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2001 ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันเป็นสมัยที่สองนั้น นายโทนี แบลร์ (tony Blair) จากพรรคแรงงาน ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในช่วงเวลานั้นได้มีนโยบายที่สนับสนุนการยกอำนาจให้ (devolution) หรือมีนโยบายที่สนับสนุนการมอบอำนาจทางการเมืองและการบริหารอย่างเด็ดขาดให้มากขึ้นทั้งนี้เห็นได้ชัดเจน ในปีค.ศ. 1997 รัฐบาลได้จัดให้มีการลงประชามติในสกอตแลนด์ และเวลล์ และปีต่อมา ในปี ค. ศ. 1999 ทั้งสกอตแลนด์ และเวลล์ ได้มีรัฐบาลเป็นของตนเอง และมีการจัดตั้งรัฐบาลเป็นของตนเอง ซึ่งมีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้านสาธารณสุข การศึกษา การบริหาร การพัฒนา และมีกิจการภายในเป็นของตนเอง ทั้งๆที่ สกอตแลนด์ และเวลล์ ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ก่อนหน้านั้นในส่วนของนอร์ธเธิร์น ไอร์แลนด์ ได้มีข้อตกลงให้จัดตั้งสภา(assembly)ของตนเอง
สำหรับการบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่นของอังกฤษ มีสาระดังต่อไปนี้
3.1กรุงลอนดอน(London)ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงไต้ของอังกฤษบนชายฝั่งแม่น้ำเทมส์(Thames)ทั้งสองฝั่งเป็นเมืองขนาดใหญ่(metropolis) ที่สุดในยุโรป มีพื้นที่ 1,580 หรือเท่กับ 620 ตารางไมล์ กลางปี ค.ศ.1996 มีประชาการประมาณ7 ล้านคน ซึ่งเท่ากับประมาณ ร้อยละ 12 ของประชากรทั้งหมดของอังกฤษ ซึ่งจำนวน58.8ล้านคนย้อนไปในปี ค.ศ. 1951มีประชากรอาศัยในกรุงลอนดอนจำนวน 8 ล้านคน และในปี ค.ศ. 2001กรุงลอนดอนมีประชากรประมาณมากกว่า 7 ล้านคน นอกจากนี้ในปี ค.ศ.2000 มีประชากรมากกว่า 25 ล้านคนที่เดินทางมายังกรุงลอนดอน
ส่วนเทศบาลนครลอนดอน (city of London) ในปี ค.ศ. 1971 มีพื้นที่ 2.75 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 4,234 คน ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 มีพื้น 2.59 ตารางกิโลเมตรหรือเท่ากับ 1 ตารางไมล์ การที่เทศบาลนครลอนดอนมีพื้นที่น้อยกว่าเช่นนี้ทำให้เรียกว่าThe square Mileโดยมีประชากรอาศัยอยู่อย่างถาวรประมาณ5,000คนและมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า300,000คนเดินทางเข้าออกมาหรือมาทำงานในแต่ละวันทำงานสำหรับบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างถาวรเรียกว่าว่า(BarbicanCentre)เป็นอาคารพักอาศัยบริเวณนี้สร้างขึ้นเพื่อแทนอาคารที่ถูกเยอรมนีทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่2(ค.ศ.1939ถึงค.ศ1945)
เทศบาลนครลอนดอนมีรูปแบบของหน่วยการบริหารที่เรียกว่า The corporation of the city of London หรือเรียกว่า The corporation of London
ในคริสต์ศตวรรษที่1 ชาวโรมัน (The Romans) ผู้ก่อตั้งกรุงลอนดอน เพื่อใช้เป็นที่สำคัญ ในการส่งพืชผลทางการเกษตรและแร่ธาตุต่อมาได้พัฒนามาเป็นเมืองหลวงที่มั่งคั่งของประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมความสำคัญได้สืบต่อกันมาในคริสต์ศตวรรษที่19กรุงลอนดอนเคยเป็นเมืองท่าใหญ่ที่สุด และมีอิทธิพลมากที่สุดในโลก เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรที่มั่งคั่งเฟื่องฟูแห่งหนึ่ง ทุกวันนี้กรุลอนดอนยังคงเป็นเมืองหลวงที่มีประชากรจำนวนมาก พร้อมกับเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญ แห่งหนึ่งของของโลก
3.2 ต้นกำเนิดของการบริหารท้องถี่นของอังกฤษอาจย้อนหลังไปถึงยุคกลาง ( Middle Ages) เมื่อหน่วยการบริหารท้องถิ่น (boroughs) จำนวนหนึ่งได้รับมอบอำนาจตามกฎหมายจากกษัตริย์ ให้ดำเนินกิจการต่างๆกันเองต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่19การบริหารท้องถิ่นระบบใหม่ได้จัดตั้งขึ้นและใช้ติดต่อกันมาจนถึงปีค.ศ.1974 อย่างไรก็ดี การบริหาราท้องถิ่นในอังกฤษเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นเมื่อประกาศใช้กฎหมายในปี ค.ศ. 1835 ที่ชื่อว่า The municipal coporations Art ,1835 และมีวิวัฒนาการมาจนกระทั่งประกาศใช้กฎหมายบริหารท้องถิ่นหรือกฎหมายในท้องถิ่น ค.ศ.1972 ( The Local Government Act, 1972 ) กฎหมายนี้มี่ผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 กล่าวได้ว่าการบริหารท้องถิ่นรวมทั้งการบริหารเมืองหลวงซึ่งถือว่าเป็นการบริหารท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งนั้นแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทและหลายระดับแต่ละประเภทและระดับมีอำนาจหน้าที่ตลอดจนขอบเขตความรับผิดชอบมากน้อยเพียงใดรัฐสภาเป็นผู้กำหนดพร้อมกับควบคุมดูแล ( legislative control หรือparliamentary control) หน่วยการบริหารท้องถิ่นและการบริหารเมืองหลวงโดยออกกฎหมายเพื่อกำหนดรูปแบบโครงสร้างอำนาจหน้าที่รายได้ ตลอดจนการติดตั้งและยุบเลิกหน่วยงานบริหารเมืองหลวงหรือหน่วยการบริหารท้องถิ่นในเวลาเดียวกันรัฐบาลในส่วนกลางควบคุมโดยการกำหนดนโยบาย(policycontrol)มีหน่วยงานของฝ่ายบริหารมาควบคุม (administrative control)โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงคมนาคม การบริหารท้องถิ่นและภาค (Department for Transport, Local Government and the Regions) และผู้ตรวจการ รวมตลอดไปถึงการควบคุมทางด้านการเงิน(Financial control) เช่นในปี ค.ศ. 1982 รับบาลภายไต้การนำของ นางมากาเร็ท แธ็ทเชอร์ นายกรัฐมนตรี ได้ออกกฎหมายที่เรียกว่า Local Government Act,1982 มาควบคุมการเงินของหน่วยการบริหารท้องถิ่นให้รัดกุมขึ้น ไม่เพียงแต่ที่กล่าวมาเท่านั้น หาก บุคคลหรือนิติบุคคลได้รับความเสียหายจากการบริหารของหน่วยการบริหารท้องถิ่นหรืออาจนำเรื่องร้องเรียนต่อรัฐบาลในส่วนกลางเพื่อสอบสวนและดำเนินการโดยฝ่ายตุลาการต่อไปได้
3.3 เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้รัฐสภาจะออกกฎหมายให้ อิสระ แก่หน่วยงานบริหารเมืองหลวงหรือท้องถิ่นค่อนข้างมาก แต่รัฐสภาก็ได้คำนึงถึงความปลอดภัย ความยุติธรรมและสิทธิขิงบุคคลด้วย ดังนั้น จึงถือเป็นหลักการทั่วไปว่าการใช้อำนาจหน้าที่ของหน่วยการบริหารท้องถิ่นจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความยุติธรรมและสิทธิของบุคคลด้วยโดยรัฐบาลในส่วนกลางจะสงวนอำนาจที่จะเข้าแทรกแซงการบริหารงานของหน่วยการบริหารท้องถิ่นได้ในบางเรื่องสำหรับหน่วยงานที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐบาลในส่วนกลางกับหน่วยการบริหารท้องถิ่นคือ กระทรวงคมนาคม การบริหารท้องถิ่นและภาค(Department for Transport, Local Government and the Regions) ขณะเดียวกันมีหน่วยงานและกระทรวงอื่นๆ ที่ทำงานประสานกับหน่วยการบริหารท้องถิ่นด้วย เช่น กระทรวงศึกษาธิการ และความชำนาญ (Department for Education and kills)
3.4 อังกฤษแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น2ส่วนคือ รัฐบาลในส่วนกลาง (Central Government) กับรัฐบาลในท้องถิ่น (Local Government) เมื่อพิจารณาในภาพรวมและจากสภาพความเป็นจริงแล้ว แม้รัฐบาลในส่วนกลางจะได้กระจายอำนาจให้แก่รัฐบาลในท้องถิ่น โดยอังกฤษมีลักษณะของการกระจายอำนาจอยู่พอสมควร และแม้กฎหมายจะกำหนดให้ สภาของหน่วยการบริหารท้องถิ่นต่างๆ (councils)มาจากการเลือกตั้ง(The Local authorities are elected councils) ก็ตามแต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว การกระจายอำนาจก็มิได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงหรืออย่างมากเพียงพอจนเป็นที่ยอมรับกันได้เหมือนกับการกระจายอำนาจในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม การที่อังกฤษแบ่งการบริหารราชการแผ่นดินเป็น สองส่วนนั้นได้ใช้กันมานาน กฎหมายการบริหารท้องถิ่นปี ค.ศ. 1972 ยังคงยืนยันการแบ่งเป็น 2ส่วนอยู่เช่นเดิม
3.5 การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของอังกฤษ เห็นได้จากการจัดแบ่งรัฐบาลในระดับท้องถิ่นหรือการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
3.5.1 การบริหารในพื้นที่เมืองหลวง(Capital area)
3.5.2 การบริหารในพื้นที่มหานคร (Metropolitan areas) และ
3.5.3 การบริหารนอกพื้นที่มหานคร (Non-Metropolitan areas)
การบริหารทั้ง 3 ส่วนนี้ เป็นการบริหารท้องถิ่น โดยแต่ละส่วนแบ่งเป็น 3 ระดับเหมือนกัน ได้แก่ (1) ระดับ(County) (2) ระดับ District (3) ระดับ parish แต่ละดับจะมีสภา ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงและอยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี
3.6 การบริหารในพื้นที่เมืองหลวง หมายถึง การบริหารงานของหน่วยงานบริหารท้องถิ่นต่างๆในพื้นที่เมืองหลวงซึ่งถือว่าเป็นเขตพิเศษ แบ่งเป็น 3 ระดับ
3.6.1 ระดับ Countyเรียกว่า County of London หรือ Greater London ซึ่งในที่นี้เรียกว่าเทศบาลกรุงลอนดอนมีจำนวน 1 แห่ง ระดับนี้ประกอบด้วย Greater London และ Mayor of London แต่ต่อมา Greater London councils ได้ถูกยกเลิกโดยกฎหมายที่เรียกว่า Local Government Act,1985 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1986 อีกประมาณ 14 ปีต่อมา คือในปี ค.ศ. 2001 ได้มีการจัดตั้งหน่วยการบริหารเมืองหลวงใหม่เรียกว่า A Greater London Authority โดยอาศัยกฎหมายที่เรียกว่า Greater London Authority Act 1999
3.6.2 ระดับ District หรือเรียกว่า Borough ประกอบด้วยรัฐบาล 33 แห่ง แบ่งเป็นรัฐบาลเทศบาลนครลอนดอน (City of London ) จำนวนหนึ่งแห่ง และ London Borough (ซึ่งอาจเรียกว่าเทศบาลเมือง) อีกจำนวน 33แห่ง ในแต่ละแห่งของระดับนี้ประกอบด้วย สภาท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า London Borough councils และหัวหน้าฝ่ายบริหารท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่านายกรัฐมนตรี (Mayor) หรือประธานสภาเทศบาล (chairman) เมื่อนำพื้นที่มาพิจารณาก็จะพบว่า พื้นที่เทศบาลนครลอนดอนมีเพียง 1ตารางไมล์ เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ของกรุงลอนดอน 620 ตารางไมล์ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เทศบาลนครลอนดอน และเทศบาลอีก 32 แห่ง
3.6.3 ระดับ parish หมายถึง หน่วยการบริหารท้องถิ่นในระดับที่ต่ำกว่าระดับ district ระดับนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ Inner London Boroughs จำนวน 13 แห่ง และ Outer London Boroughs จำนวน 19 แห่ง ( ทั้ง 2 ส่วนนี้เป็นส่วนย่อยของ London Boroughsจำนวน 13 แห่ง) ตัวอย่างเช่น Inner London Boroughs มีพื้นที่การศึกษาระดับสูงอยู่ในการควบคุมดูแล Inner London Education Authority ส่วน Outer London Boroughsมีพื้นที่การศึกษาระดับสูงอยู่ในการควบคุมดูแลของหน่วยงานบริหารท้องถิ่น คือ Outer London Boroughsจำนวน 19 แห่ง ดังกล่าว
3.7 การบริหารในพื้นที่มหานครเป็นพื้นที่นอกพื้นที่เมืองหลวง (Capital area) หรือเรียกว่า Outside London แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ Metropolitan counties, Metropolitan district, และ parishes ดังนี้
3.7.1 ระดับ Countyเรียกว่า Metropolitan counties มีจำนวน 6 แห่ง ได้แก่ Manchester, Liverpool, Sheffild, Newcastle-Sunderland, Birmingham, Leeds-Bradford หน่วยการบริหารในพื้นที่มหานครระดับนี้ ในแต่ละแห่งประกอบด้วย Metropolitan County counties และนายกเทศมนตรี หรืออาจเรียกว่า ประธานสภาเทศบาล Metropolitan County counties ทั้ง 6 แห่ง ได้ถูกยกเลิกโดยกฎหมายที่เรียกว่า Local Government Art 1985 โดยมีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1986 ในเวลาเดียวกับการยกเลิก Greater London councils ดังกล่าว
3.7.2 ระดับ District หรือเรียกว่า Metropolitan District มีจำนวน 36 แห่งหน่วยการบริหารในพื้นที่มหานครระดับนี้ ในแต่ละแห่งประกอบด้วย Metropolitan District councils และนายกเทศมนตรี หรืออาจเรียกว่า ประธานสภาเทศบาล
3.7.3 ระดับ Parish หรือเรียกว่า Parishes จำนวนของ Parishes ไม่อาจระบุได้อย่างชัดเจน Parishesมีอยู่ทั้งในพื้นที่มหานครและนอกพื้นที่มหานคร ลักษณะของ Parishesเป็นหน่วยงานบริหารท้องถิ่นระดับล่างสุด โดยทั่วไปแล้ว Parish ใดที่มีประชากรมากกว่า 200 คน กฎหมายกำหนดให้มีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่น หรือ parish councils แต่ถ้ามีจำนวนประชากรน้อยกว่า 200คน จะเป็นหน่วยการบริหารท้องถิ่นที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นสถานที่ฝึกหัดประชาธิปไตยโดยตรง (Practice direct democracy) แก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้น ซึ่งอาจเรียกว่า parish meetings
3.8 การบริหารนอกพื้นที่มหานครเป็นพื้นที่นอกพื้นที่เมืองหลวง (Capital area)หรือเรียกว่า Outside London การบริหารท้องถิ่นในส่วนนี้ เป็นไปในทำนองเดียวกับการบริหารท้องถิ่นในพื้นที่มหานคร คือเป็น 3 ระดับ ได้แก่ Counties, District,และ Parishes ในบางครั้งเรียกทั้ง 3 ระดับดังกล่าวว่า County Councils, Shire District,และ Parish and Community Councils แต่ระดับมีจำนวนหน่วยการบริหารท้องถิ่น ดังนี้
3.8.1ระดับ County เรียกว่า Non-Metropolitan counties มีจำนวน 39 แห่งหน่วยการบริหารในพื้นที่มหานครระดับนี้ ในแต่ละแห่งประกอบด้วย Non-Metropolitan county councils และนายกเทศมนตรี หรืออาจเรียกว่า ประธานสภาเทศบาล
3.8.2ระดับ District เรียกว่า Non-Metropolitan districts มีจำนวน 296 แห่งหน่วยการบริหารในพื้นที่มหานครระดับนี้ ในแต่ละแห่งประกอบด้วย Non-Metropolitan District Councils และนายกเทศมนตรี หรืออาจเรียกว่า ประธานสภาเทศบาล
3.8.3 ระดับ parish หรือเรียกว่า parishes เรียกว่า Non-Metropolitan Parishes ในปี 1981 มีจำนวนมากกว่า 10,000 แห่ง ต่อมาในปี ค.ศ. 1988 ยังคงมี Parishes มากกว่า 10,000 แห่ง แต่ประมาณ 8,000 เป็นสภาที่มาจากการเลือกตั้ง (elected councils ) และบางแห่งเรียกว่า Town Councils
3.9 แม้จะได้แบ่งการบริหารส่วนท้องถิ่นของอังกฤษออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (1) การบริหารพื้นที่ในเมืองหลวง (2) การบริหารพื้นที่มหานคร และ (3) การบริหารนอกพื้นที่มหานคร และแต่ละส่วนยังแบ่งออกเป็น 3ระดับดังกล่าวข้างต้นแล้วก็ตาม แต่ในแต่ละส่วนนั้นเฉพาะที่สำคัญมีเพียง 2 ระดับบน คือระดับ County และ district เท่านั้น ทั้งสองระดับนี้มีจำนวนหน่วยการบริหารท้องถิ่นที่สำคัญ (Principal Authorities) รวมทั้งสิ้น 411 แห่ง โดยไม่ได้นำจำนวน parish ซึ่งเป็นหน่วยการบริหารท้องถิ่นระดับล่างสุดมานับรวมไว้ด้วยโปรดดูภาพที่3.10 ประกอบ ภาพที่ 3.10 การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของอังกฤษในปี ค.ศ. 1974 ถึง ค.ศ.1995

3.10 ลักษณะการบริหารท้องถิ่นตามระบบ 2 ระดับ (two-tier system หรือ two-tier structure) ดังกล่าวแล้วว่า การบริหารท้องถิ่นของอังกฤษซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วนนั้น ในแต่ละส่วนแม้จะแบ่งเป็น 3 ระดับแต่ที่สำคัญมีเพียง 2 ระดับ เท่านั้น ได้แก่
3.10.1 ระดับบน (top tier หรือ upper tier) หรือ ระดับ county
3.10.2 ระดับล่าง (low tier) หรือระดับ district หรือ ระดับ borough
ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ ในบางครั้งเรียกการบริหารในพื้นที่เมืองหลวงรวมทั้งการบริหารท้องถิ่นอื่นๆ ของอังกฤษว่าเป็นระบบ 2 ระดับ (two-tier system หรือ two-tier structure) เห็นได้อย่างชัดเจนในการบริหารในพื้นที่เมืองหลวงก่อนปี ค.ศ. 1986 และนับจากปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ได้มีหน่วยงานบริหารเมืองหลวงที่สำคัญเพียง 2 ระดับ คือ ระดับบนและระดับล่างเท่านั้น แม้ว่าการบริหารในพื้นที่เมืองหลวงในระดับล่างสุด คือ ระดับ parish จะประกอบด้วย Inner London Boroughs จำนวน 12 แห่ง และ Outer London Boroughs จำนวน 20 แห่ง ก็ตาม
ในทำนองเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นกับการบริหารท้องถิ่นอื่น อันได้แก่ การบริหารในพื้นที่มหานครและการบริหารนอกพื้นที่มหานคร ด้วย โปรดดูภาพที่ 3.11 ประกอบภาพที่
3.11 ลักษณะการบริหารท้องถิ่นของอังกฤษตามระบบ 2 ระดับ ในปี ค.ศ. 2001

3.11 กรุงลอนดอนเป็นแบบอย่างของการบริหารเมืองหลวงหรือการบริหารเมืองใหญ่ให้กับเมืองต่างๆ มาช้านานหลายศตวรรษ การบริหารกรุงลอนดอนมีวิวัฒนาการที่สำคัญ คือ
3.11.1 กล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลในส่วนกลางกับกรุงลอนดอนไม่ค่อยราบรื่นนับตั้งแต่พระเจ้าวิเลี่ยมที่หนึ่ง (William I : ค.ศ. 1027 – ค.ศ. 1087) หรือ พระเจ้าวิเลี่ยมผู้พิชิต (William the Conqueror) พระองค์ทรงปกครองอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ช่วงปี ค.ศ. 1066 – ค.ศ. 1087 ทรงจัดการปกครองแบบกษัตริย์ซึ่งรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางหรือรัฐบาลในส่วนกลาง และมีสภาพการปกครองแบบศักดินา (strong central government and feudal state) แคว้นหรือดินแดนต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นห่างไกลออกไปจากรัฐบาลส่วนกลาง ต่างมีเจ้าศักดินาหรือผู้ปกครองที่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน มีจารีตประเพณีรวมทั้งศาลศักดินา (feudal courts) หรือ ศาลท้องถิ่น (local courts) ของตัวเอง ในส่วนของการบริหารเมืองหลวงนั้น พระองค์ได้มองความเป็นอิสระในการบริหารงานบางส่วน (degree of autonomy)
ให้กรุงลอนดอน เนื่องจากประสงค์ที่จะรักษาตำแหน่งของพระองค์มากกว่าการดำเนินการใดๆ ที่ไปกระทบกระเทือนชาวกรุงลอนดอนซึ่งเป็นเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอังกฤษ
3.11.2 ในปี ค.ศ. 1191 มีรูปแบบที่เรียกว่า Communa of London ซึ่งคล้ายคลึงกับรูปแบบเทศบาล (municipal organization) และมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี (mayor) 1 คน ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง กับเจ้าหน้าที่ของเทศบาลที่เป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้งซึ่งเรียกว่า ward หรือ สมาชิกอาวุโสของเทศบาล (aldermen) โดยมาจากการแต่งตั้ง จำนวนไม่มาก
Aldermen มีวิวัฒนาการมาช้านาน เริ่มแรกป็นสมาชิกอาวุโสของเทศบาลหรือสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการแต่ตั้ง ต่อมาเปลี่ยนเป็นตัวแทนของเขตเลือกตั้ง ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในเขตเลือกตั้งนั้น aldermen เป็นตัวแทนของแต่ละเขตเลือกตั้งที่ได้รับเลือกเข้ามา ในระยะแรก aldermen มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบการบริหารงานของเทศบาลทั้งหมด แต่ต่อมาอำนาจลดน้อยลงโดยสมาชิกสภาเทศบาล (members of council) ได้เขามามีอำนาจและความรับผิดชอบแทน ทุกวันนี้ Lord Mayor เป็นผู้เรียกประชุม aldermen ในปีหนึ่ง ๆ จะประชุมทุกวันอังคาร 9 ครั้ง
3.11.3 การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีมีขึ้นประมานปี ค.ศ.1193 ในปีนั้นการบริหารเมืองหลวงเป็นรูปแบบเทศบาล หรือ เรียกว่าCorporation ซึ่งมีโครงสร้างการบริหารที่ ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี1 คนซึ่งมาจากเลือกตั้ง มีสมาชิกอาวุโสของเทศบาล (aldermen) 24 คน และเจ้าพนักงานฝ่ายบริหาร (sheriffs) อีก 2 คน ภายหลังจากนั้น ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า councilors ที่ทั้งนายกเทศมนตรี (mayor) หรือประธานสภาเทศบาล (chairman) และสมาชิกสภาเทศบาลมาจากการเลือกตั้ง โดยอำนาจในการบริหารงานอยู่ที่สมาชิกสภาเทศบาล
3.11.4 ความพยายามในการแก้ไขปัญหาการบริหารเมืองหลวงหรือกรุงลอนดอนเห็นได้อย่างชัดเจนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ด้วยการจัดตั้ง the Metropolitan board of work อาจเรียกว่าคณะกรรมการบริหารงานมหานคร ในปี ค.ศ. 1855 มีอำนาจบริหารที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น โดยให้บริการพื้นฐานทั่วไป เช่น การระบายน้ำ ดับเพลิง สวนสาธารณะ และการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
3.11.5 พัฒนาการขั้นต่อไปของการบริหารเมืองหลวงของอังกฤษคือ การจัดตั้ง The London county council (LCC.) (อาจเรียกว่า สภาเทศบาลกรุงลอนดอน) ขึ้นในปี ค.ศ. 1889 อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานบริหารเมืองหลวงนี้ไม่ครอบคลุมไปถึงเทศบาลนครลอนดอน ( City of London) แต่เป็นเจ้าของกิจการให้บริการสาธารณะ เช่น แก๊ส น้ำประปา ไฟฟ้า และการคมนาคม
3.11.6 ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 หน่วยงานบริหารเมืองหลวงดังกล่าวถูกยกเลิกไป และจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาแทนในปี ค.ศ. 1965 เรียกว่า the Greater London council (GLC.) (อาจเรียกว่า สภาเทศบาลกรุงลอนดอน) หน่วยงานนี้ถือว่าเป็นหน่วยงานในระดับบน (top tier)พร้อมกลับหน่วยกานบริหารท้องถิ่นอื่นในพื้นที่เมืองหลวง ในระดับล่าง( lower tier) อันได้แก่ เทศบาลนครลอนดอน (City of London) 1 แห่ง และ London Boroughs อีกจำนวน 32 แห่ง ซึ่งแบ่งย่อยเป็น lnner London Boroughs และ London Boroughs ลักษณะการบริหารเมืองหลวงระบบ 2 ระดับนี้ ในระดับบนมีอำนาจครอบคลุมกิจกรรมรวม (overall) และการประสานงานรวมทั้งหมด อันได้แก่ การวางแผนรวม การควบคุมการจราจรและถนนทั้งระบบ ระบบระบายน้ำและระบบกำจัดขยะตลอดจนควบคุมดูแลพื้นที่สาธารณะ ส่วนระดับล่างมีอำนาจหน้าที่เฉพาะในเขตพื้นที่ของตนที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย การวางแผน สวนสาธารณะ และกิจการในท้องถิ่นอื่น การบริหารเมืองหลวงดังกล่าวนี้ได้ใช้สืบต่อกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1965 จนถึงปี ค.ศ. 1986
3.11.7 ความตรึงเครียดระหว่างการบริหารงานของรัฐบาลในส่วยกลางกับการบริหารงานระดับบนของกรุงลอนดอนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนหลังจากที่นายกรัฐมนตรีจากพรรคอนุรักษ์นิยม (the Conservative Party) นางมากาเร็ท แธ็ทเชอร์ ได้รับเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1979 ได้เกิดความขัดแย้งบ่อยครั้งกับ the Greater London Council หรือ สภาเทศบาลกรุงลอนดอนซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคแรงงาน (the Labor Party) ที่นำโดย นาย เค็น ลิฟวิงสโตน (Ken Livingstone) ตัวอย่างความขัดแย้ง เช่น มีการกล่าวหาว่า the Greater London Council ใช้เงินจำนวนมากสำหรับกิจกรรมด้านศิลปะ และโครงการที่ผลประโยชน์ตกแก่กลุ่มคนจำนวนน้อยรวมทั้งนำเงินไปอุดหนุนค่าโดยสารขนส่งมวลชน ยิ่งไปกว่านั้น นายเค็น ลิฟวิงสโตน ยังได้วิพากษ์วิจารณ์นโยบายด้านเศรษฐกิจของนางมากาเร็ท แธ็ทเชอร์ อย่างรุนแรงอีกด้วย
ในปี ค.ศ. 1983 นางมากาเร็ท แธ็ทเชอร์ ได้ประกาศว่าหากได้ตนเองได้รับการเลือกตั้งเข้ามาอีกสมัยหนึ่งจะหนึ่งจะยกเลิก (abolish) สภาเทศบาลกรุงลอนดอน (the Greater London Council) รวมทั้ง Metropoiitan Councils จำนวน 6 แห่ง ที่เป็นหน่วยงานบริหารท้องถิ่นในระดับบน (top tier) ในปี ค.ศ. 1985 นางมากาเร็ท แธ็ทเชอร์ ได้ยกเลิกสำเร็จภายใต้กฎหมายที่เรียกว่า The Local Government Act 1985 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 1986 โดยโอนอำนาจหน้าที่ส่วนใหญ่ไปให้กับ London Boroughs และ Metropolitan District Councils ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารท้องถิ่นในพื้นที่มหานครในระดับล่าง (low tier) พร้อมกันนั้น การประสานงานในเรื่องสำคัญๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ the Greater London Council ที่ถูกยกเลิกไปนั้น ได้ตกไปอยู่อำนาจของรัฐบาลในส่วนกลาง ทั้งนี้ ยังคงเหลือหน่วยการบริหารเมืองหลวง ในระดับล่าง จำนวน 33 แห่ง ที่ต่างบริหารงานกันเอง เช่นนี้แสดงให้เห็นว่า อำนาจหน้าที่หรือการใช้ดุลพินิจของหน่วยงานบริหารเมืองหลวงและหน่วยการบริหารท้องถิ่น ที่มีอยู่เดิมอย่างกว้างขว้างและเพิ่มมากขึ้น ตามบทบัญญัติของกฎหมายการบริหารท้องถิ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 ได้สิ้นสุดลงในสมัยรัฐบาลของนางมากาเร็ท แธ็ทเชอร์ สำหรับเหตุผลสำคัญที่ นางมากาเร็ท แธ็ทเชอร์ กระทำเช่นนั้น คือ เพื่อช่วยให้การบริหารงานของหน่วยงาน บริหารเมืองหลวงและหน่วยงานบริหารในพื้นที่มหานครเป็นไปในทางเดียวกัน ช่วยแก้ไขความขัดแย้งระหว่างงานบริหารเมืองหลวงกับรัฐบาลในส่วนกลาง ช่วยประหยัดงบประมาณตลอดจนช่วยไห้โครงสร้างและการบริหารงานของหน่วยงานบริหารเมืองหลวงเข้าใจง่าย และเป็นที่ยอมรับมากกว่าเดิม
ดังนั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 ถึง ประมาณต้นปี ค.ศ. 2000 การบริหารเมืองหลวงของอังกฤษจึงเน้นที่ระดับล่างซึ่งประกอบด้วย เทศบาลนครลอนดอน (London Borough Councils) อีกจำนวน 32 แห่ง เทศบาลนครลอนดอนมีรูปแบบของหน่วยการบริหารงานที่เรียกว่า the Corporation of London โดยมี Lord Mayor จำนวน 1 คน เป็นหัวหน้า (Head of the Corporation of London)
3.11.8 หลังจากการพ่ายแพ้การเลือกตั้งของพรรค อนุรักษ์นิยม ในปี ค.ศ. 1997 รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของนายโทนี่ แบลร์ (Tony Blair) ซึ่งสังกัดพรรคแรงงาน (the Labor Party) ได้ฟื้นฟูความเป็นอิสระในการบริหารงานของกรุงลอนดอน ในการทำประชามติ (referendum) ในปี ค.ศ. 1998 ชาวกรุงลอนดอนเห็นด้วยอย่างท่วมท้นต่อข้อเสนอที่จะจัดให้มีการบริหารกรุงลอนดอนในระดับบนแห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า (A Greater London Authority) มีอำนาจหน้าที่บริหารกรุงลอนดอน มีนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน (Mayor of London ) จำนวน 1 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง (a directly elected Mayor of London) และอยู่ในตำแหน่งวาระ ละ 4 ปี พร้อมกับมีสภาที่มาจากการเลือกตั้งที่แยกออกจากฝ่ายบริหารหนึ่งแห่ง (a separately elected Assembly) คือ สภาลอนดอน จำนวน 25 คน ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในกรุงลอนดอน ปีถัดมารัฐสภาได้ผ่านกฎหมายที่ เรียกว่า the Greater London Authority Act 1999 และใน คริสต์ศตวรรษที่ 21 ในปี ค.ศ. 2000 นายเค็น ลิฟวิงสโตน อดีตประธานสภาเทศบาลกรุงลอนดอน หรือ the former head of the Greater London Council ได้รับเลือกตั้งอย่าท่วมท้นให้เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 หน่วยการบริหารงานระดับบนรูปแบบเทศบาลของกรุงลอนดอน ที่กล่าวนี้ มีตึกใหม่เป็นสำนักงานใหญ่ (headquarters) ตั้งอยู่ที่ศาลากลาง (city hall) ตั้งแต่ฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2002 เป็นต้นมา ในตึกนี้เป็นที่ตั้งของสภาเทศบาลกรุงลอนดอน ห้องทำงานของคณะกรรมการสำนักงานของนายกเทศมตรีกรุงลอนดอน สมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอนและทีมงาน ที่มีจำนวนรวมกันประมาณ 440 คน
3.12 โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของเทศบาลกรุงลอนดอน (The greater London Authority) ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า การบริหารเมืองหลวงเป็นการบริหารท้องถิ่นรูปแบบพิเศษรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานบริหารเมืองหลวงของอังกฤษ ซึ่งเป็นการบริหารเมืองหลวงระดับบน จึงคล้ายคลึงกับหน่วยงานบริหารท้องถิ่นต่างๆ (local authorities) เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการแบ่งหน่วยงานบริหารออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ โดยทั้ง 2 ฝ่าย มาจากการเลือกตั้งเห็นได้จาก
3.12.1 โครงสร้าง กฎหมายที่เรียกว่า the Greater London Authority Act 1999 บัญญัติให้มีหน่วยงานใหม่ในระดับบน ของกรุงลอนดอน คือ the Greater London Authority โดยเป็นรูปแบบของเทศบาล (the Authority shall be a body corporate) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1) นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน (Mayor of London) 1 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในกรุงลอนดอน อยู่ในตำแหน่งวาระ ละ 4 ปี เป็นการปฏิบัติงานเต็มเวลา (a full-time job) รัฐบาลในส่วนกลางเป็นผู้กำหนดเงินเดือนของนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนตามคำแนะนำของหน่วยงานกำหนดเงินเดือน (the Review Body on Senior Salaries) สำหรับนายกเทศมนตรีของเทศบาลกรุงลอนดอน (the Greater London Authority) ที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงภายใต้กฎหมายดังกล่าวเป็นคนแรก ในเดือนพฤษภาคน ค.ศ. 2000 คือ นายเค็น ลิฟวิงโตน โดยอยู่ในตำแหน่งจนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน มีอำนาจในการเลือกรองนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน (Deputy Major) จำนวน 1 คน ซึ่งอยู่ในตำแหน่งวาระละ 1 ปี สภาเทศบาลกรุงลอนดอนมีหน้าที่จัดหาให้ยายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน เป็นผู้เลือกโดยมาจากสมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอน นายเค็น ลิฟวิงสโตน ได้เลือกนางนิคกี้ กาวรอน (Nicky Gavron) เป็นรองซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งจนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002กฎหมายที่เรียกว่า Greater London Authority Act 1999 ได้บัญญัติให้บุคคลที่จะมาดำลงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน ต้องเป็นพลเมือง (citizen) และมีอายุไม่ต่ำกว่า 21 ปี อันเป็นคุณสมบัติเหมือนกับผู้ที่จะมาดำลงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอน
2) สภาเทศบาลกรุงลอนดอน (the London Assembly) ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอน (the London Assembly Members) จำนวน 25 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในกรุงลอนดอนอยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี การเลือกตั้งดำเนินการในเวลาเดียวกันกับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน ดังนั้น สภาเทศบาลกรุงลอนดอนชุดแรกของเทศบาลกรุงลอนดอนตามกฎหมาย ปี ค.ศ. 1999 ซึ่งได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2000 จึงอยู่ในวาระจนถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004
ระบบการเลือกตั้งที่นำมาใช้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอน มีความซับซ้อนพอสมควร ซึ่งเรียกว่า the Additional Member System ภายใต้ระบบนี้ได้แบ่งสมาชิกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (constituency member) จำนวน 14 คน และ (2) สมาชิกผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดของกรุงลอนดอนเป็นผู้เลือก (London members) จำนวน11 คน สมาชิกประเภทหลังนี้อาจเรียกว่า สมาชิกที่มาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง (party lists) และสมาชิกที่มาจากผู้สมัครอิสระ (independent candidates) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ระบบการเลือกตั้งของเทศบาลกรุงลอนดอนยังให้ความสำคัญ กับ (1) เทศบาลทั้งหลาย หรือ London Boroughs ที่มีอยู่ 32 แห่ง โดยรวมกันแล้วจัดแบ่งเป็นเขตเลือกตั้งจำนวน 14 เขต เพื่อการเลือกตั้งครั้งนี้โดยเฉพาะ (2) สมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอน จะมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองและมาจากผู้สมัครอิสระ (3) จำนวนผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอนเป็นไปตามสัดส่วนของคะแนนเสียงของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ทั้งหมดในกรุงลอนดอน (4) ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะต้องลงคะแนนเสียง 2 ครั้ง เพื่อเลือกสมาชิกั้ง 2 ประเภทดังกล่าว
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอนที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ปรากฏว่า พรรคแรงงานได้ 9 คน พรรคอนุรักษ์นิยม ได้ 9 คน และพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat) ได้ 4 คน และพรรคกรีน (the Green party) ได้ 3 คน จากนั้นสมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอนได้เลือกสมาชิกด้วยกัน คือ แซลลี แฮ็มวี (Sally Hanwee) และ ทรีเวอร์ ฟิลลิปส์ (Trevor Phillips) เป็นประธานและรองประธานสภาเทศบาลกรุงลอนดอน ตามลำดับ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2001โดยอยู่ในตำแหน่งว่าระละ 1 ปี
3.12.2 อำนาจหน้าที่ ในอดีตก่อนประกาศใช้กฎหมายที่เรียกว่า the Greater London Authority Act 1999 อำนาจหน้าที่ของเทศบาลกรุงลอนดอนครอบคลุมการวางแผนและให้บริการหลัก (central and strategic services) โดยรวมอำนาจหน้าที่ข้างล่างนี้ไว้ด้วย
1) การวางแผนรวม (large-scale planning)
2) การจัดเตรียมและปรับปรุงแผนพัฒนา (the preparation and revision of development plans)
3) การสร้างถนนหรือทางด่วน (metropolitan highways)
4) การจัดการจราจร (traffic management)
5) การควบคุมดูแลกิจการตำรวจ (police)
6) การให้บริการดับเพลิงและรถพยาบาล (fire and ambulance services)
7) การจัดการเกี่ยวกับของเสีย (waste disposal) ซึ่งรวมทั้งการทำท่อระบายน้ำและการระบายน้ำหลัก (main sewerage and main drainage)
8) การออกใบอนุญาตมหรสพ (licensing of entertainment)
9) การออกใบอนุญาตยานพาหนะ (motor vehicle and driving licenses)
10) การช่วยเหลือทางกฎหมาย (legal aid)
11) การจัดที่อยู่อาศัยบางส่วน การจักการศึกษา (เฉพาะใน Inner London เท่านั้น) และจัดสถานที่จอดรถบางส่วน เป็นต้น
หลังประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว อำนาจหน้าที่ของเทศบาลกรุงลอนดอน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน และอำนาจหน้าที่ของเทศบาลกรุงลอนดอน มีตามลำดับ ดังนี้
อำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน แบ่งเป็นอำนาจเฉพาะ (specific power) และอำนาจทั่วไป (general power) อำนาจดังกล่าวมีมากเพียงพอที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมของกรุงลอนดอน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนจะใช้อำนาจในหลายกรณีจะต้องปรึกษาหารือกับชาวกรุงลอนดอน (Londoners) และในทุกกรณีจะต้องสนับสนุนหรือดำเนินการบนพื้นฐานของความเสมอภาค อำนาจที่สำคัญมีดังนี้
1.1) อำนาจบริหารและกำหนดนโยบายของเทศบาลกรุงลอนดอน นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลระดับบน หรือ the Greater London Authority ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1999 ดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จึงมีอำนาจในการบริหารงานและกำหนดงบประมาณของหน่วยงานนี้และหน่วยงานที่อยู่ในบังคับบัญชา เป็นต้นว่า Transport for London, the London Development Agency, the Metropolitan Police and Londons fire services
1.2) อำนาจกำหนดแผนและนโยบายของกรุงลอนดอน โดยครอบคลุมในเรื่องการขนส่ง การก่อสร้างและการใช้ที่ดิน การพัฒนาเศรษฐกิจ และปรับปรุงและส่งเสริมวัฒนธรรม แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ควบคุมปริมาณเสียง การกำจัดของเสีย และคุณภาพอากาศ ทั้งนี้ แผนนโยบายดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน และ(sustainable development) และคุณภาพของชาวกรุงลอนดอน พร้อมกันนี้ ยังเตรียมกลยุทธ์เพื่อกับมือกับปัญหาต่าง ๆ ของชาวลอนดอนอีกด้วย
1.3) อำนาจประสานงาน ในกรุงลอนดอนมีหน่วยงานทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนเป็นจำนวนมากเข้ามามีบทบาทในการบริหารงานของกรุงลอนดอน นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนจึงต้องมีอำนาจในการประสานงานบนพื้นฐานของผลประโยชน์ของชาวกรุงลอนดอน
1.4) อำนาจแต่งตั้ง ไม่เพียงสภาเทศบาลกรุงลอนดอนเท่านั้นที่มีอำนาจแต่งตั้งบุคลากร (staff) เพื่อปฏิบัติงานในเทศบาลกรุงลอนดอน (The Greater London Authority) นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนก็มีอำนาจแต่งตั้งด้วย และถึงแม้การแต่งตั้งจะขึ้นอยู่กับความพอใจของนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน แต่การแต่งตั้งก็ยังคงคำนึงถึง ตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ ของกรุงลอนดอน เช่น คนผิวดำ คนเอเชีย ผู้หญิง และคนพิการด้วย อำนาจแต่งตั้งของนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนที่สำคัญครอบคลุมถึง
1.4.1) คณะกรรมการบริหาร (boards) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะกรรมการขนส่งแห่งกรุงลอนดอน (Transport for London) และคณะกรรมการหน่วยงานพัฒนากรุงลอนดอน (London development Agency) แม้ว่าหน่วยงานตำรวจและดับเพลิง (The Police and Fire Authorities) ต่างเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระ (independent bodies) แต่นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนก็มีอำนาจแต่งตั้งบุคลากรบางคน ในการเข้าไปดำรงตำแหน่งในหน่วยงานดังกล่าว ทั้งนี้ ต้องได้รับการเห็นชอบจากสภาเทศบาลกรุงลอนดอน และเทศบาลต่าง ๆ (London Boroughs) ที่อยู่ในระดับล่าง
1.4.2) กลุ่มวัฒนธรรม (A Cultural Strategy Group) เพื่อช่วยปรับกลยุทธ์ด้านวัฒนธรรมให้นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน โดยมีอำนาจดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะในกรุงลอนดอน นับตั้งแต่เรื่องกีฬาจนถึงเรื่องมรดกทางสถาปัตยกรรม
1.4.3) หน่วยงานพัฒนาพื้นที่ (The Mayor’s Spatial Development Strategy) มีหน้าที่กำหนดนโยบายทั้งหลายที่เกี่ยวกับการก่อสร้างและการใช้พื้นที่ในกรุงลอนดอน นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนยังมีอำนาจควบคุมดูแลการจัดการพื้นที่สาธารณะที่สำคัญ 2 แห่งในกรุงลอนดอน อันได้แก่ จตุรัสทราฟัลการ์ (Trafalgar Square) และ จตุรัสรัฐสภา (Parliament Square)
1.4.4) คณะที่ปรึกษาของนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน (Mayor’s Advisory Cabinet) คณะที่ปรึกษานี้เป็นสิ่งใหม่สำหรับเทศบาลกรุงลอนดอน ประกอบด้วยผู้มีบทบาทสำคัญจากหน่วยการบริหารของกรุงลอนดอน และจากชุมชน มีหน้าที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายเพื่อประกอบการตัดสินใจ อภิปรายประเด็นสำคัญที่เป็นปัญหาของประชาชน รวมทั้งช่วยประสานงานให้กับนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน โดยทั่วไปคณะที่ปรึกษาจะประชุมกันเป็นประจำทุกเดือน แต่อาจจัดการประชุมพิเศษได้ถ้าจำเป็น
1.5) อำนาจให้คำปรึกษา กฎหมายที่เรียกว่า the Greater London Authority Act 1999 ได้บัญญัติให้หน่วยการบริหารท้องถิ่นทั้ง 33 แห่งดังกล่าวข้างต้น ต้องปรึกษาหารือกับนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนในเรื่องเกี่ยวกับการทำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (strategic planning applications) โดยแผนกลยุทธ์เป็นแผนระดับบน กฎหมายดังกล่าวได้กำหนดให้นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนมีอาจชี้แนะแนวทางหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนของท้องถิ่นต่อหน่วยการบริหารท้องถิ่นเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการอนุมัติ อำนาจในการอนุมัติเป็นของหน่วยการบริหารท้องถิ่นเอง
2) อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาลกรุงลอนดอน ที่สำคัญคือ
2.1) ดำเนินการตรวจสอบและถ่วงดุล (provides a check and a balance) นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน การที่สภาเทศบาลกรุงลอนดอนทำการตรวจสอบนายกเทศมนตรีทำให้นายกเทศมนตรีต้อง
2.1.1) ปรึกษาสภาเทศบาลกรุงลอนดอนในขณะจัดเตรียมกลยุทธ์
2.1.2) แจ้งการตัดสินใจทั้งหลายของนายกเทศมนตรีต่อสภาเทศบาลกรุงลอนดอนพร้อมเหตุผล
2.1.3) ยื่นงบประมาณของเทศบาลกรุงลอนดอนต่อสภาเทศบาลกรุงลอนดอนเพื่อให้ความเห็นชอบ และ
2.1.4) เข้าร่วมประชุมสภาเทศบาลกรุงลอนดอนทุกปี โดยนายกเทศมนตรีและบุคลากรของฝ่ายบริหารอาจถูกสภาเทศบาลกรุงลอนดอนสอบถามการปฏิบัติงานได้
2.2) มีอำนาจปรับปรุงแก้ไขหรือแปรญัตติ (powers to amend) งบประมาณของนายกเทศมนตรี โดยใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอน
2.3) แต่งตั้ง (appoints)หัวหน้าหรือผู้อำนวยการของเทศบาลกรุงลอนดอน (GLAs Chief Executive) เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ (Monitoring Officer) หัวหน้าฝ่ายการเงิน (Chief Finance Officer) และบุคลากรอื่นของเทศบาลกรุงลอนดอน
2.4) สืบสวนเรื่องสำคัญทั้งหลาย (investigates issues) ที่เกี่ยวกับกรุงลอนดอน และทำข้อเสนอต่อบุคคลที่เหมาะสม
2.5) ตรวจสอบการดำเนินงานของนายกเทศมนตรีอย่างละเอียด (scru-tinises) และทำข้อเสนอต่อนายกเทศมนตรี
2.6) มีอำนาจเชิญนายกเทศมนตรี เจ้าหน้าที่อาวุโสของเทศบาลกรุงลอนดอน และของหน่วยปฏิบัติงาน ตลอดจนหน่วยงานหรือบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับเทศบาลกรุงลอนดอน มาประชุมหรือชี้แจง (has a power to summon)
2.7) จัดหาบุคลากรเพื่อดำรงตำแหน่ง (provides members to serve on) ในหน่วยงานตำรวจมหานครของกรุงลอนดอน (the Metropolitan Police Authority) หน่วยงานวางแผนเกี่ยวกับเพลิงไหม้และกรณีฉุกเฉินของกรุงลอนดอน (the London Fire and Emergency Planning Authority) และหน่วยงานพัฒนาของลอนดอน (the London Development Agency)
2.8) จัดหารองนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน (provides the Deputy Mayor) เพื่อให้นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนเป็นผู้เลือก
3.13 โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของเทศบาล (City of London ) และ เทศบาลต่าง ๆ (London Boroughs) จากการพิจารณาศึกษาที่ผ่านมาทำให้เห็นได้ว่า เทศบาลนครลอนดอนมีจำนวน 1 แห่ง และเทศบาลต่าง ๆ มีจำนวน 32 แห่ง ทั้งหมดนี้เป็นหน่วยงานบริหารที่สำคัญในพื้นที่เมืองหลวง ซึ่งล้วนอยู่ในระดับล่าง (low tier) เหมือนกัน
3.13.1 โครงสร้าง เทศบาลนครลอนดอน และเทศบาลต่าง ๆ ล้วนมีโครงสร้างเหมือนกับหน่วยการบริหารท้องถิ่นอื่น ๆ ของอังกฤษ คือ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1) นายกเทศมนตรีหรือประธานสภาเทศบาล เฉพาะเทศบาลนครลอนดอน เรียกว่า นายกเทศมนตรีเทศบาลนครลอนดอน หรือ Lord Mayor มี 1 คน ส่วนเทศบาลต่าง ๆ หรือ London Boroughs เรียกว่า นายกเทศมนตรี หรือ ประธานสภาเทศบาล ซึ่งมี 32 ตน
มีข้อสังเกต 2 ประการ
ประการแรก โดยทั่วไปอังกฤษให้ความสำคัญกับสภา (council) มากโดยกำหนดให้สภาเป็นหน่วยการบริหาร (ruling หรือ governing body) ซึ่งมีอำนาจในการบริหารงานหน่วยงานบริหารท้องถิ่นหรือเทศบาล บางแห่งถึงกับเรียกนายกเทศมนตรีว่าประธานสภาเทศบาล เนื่องจากนายยกเทศมนตรีดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาเทศบาลและมาจากสภาซึ่งหมายความว่านายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม โดยหลังจากที่สมาชิกสภาท้องถิ่นได้รับเลือกตั้งโดยตรงมาจากประชาชนในท้องถิ่นแล้วสมาชิกสภานั้นก็จะเลือกกันเองคนหนึ่งให้ดำรงตำแหนงเป็นนายกเทศมนตรี แต่มีข้อยกเว้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในท้องถิ่น ในกรณีเช่น นายกเทศมนตรีจะไม่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาเทศบาล ทำให้ไม่เรียกนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงนั้นว่าประธานสภาเทศบาล เห็นด้วยอย่างกรณีนี้ได้จากนายกเทศมนตรีของกรุงลอนดอน (Mayor of London) ซึ่งเป็นการปกครองท้องถิ่นในระดับบน ที่แบ่งเป็นฝ่ายบริหารซึ่งมีนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนเป็นหัวหน้า และฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีประธานสภาเทศบาลเป็นหัวหน้า กล่าวได้ว่า การที่นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมและบางครั้งเรียกว่า ประธานสภาเทศบาลนั้น สอดคล้องกับการบริหารและการเมืองในระดับชาติตามระบบรัฐสภา (parliamentary system) ขณะที่นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงสอดคล้องกับระบบประธานาธิบดี (presidential system) ซึ่งกำหนดให้นายกเทศมนตรีเข้มแข็งและมีอำนาจมากกว่าระบบแรก
อีกประการหนึ่ง หน่วยการบริหารท้องถิ่นที่เรียกนายกเทศมนตรีว่า ประธานสภาเทศบาล ส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยการบริหารท้องถิ่นขนาดเล็ก และ/หรือ ยังไม่มีลักษณะของชุมชนเมืองอย่างแท้จริง แต่มีข้อยกเว้น คือ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครลอนดอน เรียกว่า Lord Mayor แม้เทศบาลนครลอนดอนมีขนาดเล็กครอบคลุมพื้นที่เพียง 1 ตารางไมล์ และมีประชากรอยู่อย่างถาวรประมาณ 5,000 คน อีกทั้ง Lord Mayor ไม่มีอำนาจบริหารเทศบาลนครลอนดอนก็ตาม แต่ก็ใช้คำว่า Lord Mayor ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ที่เทศบาลนครลอนดอนมีความสำคัญยิ่งสืบต่อกันมาช้านาน อำนาจบริหารเทศบาลนครลอนดอนนั้นอยู่ที่สภา หรือ the Court of Common Council โดยอยู่ที่สมาชิกสภาเทศบาลนครลอนดอน 2 ประเภท คือ aldermen และ councilmen บริหารงานผ่านทางคณะกรรมการต่าง ๆ (committees) แล้วไปยังหน่วยงานต่าง ๆ (departments) ของเทศบาลนครลอนดอน (ดังจะได้อธิบายต่อไปในหัวข้อ รูปแบบของหน่วยการบริหารงานของเทศบาลนครลอนดอน ที่เรียกว่า the Corporation of London)
2) สภาเทศบาล เฉพาะสภาเทศบาลนครลอนดอน (the London City Council) มี 1 แห่ง หรือเรียกว่า Court of Common Council ทำหน้าที่เป็นหน่วยการบริหาร (ruling body) ของเทศบาลนครลอนดอน (city of London) มีสมาชิกสภาเทศบาล 2 ประเภท ได้แก่ aldermen และ councilmen ส่วนสภาเทศบาลต่าง ๆ (the London Borough Councils) มี 32 แห่ง แต่ละแห่งมีสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งเรียกว่า Councillors ในเทศบาลต่าง ๆ จำนวน 32 แห่งนั้น ยังแบ่งย่อยเป็น Inter London Boroughs 13 แห่ง และ Outer London Boroughs 19 แห่ง โปรดดูภาพที่ 3.12 ประกอบ

ภาพที่ 3.12 หน่วยงานบริหารเมืองหลวงของอังกฤษ 2 ระดับ

3.13.2 อำนาจหน้าที่ แบ่งเป็น อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาลนครลอนดอนและเทศบาลต่าง ๆ (the London Borough Councils) และอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเทศบาลนครลอนดอน
1) อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาลนครลอนดอน และเทศบาลต่าง ๆ เทศบาลเหล่านี้ล้วนมีอำนาจหน้าที่ทั่วไปที่สำคัญคือ ให้การบริการแก่ประชาชนและปฏิบัติงานประจำในท้องถิ่น (localized and personal services) ซึ่งรวมอำนาจหน้าที่ข้างล่างนี้ไว้ด้วย
1.1) การให้บริการทางด้านสังคมแก่ประชาชน ซึ่งรวมทั้งการจัดการ สวัสดิการให้แก่เด็ก คนชรา คนพิการ หรือคนทุพพลภาพ
1.2) การวางแผนของท้องถิ่น
1.3) ทำทะเบียนราษฎร์ ทะเบียนเกิด ตาย แต่งงาน
1.4) การจัดการศึกษาบางส่วน เฉพาะในพื้นที่ Outer London เท่านั้น
1.5) การขนส่งสาธารณะ และการก่อสร้างถนนบางส่วน
1.6) การควบคุมดูแลและตรวจสอบการชั่ง ตวง วัด
1.7) การให้บริการจัดหางานให้แก่วัยรุ่น
1.8) การให้บริการห้องสมุด
1.9) พิพิธภัณฑ์และห้องแสดงศิลปะ
1.10) การคุ้มครองผู้บริโภค (consumer protection)
1.11) การควบคุมมลพิษ (pollution control)
1.12) การจัดเก็บขยะ (refuse collection)
1.13) การจัดสวนสาธารณะ
1.14) การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาและยามว่าง (sports and leisure facilities) เป็นต้น
1.15) การป้องกันอัคคีภัย
1.16) การควบคุมกิจการตำรวจ เฉพาะเทศบาลนครลอนดอนเท่านั้น เทศบาลต่าง ๆ ไม่มีอำนาจนี้ ส่วนการให้บริการของหน่วยงานตำรวจมหานครของกรุงลอนดอน (Londons Metropolitan Police Service) อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (Home Secretary)
2) อำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีนครลอนดอน (Lord Mayor) Lord Mayor เป็นผู้มีเกียรติยศชื่อเสียง เป็นตัวแทนสัญลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีความสำคัญเพราะเป็นหัวใจของอังกฤษ ไม่มีอำนาจบริหาร อำนาจบริหารอยู่ที่สภา ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง ต้องว่าตัวเป็นกลางทางการเมืองและไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาเทศบาลนครลอนดอน
Lord Mayor มีอำนาจหน้าที่สำคัญคือ ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม ควบคุมการประชุม ปฏิบัติงานพิธี มีบทบาทในการสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่นมีจิตใจรักและหวงแหนท้องถิ่น เป็นผู้ประสานประโยชน์ของกลุ่มและพรรคการเมืองต่าง ๆ รวมตลอดไปถึงการให้คำแนะนำประธานคณะกรรมการต่าง ๆ เมื่อได้รับการร้องขอ การปฏิบัติงานของ Lord Mayor มีลักษณะเป็นงานอาสาสมัคร โดยมิได้ทำงานเต็มเวลา ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2000 Michael Oliver ซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลนครลอนดอนประเภท alderman ได้รับเลือกเป็น Lord Mayor คนที่ 674 ของเทศบาลนครลอนดอน ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 คือ Sir David Howard Lord Mayor นอกจากดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าของการบริหารรูปแบบนี้ (Head of the Corporation of London) แล้ว การมีฐานะเป็นรัฐมนตรีคนหนึ่ง (a cabinet minister) เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ Lord Mayor จะมีฐานะเป็นเอกอัครราชทูต (ambassador) และไม่ว่าจะอยู่ในอังกฤษหรือนอกประเทศ Lord Mayor มีฐานะเป็นผู้นำของศูนย์กลางการเงินระหว่างประเทศอีกด้วย พร้อมกันนั้น ยังเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาของเทศบาลนครลอนดอน (Chief Magistrate of the City of London) เป็นผู้บังคับการเมืองท่าลอนดอน (Admiral of the port of London) เป็นประธานกองทัพปกป้องรักษาดินแดนและอาสาสมัครกองหนุนของเทศบาลนครลอนดอน (President of the City of London Territorial Army and Volunteer Reserve) องค์การเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยของเทศบาลนครลอนดอน (Chancellor of City University) รวมทั้งเป็นประธานหรือผู้อุปถัมภ์องค์การพลเรือนและองค์การการกุศล ในช่วงดำรงตำแหน่ง 1 ปี Lord Mayor ไม่เพียงจะทำกิจกรรมสำคัญที่รวมทั้งกล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับกิจกรรมทางการเงินและการกุศลประมาณ 600 เรื่องเพื่อสนับสนุนเทศบาลนครลอนดอนเท่านั้น แต่จะใช้เวลาระหว่าง 50 ถึง 80 วันเดินทางไปต่างประเทศเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมของเทศบาลนครลอนดอนและของสหราชอาณาจักรอีกด้วย
3.14 ดังได้กล่าวไว้แล้วว่า เทศบาลนครลอนดอน (City of London) มีรูปแบบของหน่วยการบริหารงานท้องถิ่นที่เรียกว่า the Corporation of the City of London หรือ เรียกว่า The Corporation of London หน่วยการบริหารงานนี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากเทศบาลต่าง ๆ เป็นหน่วยงานเก่าแก่ที่บริหารงานโดยไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของพรรคการเมืองพร้อมกับมี the Court of Common Council เป็นหน่วยการบริหาร (ruling หรือ governing body) ของรูปแบบนี้ ซึ่งก็เท่ากับเป็นหน่วยการบริหารของเทศบาลนครลอนดอนนั้นเอง หน่วยการบริหารนี้ประกอบด้วย
1) มีนายกเทศมนตรีเทศบาลนครลอนดอน หรือที่เรียกว่า Lord Mayor จำนวน 1 คน อยู่ในตำแหน่งวาระละ 1 ปี แต่อาจได้รับเลือกเข้ามาใหม่ได้อีก โดยมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม หมายความว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ในเขตเลือกตั้ง 25 เขต ของเทศบาลนครลอนดอนที่จัดแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ (City’s 25 geographical wards) ลงคะแนนเสียงเลือกสมาชิกสภาเทศบาลนครลอนดอน ซึ่งมี 2 ประเภท คือ aldermen และ Common Councilmen จากนั้น สมาชิกสภาเทศบาลลอนดอนดังกล่าวจึงเลือกกันเองคนหนึ่งเป็น Lord Mayor หรืออาจเลือกจากคนภายนอกก็ได้ Lord Mayor แม้เป็นหัวหน้าของหน่วยการบริหารของเทศบาลนครลอนดอนที่เป็นรูปแบบ the Corporation of London แต่ไม่มีอำนาจบริหาร อำนาจบริหารอยู่ที่สมาชิกสภาเทศบาลนครลอนดอน 2 ประเภท สำหรับอำนาจหน้าที่ได้กล่าวไว้แล้ว
2) มีสมาชิกสภาเทศบาลนครลอนดอนที่เรียกว่า aldermen จำนวน 25 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ในเขตเลือกตั้ง 25 เขต (wards) โดยแต่ละเขตเลือก aldermen 1 คน เป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้งของตน ในแต่ละปี aldermen จะประชุมกันทุกวันอังคารรวม 9 ครั้ง โดย Lord Mayor เป็นผู้เรียกประชุมและเป็นประธานในที่ประชุม การปฏิบัติงานของ aldermen เช่นเดียวกับ Lord Mayor เป็นลักษณะของงานอาสาสมัคร มิใช่ปฏิบัติงานเต็มเวลา เมื่อได้รับเลือกเข้ามาแล้ว aldermen คนหนึ่งจะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาของเทศบาลนครลอนดอน (a Justice of the Peace for the City of London) และบางคนจะปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการของสภาเทศบาล (Common Council committees) โดยเป็นผู้บริหารและเป็นผู้จัดการดูแลทรัพย์สินหรือกิจการของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และกองทุนการกุศล ที่เกี่ยวข้องกับเทศบาลนครลอนดอน นอกจากนี้ aldermen ยังมีอำนาจเลือก Sheriffs จำนวน 2 คน ซึ่งเสนอชื่อโดยเทศบาลนครลอนดอนและอยู่ในตำแหน่งวาระละ 1 ปี
3) มีสมาชิกสภาเทศบาลนครลอนดอนที่เรียกว่า Common Councilmen จำนวน 112 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ในเขตเลือกตั้ง 25 เขตของเทศบาลนครลอนดอน (elected by the wards of the City) ในแต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกได้ 4-12 คน จำนวนของ Common Councilmen ในแต่ละเขตเลือกตั้งขึ้นอยู่กับจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งนั้น มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี การเลือกตั้งจัดให้มีขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกปีเมื่อจำนวนของ Common Councilmen ในแต่ละเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้นหรือเมื่อเลือกตั้งซ่อม ทั้งนี้ เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งของเทศบาลนครลอนดอน ที่สำคัญคือ City of London ((Ward Election) Bill ในปี ค.ศ. 1997 มี Common Councilmen จำนวน 132 คน ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 มีจำนวน 154 คน
คุณสมบัติสำคัญของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น Common Councilmen คือ เป็นชายหรือหญิง อาศัยอยู่ในลอนดอน เป็นอิสระไม่สังกัดพรรคการเมือง มาจากภูมิหลังที่แตกต่างกันเพื่อตอบสนองการให้บริการประชาชนได้อย่างหลากหลาย เป็นต้นว่า นักบัญชี นักการธนาคาร และนักกฎหมาย Common Councilmen ประชุมกันทุก 4 สัปดาห์ โดยปฏิบัติงานผ่านทางคณะกรรมการต่าง ๆ (committees) เหมือนกับหน่วยการบริหารท้องถิ่นอื่น แต่มีลักษณะสำคัญคือไม่สังกัดพรรคการเมือง ภารกิจหลักมุ่งพิจารณารายงานที่จัดทำโดยคณะกรรมการรวมทั้งคำถามและข้อเสนนออย่างเป็นทางการของสมาชิกสภาเทศบาลนครลอนดอน The Corporation of London เป็นหน่วยการบริหารท้องถิ่นที่มีพัฒนาการมายาวนาน มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยสมาชิกและคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง (a structure elected Members and Committees) โดยทำหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมดูแลการบริหารงานของหน่วยงานต่าง ๆ (departments) การบริหารรูปแบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งธำรงรักษาและส่งเสริมสถานะของเทศบาลนครลอนดอนให้เป็นเมืองชั้นนำและศูนย์กลางของการเงินและธุรกิจระหว่างประเทศโดยใช้นโยบายและมาตรฐานสูงในการให้บริการพร้อมกับเน้นการขยายกิจกรรมพัฒนาทั้งหลายเพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัย นักธุรกิจ คนงาน ตลอดจนนักท่องเที่ยวหรือผู้เข้ามาทำงานในพื้นที่1 ตารางไมล์ของเทศบาลนครลอนดอน รวมทั้งคาดหวังที่จะจัดสรรผลประโยชน์บุคคลดังกล่าวในอนาคตอีกด้วย ตัวอย่างกิจกรรมให้บริการที่การบริหารรูปแบบนี้จัดให้ประชาชน เช่น การศึกษา ที่อยู่อาศัย ความสะอาด ความปลอดภัย และ การบริการด้านสังคม ทั้งนี้โดยผ่านหน่วยงานต่าง ๆ ของเทศบาลนครลอนดอน เป็นต้นว่า City of London Police, City of London School, City of London Magistrates Court, Environmental Services Department, Libraries and Art Galleries Department, Museum of London, Open Spaces Department, และ Planning and Transportation Department
อำนาจหน้าที่ของ the Corporation of London คล้ายคลึงกับอำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาลต่าง ๆ (borough councils) แต่มีเหตุผลทางประวัติศาสตร์ที่จะต้องรักษาอำนาจบางอย่างไว้ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำนาจในการควบคุมดูแลหน่วยงานตำรวจของเทศบาลนครลอนดอน (City of London Police) อำนาจในการควบคุมดูแลสุขภาพ รวมทั้งการควบคุมสุขภาพของสัตว์นำเข้าจากต่างประเทศ โปรดดูภาพที่ 3.13 ประกอบ ภาพที่ 3.13 รูปแบบหน่วยการบริหารงานของเทศบาลนครลอนดอน ที่เรียกว่า The Corporation of London ในปี ค.ศ. 2001


3.15 เป็นที่น่าสังเกตว่า อำนาจหน้าที่ของเทศบาลกรุงลอนดอน (the Greater London Authority) ได้คำนึงถึงการทำกิจกรรมหรือการบริหารงานและการควบคุมดูแลที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นแบบเดียวกัน (uniformity of action) ทั่วพื้นที่ของกรุงลอนดอน (the Greater London area) แต่อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาลนครลอนดอน (the London City Council) หรือ the Court of Common Council และสภาเทศบาลต่าง ๆ (the London Borough Councils) ไม่ได้คำนึงถึงการบริหารงานในภาพรวม (large-scale administration) หรือการควบคุมดูแลที่ต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือเป็นแบบเดียวกัน (unified control) แต่ละสภาเทศบาลในระดับล่างดังกล่าวรับผิดชอบในพื้นที่ของตนเป็นหลัก
3.16 กฎหมายการบริหารท้องถิ่น ปี ค.ศ. 1972 กำหนดให้โครงสร้างของหน่วยงานบริหารเมืองหลวงและหน่วยงานบริหารท้องถิ่นหรือเทศบาลอื่น ๆ ในระดับล่างของอังกฤษ ประกอบด้วย
3.16.1 ประธานสภาเทศบาล (chairman) หรือ นายกเทศมนตรี (mayor) หรือนายกเทศมนตรีเทศบาลนครลอนดอน (Lord Mayor) จำนวน 1 คน มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม และอยู่ในตำแหน่งวาระละ 1 ปี ยกเว้น นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน (a Mayor of London) ของ the Greater London Authority ซึ่งอยู่ในระดับบน มาจากการเลือกตั้งทางตรง อยู่ในวาระ 4 ปี และมีอำนาจบริหาร
คำว่า ประธานสภาเทศบาล หรือ นายกเทศมนตรี เป็นคำเรียกหัวหน้าฝ่ายบริหารของเทศบาล โดยหน่วยการบริหารท้องถิ่นในระดับ county, district หรือ borough, และ parish ทั้งในพื้นที่มหานครและนอกพื้นที่มหานคร ส่วนใหญ่จะใช้คำว่า ประธานสภาเทศบาล แต่ในระดับ district หรือระดับ borough ที่มีลักษณะของชุมชนเมือง เช่น London Boroughs หรือ Metropolitan Districts จะใช้คำว่า นายกเทศมนตรี สำหรับเทศบาลนครลอนดอน ใช้คำว่า Lord Mayor
3.16.2 รองประธานสภาเทศบาล (vice-chairman) จำนวน 1 คน มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม และอยู่ในวาระ 1 ปี
3.16.3 สมาชิกสภาเทศบาล (Councillors) เป็นคำเรียกสมาชิกสภาเทศบาลทั่วไป (ยกเว้น สมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอนในระดับบน จำนวน 25 คน เรียกว่า London Assembly Members ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงลอนดอนในเวลาเดียวกับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน) สมาชิกสภาเทศบาลในแต่ละหน่วยการบริหารท้องถิ่นหรือหน่วยงานบริหารเมืองหลวงเป็นผู้เลือกประธานสภาเทศบาล หรือนายกเทศมนตรี หรือ Lord Mayor จำนวน 1 คน รวมทั้งเลือกรองประธานสภาเทศบาล จำนวน 1 คน ทุก ๆ 1 ปี สมาชิกสภาเทศบาลดังกล่าวมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เฉพาะในเขตเทศบาลหรือในท้องถิ่นนั้น ๆ ผู้สมัครต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติที่สำคัญ เช่น เป็นชาวอังกฤษที่มีอายุมากกว่า 21 ปี อาศัยหรือทำงานในท้องถิ่น หรือเคยมีความเชื่อมโยงกับท้องถิ่นนั้น ต้องไม่เป็นข้าราชการที่รับเงินเดือนประจำ ไม่เคยต้องถูกพิพากษาให้ล้มละลาย หรือไม่เป็นผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งภายใน 5 ปี เป็นต้น สมาชิกสภาเทศบาลมิใช่นักบริหารมืออาชีพที่ทำงานเต็มเวลา แต่เป็นบุคคลที่อาสาสมัครเข้ามาบริหารงานเทศบาลโดยทำงานไม่เต็มเวลา (part-time amateurs) เงินเดือนที่ได้รับมีจำนวนน้อยเพื่อเพียงพอแก่การดำรงชีพ รวมทั้งได้รับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่มาก ผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน บางคนต้องการเข้ามามีส่วนรวมในการเมืองระดับท้องถิ่น บางคนเห็นว่าการเป็นสมาชิกสภาเทศบาลจะเป็นพื้นฐานสำหรับการก้าวไปสู่การเมืองในระดับชาติต่อไปและบางคนเข้ามาเพื่อต้องการยกระดับฐานะทางสังคมของตนเอง
สำหรับจำนวนของสมาชิกสภาเทศบาลนั้น โดยทั่วไปในระดับ county (ยกเว้น the Greater London Authority) คือในแต่ละ County Council จะมีสมาชิกสภาเทศบาลจำนวนระหว่าง 60-100 คน ส่วนในระดับ district หรือ borough ซึ่งครอบคลุมทั้งเทศบาลนครลอนดอน (City of London) และแต่ละ District Council มีสมาชิกสภาเทศบาลระหว่าง 30-80 คน ทุกวันนี้ ในระดับบน สมาชิกสภาเทศบาลของ the Greater London Authority ซึ่งเรียกว่า London Assembly Members, และในระดับล่างสมาชิกสภาเทศบาลของ the County Council, the London Borough Council รวมทั้ง the Non-Metropolitan District Councils ล้วนมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด (en bloc) พร้อมกันนี้ มีตัวเลขบางส่วนที่ได้จากการ
สุ่มตัวอย่างลักษณะทั่วไปของสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 4,000 คน ในปี ค.ศ.1964 พบว่าสมาชิกสภาเทศบาลร้อยล่ะ 12 เป็นผู้หญิง ในส่วนของสมาชิกสภาเทศบาลที่เป็นชาย มีร้อยล่ะ 20 เกษียณหรือพ้นจากการทำงานแล้ว (retired) มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี อาชีพส่วนใหญ่ของสมาชิกสภาเทศบาล คือ นายจ้าง ผู้จัดการ นักวิชาชีพ และชาวไร่ชาวนา อายุเฉลี่ยของสมาชิกสภาเทศบาลคือ 55 ปี หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1977 รายงายเอกสารของโรบินสัน(the Robinson Report) ยืนยันว่าลักษณะทั่วไปของสมาชิกสภาเทศบาลส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเป็นชายวัยกลางคน และเป็นคนชั้นกลางอยู่ในสภาเทศบาลเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าสัดส่วนของสมาชิกสภาเทศบาลที่เป็นหญิงจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็นร้อยล่ะ 17 ก็ตาม สำหรับจำนวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นนั้น มีน้อยครั้งที่ผู้ไปใช้สิทธิมีถึงร้อยล่ะ 40 หรือร้อยละ 50 โดยในบางครั้งไปใช้สิทธิต่ำกว่าร้อยล่ะ 30
3.17 กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาเทศบาลต่างๆในระดับล่างของอังกฤษ ไว้ดังนี้
3.17.1 การเลือกตั้งกำหนดให้มีขึ้นในวันพฤหัสบดีแรกของเดือนพฤษภาคม
3.17.2 สมาชิกสภาเทศบาลทุกคนที่อยู่ใน the County Councils,สภาเทศบาลลอนดอน(the London City Council),London Borough Councils และ Parish Councils ต้องมาจากการเลือกตั้งทุก 4ปี โดยในทุก 4ปี ต้องจำให้มีการเลือกตั้งทั่วไป(a general election)ขึ้น
3.17.3 แต่เฉพาะ Metropolitan District Councils ต้องจักให้มีการเลือกตั้งทุก 1ปี (ยกเว้นปีที่ซ้ำกับการเลือกตั้งของ County Councils) โดย 1 ใน 3 ของสมาชิกสภาเทศบาลจะต้องหมุนเวียนออกจาตำแหน่งทุก 1 ปี
3.17.4 เฉพาะ Non-Metropolitan District Councils อาจเลือกใช้หลักเกณฑ์ที่กล่าวไว้ในข้อ 3.17.2 คือเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลทั้งนั้นทุกคนทุก 4 ปีหรือเลือกหลักเกฯฑ์ในข้อ 3.17.3 ที่ให้สมาชิกสภาเทศบาลทุกคนมากจากการเลือกตั้งทุก 1 ปี ดังกล่าวก็ได้
3.18 มีข้อสังเกตว่า หน่วยงานบริหารท้องถิ่นอื่นๆ ของอังกฤษทั้งในพื้นที่มหานครและนอกพื้นที่มหานครยกเว้นหน่วยงานบริหารในพื้นที่เมืองหลวง โดยปรกติแล้วระดับบนจะมีอำนาจหน้าที่หรือมีบทบาทหลัก (major functions) ในการบริหารงานมากและมากกว่าระดับล่าง ตัวอย่าง เช่น ระดับบนมีบทบาทในการจัดการการศึกษา การวางแผน การสร้างทางด่วนสายหลัก และการบริการสังคมแก่ประชาชน ส่วนระดับล่างมีบทบาทรอง (minor functions) ในการบริหาร เช่น การจัดที่อยู่อาศัย ตลอดจนการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประชาชน แต่ในอดีตหน่วยงานบริหารเมืองหลวงในระดับบนเดิม คือ the Greater London หรือ the Greater London Councils ซึ่งถูกยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1985 แล้วนั้น มีอำนาจหน้าที่หรือบทบาทในการบริหารงานน้อยกว่าหน่วยงานในระดับล่าง คือ เทศบาลนครลอนดอน และ London Boroughs หรือสภาเทศบาลนครลอนดอน และ London Borough Councils ต่อมาหลังจากตั้ง the Greater London Authority ในระดับบนซึ่งประกอบด้วยนายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอน (A Major of London) ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและสภาเทศบาลกรุงลอนดอน (the London Assembly)ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลกรุงลอนดอน จำนวน 25 คน ในปี ค.ศ. 2000 แล้ว อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานบริหารเมืองหลวงในระดับบนดังกล่าวมีมากกว่าระดับล่าง
3.19 ลักษณะสำคัญของการบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่นในอังกฤษ คือ อำนาจหน้าที่ในการบริหารงานเทศบาลไม่ได้อยู่ที่ประธานสภาเทศบาล หรือ นายกเทศมนตรี หรือ Lord Mayor (ยกเว้น นายกเทศมนตรีเทศบาลกรุงลอนดอนซึ่งมากจากการเลือกตั้งโดยตรงและมีอำนาจบริหาร) แต่สมาชิกสภาเทศบาลหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น ซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรงเป็นผู้ที่มีและใช้อำนาจบริหารเทศบาลหรือท้องถิ่นโดยตรง และใช้ควบคู่ไปกับอำนาจนิติบัญญัติของเทศบาลหรือท้องถิ่นด้วย พร้อมกันนั้น เพื่อให้การบริหารงานเทศบาลมีประสิทธิภาพ สภาเทศบาลจึงแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ (committees) ที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาล และบุคคลภายนอกบางส่วนที่เป็นผู้ชำนาญหรือผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เพื่อมาทำหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาล ซึ่งตามปรกติแล้ว สมาชิกสภาเทศบาลคนหนึ่งๆ จะเข้าไปตำแหน่งและปฏิบัติงานอยู่ในคณะกรรมการมากกว่าหนึ่งชุด ส่วนบุคคลภายนอกที่เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการในชุดต่างๆนั้นจะดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการได้ทุกชุด ยกเว้นคณะกรรมการการเงิน (the Finance Committee) อย่างไรก็ดีแม้สมาชิกสภาเทศบาลดังกล่าวจะมีอำนาจในการบริหารงานเทศบาล แต่อำนาจที่แท้จริงและมากที่สุดรวมอยู่ที่หัวหน้ากลุ่มการเมืองที่คุมเสียงส่วนมาก และอำนาจบางส่วนอยู่ที่ประธานคณะกรรมการชุดสามัย ๆ (the chairmen of the key committees) ดังกล่าวเช่น คณะกรรมการการศึกษา คณะกรรมการการเงิน คณะกรรมการที่อยู่อาศัย และคณะกรรมการบริการสังคม เป็นต้น ในสภาเทศบาลส่วนใหญ่จะมีคณะกรรมการนโยบายและทรัพยากร (a Policy and Resources Committee) หรือที่เรียกคล้ายกันจำนวน 1 ชุด คณะกรรมการชุดนี้จะมีประธานคณะกรรมการชุดสามัญ ๆ รวมอยู่ด้วย บทบาทหน้าที่คณะกรรมการชุดนี้อาจเปรียบได้กับคณะรัฐมนตรี (cabinet) ของหน่วยงานการบริหารท้องถิ่น โปรดดูที่ภาพที่ 3.14
ภาพที่ 3.14 ความสัมพันธ์ของเทศบาลกรุงลอนดอนในระดับบน กับสภาเทศบาลในระดับล่าง

3.20 เนื่องมาจากสมาชิกสภาเทศบาลมิใช่นักบริหารมืออาชีพที่บริหารงานเต็มเวลาดังกล่าวแล้ว สมาชิกสภาเทศบาลจึงมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่เทศบาล(local authority officials หรือ officials) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาปฏิบัติงานประจำ (Day-to-day work) ได้ด้วย เช่น แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้ดำรงตำแหน่ง Chief Executive, Treasurer, Librarians, และ Architects เป็นต้น เจ้าหน้าที่ดังกล่าวนี้มีบทบาทเป็นผู้ช่วยสมาชิกสภาเทศบาลทำนองเดียวกับที่ข้าราชการประจำเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่เทศบาลต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมืองและเป็นผู้ปฏิบัติตามนโยบายของสภาเทศบาลซึ่งสมาชกสภาเทศบาลเป็นผู้กำหนดแต่อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่เทศบาลที่ดำรงตำแหน่งสำคัญเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพของตน เช่น Chief Education Officers ส่วนใหญ่เคยเป็นครู อาจารย์มาก่อน หรือ Director of Social Services ส่วนใหญ่เคยเป็นนักสังคมสงเคราะห์มาก่อน หรือ Chief Planners ส่วนใหญ่เคยเป็นนักวางแผน นักสำรวจ หรือสถาปนิกมาก่อน เหล่านี้ในบางครั้งได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งและมิใช่บุคคลที่มีอาชีพเป็นนักบริหาร หรือเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เหมือนกับเจ้าหน้าที่เทศบาลดังกล่าว เป็นที่น่าสังเกตว่า กฎหมายการบริหารท้องถิ่น ค.ศ. 1972 ได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานบริหารเมืองหลวงมอบอำนาจหน้าที่ให้กับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ (Subcommittees) และเจ้าหน้าที่เทศบาลเพิ่มมากขึ้น
3.21 หากเชื่อว่า เจ้าหน้าที่เทศบาลเป็นตัวแทนของข้าราชการประจำได้ฉันใด สมาชิกสภาเทศบาลก็เป็นตัวแทนของพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัดได้ฉันนั้น ที่กล่าวเช่นนี้เพราะโดยทั่วไปแล้ว ผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลที่ได้เข้าไปบริหารงานในหน่วยงานบริหารเมืองหลวงและหน่วยการบริหารท้องถิ่นจะได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง เช่น พรรคแรงงาน (Labor Party) พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative party) และพรรคเสรีนิยม (Liberal Party) เมื่อผู้สมัครที่พรรคการเมืองสนับสนุนได้รับเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่สนับสนุนก็จะเข้าไปมีส่วนในการควบคุมดูแลหน่วยงานบริหารเมืองหลวงและหน่วยการบริหารท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาเทศบาลและคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่สภาเทศบาลจัดตั้งขึ้น การมีส่วนควบคุมดูแลของพรรคการเมืองส่วนใหญ่จะผ่านทางผู้สมัครที่พรรคการเมืองสนับสนุนและได้รับเลือกตั้งนั้นโดยสมาชิกสภาเทศบาลแต่ละคนจะเป็นตัวแทนหรือเป็นปากเสียงให้กับพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัด นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ในเทศบาลบางแห่งพรรคการเมืองที่สนับสนุนได้เข้าไปมีส่วนในการแต่งตั้งประธานสภาเทศบาล หรือนายกเทศมนตรี หรือ Lord Mayer รวมทั้งรองประธานสภาเทศบาลด้วย ดังนั้น การแข่งขันของพรรคการเมืองเพื่อช่วยเหลือผู้สมัครที่สังกัดจึงมีมาก โดยเฉพาะในเทศบาลกรุงลอนดอน กระนั้นก็ตาม พรรคการเมืองก็มีส่วนช่วยสนับสนุนการเมืองในระดับท้องถิ่นด้วย เช่น ช่วยให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมือง เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้สมัครกับประชาชน ประสานผลประโยชน์ระหว่างรัฐบาลระดับท้องถิ่นกับรัฐบาลระดับชาติ พร้อมกับช่วยให้การบริหารของรัฐบาลในท้องถิ่นเป็นระบบมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม มีผู้สมัครอิสระบางส่วน (Independents) ที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองและได้รับเลือกตั้งเข้ามาด้วย
3.22 อำนาจหน้าที่ส่วนใหญ่ของหน่วยการบริหารท้องถิ่นส่วนใหญ่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายการบริหารท้องถิ่นปี ค.ศ. 1972 แต่กฎหมายนี้มิได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานบริหารท้องถิ่นในพื้นที่เมืองหลวง (Capital Area) ไว้ด้วย เป็นที่เข้าใจกันว่า อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานบริหารในพื้นที่เมืองหลวงเหมือนกับอำนาจาหน้าที่ของหน่วยการบริหารในพื้นที่มหานคร (Metropolitan area) เป็นส่วนใหญ่ อนึ่ง อำนาจหน้าที่ของหน่วยการบริหารท้องถิ่นซึ่งรวมทั้งหน่วยงานบริหารเมืองหลวงที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นเป็นแต่เพียงขอบเขตหรือแนวทางให้กับหน่วยการบริหารท้องถิ่นเท่านั้น มิได้หมายความว่า หน่วยการบริหารท้องถิ่นทุกหน่วยจะต้องดำเนินการตามที่ที่กฎหมายกำหนดระบุไว้ทุกประการ อาจไม่ดำเนินการตมอำนาจหน้าที่บางประการก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและประสบการณ์ซึ่งแตกต่างกันของแต่ละท้องถิ่นด้วย
สำหรับอำนาจหน้าที่ของหน่วยการบริหารท้องถิ่นในพื้นที่มหานคร (Metropolitan area) มีดังนี้
3.22.1 Counties หรือ Metropolitan Counties มีอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบหลักครอบคลุมในเรื่องอำนาจาหน้าที่ สภาเทศบาลกรุงลอนดอน มีอำนาจาหน้าที่สำคัญคือ การวางแผนและให้บริการหลัก (Central and Strategic Services) ซึ่งรวมทั้งอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้ด้วย
1) การวางแผนรวม (Large-Scale Planning)
2) การสร้างถนนและการจราจร (Roads and Traffic)
3) การให้บริหารดับเพลิง (Fire Service)
4) การจัดการเกี่ยวกับของเสีย (Waste Disposal)
5) การควบคุมกิจการตำรวจ (Police) ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 องค์กรที่ควบคุมการปฏิบัติงานตำรวจยังไม่เป็นระบบ ในแต่ละ Parish มีเจ้าหน้าที่ตำรวจของตนเองซึ่งได้รับการแต่งตั้งและควบคุมโดยผู้พิพากษา ซึ่งเรียกว่า Justice of the Peace ของท้องถิ่นนั้น บางท้องถิ่นมีการแต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในท้องถิ่นของตน แต่ส่วนใหญ่จะให้ผู้อาวุโสในท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุมดูแล จนกระทั้งปี ค.ศ. 1829 ได้มีการเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งกองกำลังตำรวจมหานคร (Metropolitan Police Force) ขึ้นเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ดูแลระเบียบวินัยและเงินเดือนของเจ้าพนักงานตำรวจของตนเองมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1839 และอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรับมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (Home Secretary) ต่อมาพระราชบัญญัติที่เรียกว่า The Municipal Corporation Act 1835 บัญญัติให้มีการจัดตั้งกองกำลังตำรวจซึ่งมีเงินเดือนประจำขึ้นในเขต Borough ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมาธิการชุดที่เรียกว่า Watch Committee ของสภา (Borough Council) นั้นๆจากนั้นในปี ค.ศ. 1856 ได้จัดตั้งกองกำลังที่มีลักษณะเดียวกันใน County ให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้พิพากษา ซึ่งเรียกว่า Justice of County และในปี ค.ศ. 1888 อำนาจการควบคุมดูแลตำรวจดังกล่าวได้ตกมาอยู่กับคณะอนุกรรมาธิการชุดที่เรียกว่า Standing Joint Committee ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากศาล วอร์เตอร์ เซสชัน (Quarter Session) และผู้แทนจาก County Council ทุกวันนี้ใน Borough และ County จะมีกองกำลังตำรวจของตนเอง คณะกรรมาธิการประกอบด้วยสมาชิกของ County Council จำนวน 2 ใน 3 และอีก 1 ใน 3 ได้แก่ ผู้พิพากษา (Magistrate) ซึ่งแต่งตั้งโดยศาลควอร์เตอร์ เซสชัน หรือมาจาก Magistrate ใน Borough แล้วแต่กรณี รัฐมานตรีว่าการกะทวงมหาดไทยไม่มีอำนาจควบคุมกองกำลังตำรวจใน Bough หรือCounty โดยตรงเหมือนอย่างตำรวจมหานครหรือในเทศบาลลอนดอน แต่มีอำนาจให้การอนุมัติเงินช่วยเหลือ ซึ่งกึ่งหนึ่งต้องอาศัยจากงบประมาณของรัฐบาลกลาง เงินช่วยเหลือดังกล่าวอาจถูกตัดหาก Borough หรือ County ใดไม่สามารถปรับปรุงกองกำลังตำรวจให้มีมาตรฐานตามที่กระทรวงมหาดไทยต้องการ นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังมีอำนาจออกกฎและระเบียบเกี่ยวกับเงินเดือนและการให้บริการประชาชนให้เป็นระเบียบเดียวกันด้วย
3.22.2 Districts หรือ Metropolitan Districts มีอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบหลักครอบคลุมในเรื่อง
1) การจัดการการศึกษา (Education)
2) การให้บริการห้องสมุด (Libraries)
3) พิพิธภัณฑ์และห้องแสดงศิลปะ (Museums & Art Galleries)
4) การจัดหางานให้แก่คนหนุ่มสาว (Youth Employment)
5) สวัสดิการแก่คนสูงอายุ (Old People’s Welfare)
6) การให้บริการด้านสังคม (Social Services)
7) การคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer Protection)
8) การควบคุมมลพิษ (Pollution Control)
9) การวางแผนงาน (Planning Applications)
10) ที่อยู่อาศัย (Housing)
11) การจัดเก็บขยะ (Refuse Collection)
12) พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น (Local Museums)
13) การสัดสวนสาธารณะ การจัดการด้านกีฬา และการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก (Parks, Sports & Leisure Facilities)
3.22.3 Parishes ในพื้นที่มหานคร มีอำนาจหน้าที่หลักในเรื่อง
1) ห้องประชุมของท้องถิ่น (Parish Halls)
2) ที่พักคนโดยสารรถประจำทาง (Bus Shelters)
3) สนามพักผ่อนหย่อนใจ (Playing Fields)
4) ทางเดิน (Footbaths)
5) การกำหนดเขต (Allotments)
3.23 กฎหมายการบริหารท้องถิ่นปี ค.ศ. 1972 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยการบริหารท้องถิ่นนอกพื้นที่มหานคร (Non-Metropolitan Areas) ไว้ดังนี้
3.23.1 Counties หรือ Non-Metropolitan Countiesมีอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบหลัก (Principal Responsibilities) ครอบคลุมในเรื่อง
1) การจัดการการศึกษา (Education)
2) การให้บริการด้านสังคมต่างๆ (The Personnel Social Services)
3) การให้บริการห้องสมุด (Libraries)
4) พิพิธภัณฑ์และห้องแสดงศิลปะ (Museums & Art Galleries)
5) การวางแผนโครงสร้างและการก่อสร้าง (Structure Plans)
6) ทางหลวงและที่จอดรถ (Highways and Par kings)
7) อุทยานแห่งชาติ (National Park)
8) การบริหารจัดการเรื่องขยะ (Refuse Disposal)
9) ควบคุมแร่และการย่อยหิน (Mineral and Gravel Extraction Control)
10) กิจการตำรวจ (Police)
11) การให้บริการดับเพลิงและกู้ภัย (Fire and Rescue Services)
12) การักษาความสงบเรียบร้อยฝ่ายพลเรือ (Civil Defenses)
13) การทำไร่และการดูแลผู้ถือครองที่ดินรายย่อย (County Farms and Small Holdings)
14) การให้บริการเรื่องชั่ง ตวง วัด และการคุ้มครองผู้บริโภค (Weights and Measures and Protection Services)
15) พลังงานสำหรับที่อยู่อาศัย เฉพาะส่วนที่หน่วยการบริหารท้องถิ่นอื่นไม่ได้ทำ (Residual Housing powers)
นอกจากที่กล่าวมานี้แล้ว ยังมีอำนาจหน้าที่รอง (Associated Involvement) โดยช่วยเหลือสนับสนุนและให้บริการต่างๆ ซึ่งครอบคลุมในเรื่อง
1)การพิจารณาคดีของศาล (Magistrates Courts)
2) การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่สอบสวน (Coroners)
3) การคุมประพฤติ (Probation)
4) ค่าธรรมเนียมจากการใช้บริหารของเจ้าหน้าที่ และการให้บริการจดทะเบียนการเกิด การแต่งงาน และการตาย (The rent officer and registration services)
3.23.2 Districts หรือ Non-Metropolitan Districts มีอำนาจหน้าที่หลักครอบคลุมในเรื่อง
1)ที่อยู่อาศัย (Housing)
2)การให้บริการด้านสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม (Environmental Health Services)
3)การจัดเก็บขยะ (Refuse Collection)
4) ควบคุมการวางแผนและพัฒนาในพื้นที่ (Local Plans and Development Control)
5) การออกใบอนุญาตและการจดทะเบียนต่างๆ (A variety of licensing and Registration Functions)
6) ตลาด (markets)
7)ค่าธรรมเนียม (land charges)
8)อุทยานหรือสวนธรรมชาติ (park)
9) สิ่งที่อำนวยความสะดวกทั่วไปในสถานพักผ่อนหย่อนใจ(recreation and leisure facilities generally)
10)พิพิธภัณฑ์และห้องแสดงศิลปะ(museums and art galleries)โดยร่วมมือกับ Counties
11)ที่จดรถ(car parks)
12)การกำหนดเขต(allotments)
13)ฌาปนกิจสถานและที่ฝั่งศพ(crematoria and cemeteries)
3.23.3 Parishes นอกพื้นที่มหานคร มีอำนาจหน้าที่หลักในเรื่อง
1)แสงสว่าง(lighting)
2)การกำหนดเขต (allotments)
3)การกำหนดพื้นที่สำหรับสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ(open spaces and recreation grounds)
4)หอนาฬิกาสาธารณะ(public clocks)
5)สถานที่จอดรถ(car parks)
จะเห็นได้ว่า อำนาจหน้าที่ของหน่วยการบริการท้องถิ่นของอังกฤษในแต่ละระดับเขียนไว้ไม่ซ้ำกัน สังเกตได้จากการใช้ศัพท์ที่เขียนไม่เหมือนกัน เช่น refuse disposal ในระดับ Non-Metropolitan Counties แตกต่างจากrefuse collection ในระดับ Non-Metropolitan Districts และnational park ใน Non-Metropolitan Counties แตกต่างจาก park ในระดับ Non-Metropolitan Districts เป็นต้น ยกเว้น car park, allotments ในระดับ Non-Metropolitan Districts กับ Parishes ที่เขียนหรือใช้ศัพท์เหมือนกัน ส่วน museums and art galleries ในระดับ Non-Metropolitan Counties และ Non-Metropolitan Districts แม้เขียนเหมือนกัน แต่ก็ได้ระบุไว้ด้วยว่าให้แต่ระดับร่วมมือกัน
3.24 กล่าวได้ว่า อังกฤษมีการเมืองและการบริหารที่รวมอำนาจพอสมควรทั้งนี้เพราะอังกฤษเป็นรัฐเดี่ยวที่ยึดรูปแบบการบริหารงานจากบนลงล่าง(top down) เห็นได้ชัดเจนในสมัยของนายกรัฐมนตรี นางมากาเร็ท แธ็ทเชอร์ อีกทั้งตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาหน่วยการบริหารท้องถิ่นมีแนวโน้มที่สูญเสียอำนาจให้กับหน่วยงานของรัฐบาลในส่วนกลางมากกว่าได้รับอำนาจจากรัฐบาลในส่วนกลางเพิ่มมากขึ้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานบริหารท้องถิ่นมีแนวโน้มลดลง นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เห็นตัวอย่างได้จากในปี ค.ศ. 1948หน่วยงานบริหารท้องถิ่นต้องสูญเสียการควบคุมดูแลโรงพยาบาลในท้องถิ่น และในปี ค.ศ. 1948 ต้องสูญเสียการควบคุมดูแลในเรื่องการให้การบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน ตลอกจนการให้บริการประปาสาธารณะ
3.25 หากหน่วยการบริหารท้องถิ่น(local authority) หรือเทศบาลหนึ่งไปทำกิจกรรมในอีกเทศบาลหนึ่งเทศบาลทั้ง 2 จะทำหารตั้งคระกรรมการร่วม(Joint Committee) เพื่อรับผิดชอบร่วมกัน
3.26 อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานบริหารเมืองหลวงของอังกฤษมีกว้างขวางมากพอสมควร อำนาจหน้าที่ดังกล่าวรับมาจากกฎหมายต่างๆที่สำคัญคือ
3.26.1 Permissive Acts หมายถึง กฎหมายที่ให้อำนาจแก่หน่วยงานบริหารเมืองหลวงไว้โดยตรง
3.26.2 Private Acts หมายถึง กฎหมายที่ส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนหรือกลุ่มคนในท้องถิ่นบาง เช่น กฎหมายที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคนในท้องถิ่นรวมตัวกันสร้างทางรถไฟ ท่าเรือ ประปา ไฟฟ้า การระบายน้ำและการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
3.26.3 Provisional Orders หมายถึง กฎหมายหรือคำสั่งที่ได้รับมาจากคณะกรรมการบริหารท้องถิ่น (the Local Government Board)

บรรณานุกรม
1.ภาษาไทย
กรุงเทพมหานคร.จากเทศบาลสู่กรุงเทพมหานคร.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,2542.
กิตติ ประทุมแก้ว.การปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย.พระนคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์,2512.
กฤช เพิ่มทันจิตต์ และคณะ.การประชมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพใน การอำนวยบริการของเทศบาล.กรุงเทพมหานคร:ศูนย์ศึกษาชุมชนเมือง คณะรัฐประศาสน ศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,2531.
กฤช เพิ่มทันจิตต์ และ ปกรณ์ ปรียากร.รายงานผลการวิจัย การแสวงหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการ ปกครองเทศบาลไทย:ศูนย์ศึกษาชุมชนเมือง คระรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ หารศาสตร์, 2530.
ชะลอ ธรรมศิริ.ระเบียบการบริหารราชการส่วนจังหวัด.กรุงเทพมหานคร:วิทยานิพนธ์ปริญญาโททาง รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2512.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร.การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2,กรุงเทพมหานคร:บริษัท พิฆเณศพริ้นท์ติ้ง.เซ็น เตอร์ จำกัด. 2539.
ชูศักดิ์ เที่ยงธรรม.การบริหารการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ.กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2520.
ดำรง ลัทธพัฒน์. ทฤษีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ.พระนคร:โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์แห่ง ประเทศไทย.2508.
บุญรงค์ นิลวงศ์ . การปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ.กรุงเทพมหานคร:เจริญวิทย์การพิมพ์,2522.
ประยูร กาญจนดุล.กฎหมายปกครอง.พระนคร:โรงพิมพ์มหาลัยธรรมศาสตร์,2491.
ประหยัด หงส์ทองคำ. การพัฒนาทางการเมืองโดยกระบวนการปกครองท้องถิ่น.กรุงทพมหานคร:นำ อักษร การพิมพ์.2519.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. ผู้ว่าราชการจังหวัดไทย:วิเคราะห์เปรียบเทียบกับผู้ว่าราชการจังหวัดของ สหรัฐอเมริกาฝรั่งเศส และญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ.วิเคราะห์เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทะศักราช 2540 กับ รัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์นิติธรรม,2542.
สมพงศ์ เกษมสิน. การบริหาร.พิมพ์ครั้งที่ 3,กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจำกัดเกษมวรรณ,2514.
สะอาด ปายะนันท์. การปกครองท้องถิ่นในประเทศต่างๆ.กรุงเทพมหานคร: อ.ส. การพิมพ์,2527.
อมร รักษาสัตย์ และ ขัตติยา กรรณสูต.ทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ.พระนคร:โรงพิมพ์ ชุมชนสหกรณ์แห่งประเทศไทย,2508.

2.ภาษาอังกฤษ
Anthony H. The British System of Government. Ninth Edition, London: Routledge, 1993.
Dennis Kavangh. Britis Politics: Continuities and Change.New York: Oxford University Press,1985.
Encyclopaedia of Socience Vol.X, NewYork: The Macmillan Co., 1953.
F.N.Forman.Mastering British Politics.Great Britain:MacMillan Education Ltd, 1985.
J.Harvey and L. Bather.The British Constitution and Politics.Fifth Edition, Hong Kong: Macmillan Education Ltd., 1986.
John A.R. Marriott. English Political Institutions: An Introductory Study Westport, Connecticut: Greenwood Press. Publishers, 1975.
3 WEBSITE
www.london.gov.uk./special.htm
www.london.gov.uk./special.htm
www. encarta.msn.co.
www.london.gov.uk/mayor/planning_decisions/index.htm
www.encarta.msn.com
www.london.gov.uk/gla/new_building/index.htm
www.london.gov.uk/assmbly/assembly_about.htm
www.london.gov.uk/index.htm
www.london.gov.uk/assembly/assemblr_about.htm
www.london.gov.uk/assembly/assemblr_about.htm
www.cityoflondon.gov.uk/media_centre/files/171_01.htm
www.cityoflondon.gov.uk/business_city/lordmayor/domistic.htm
www.cityoflondon.gov.uk/committees/member/member
www.cityoflondon.gov.uk/about_us/governing/governing.htm
www.cityoflondon.gov.uk/committees/member/member
www.encarta.msn.co.uk/find/Concise
www.cityoflondon.gov.uk/committees/index.htm
www.cityoflondon.gov.uk/about_us/index.htm

Followers