เส้นทางสู่นักบริหารมืออาชีพ

มีทฤษฎีหลากหลายทฤษฎีที่จะนำมาวิเคราะห์ว่า “นักบริหาร” หรือ “ผู้บริหาร” เป็น “นักบริหารมืออาชีพ” ได้หรือไม่นั้น โดยดูได้จากทฤษฎีต่างๆ ดังนี้
ทฤษฎี 3 ทักษะ” (Three Skills)
เป็นทฤษฎีของคาทซ์ (Kats) และเป็นทฤษฎีที่จะนำมาวิเคราะห์นักบริหารมืออาชีพได้ คือนักบริหารมืออาชีพควรมีทักษะทั้ง 3 ทักษะ ซึ่งประกอบด้วย
1.ทักษะในคตินิยม (Conceptual Skill) คือทักษะที่สามารถเข้าใจ หน่วยงานของตนในทุกลักษณะ และเห็นความสัมพันธ์ของหน่วยงานของตน ที่มีต่อหน่วยงานหรือองค์การอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น เข้าใจว่าหน่วยงานของตนมีบทบาทหน้าที่อย่างไร แบ่งงานเป็นหน่วยงานย่อยๆอะไรบ้าง และสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นอย่างไรบ้าง
2.ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์ (Human Skill) คือทักษะในความสามารถที่จะทำงาน ร่วมกับคนอื่นได้ เพราะผู้บริหารจะต้องทำงานสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น ผู้บังคับบัญชา ผู้ช่วย หัวหน้าภาควิชา ครูอาจารย์ เจ้าหน้าที่ เป็นต้น
3.ทักษะทางเทคนิค (Technical Skill) คือทักษะในการทำงานที่เกี่ยวกับกิจกรรม เฉพาะอย่าง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การพิมพ์ การร่างหนังสือติดต่องาน การทำสื่อการสอน การสอน เป็นต้น
จากแผนภูมิข้างบนนี้ C คือ Conceptual Skill, H คือ Human Skill,
T คือ Technical Skill ผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่หรือนักบริหารมืออาชีพควรมี Conceptual Skill และ Human Skill ให้มากกว่า Technical Skill ซึ่งจะแตกต่างไปจากผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กหรือหัวหน้าหมวดวิชา ส่วนครูน้อยควรมี Technical Skill มากกว่า Conceptual Skill และ Human Skill
นักบริหารมืออาชีพ ควรมี ทักษะในคตินิยม (Conceptual Skill) และ ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์ (Human Skill) ให้มากกว่า ทักษะทางเทคนิค (Technical Skill) คือมีความเข้าใจว่าหน่วยงานของตนมีบทบาทหน้าที่อย่างไร แบ่งงานเป็นหน่วยงานย่อยๆอะไรบ้าง และมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นอย่างไรบ้าง รวมทั้งมีความสามารถที่จะทำงาน ร่วมกับคนอื่นได้ ส่วนทักษะในการทำงานที่เกี่ยวกับกิจกรรม เฉพาะอย่าง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ การพิมพ์ การร่างหนังสือติดต่องาน การทำสื่อการสอน การสอน ก็ควรจะมีเช่นกัน
ณรงค์ แย้มประดิษฐ์ ได้ทำการวิจัยเรื่อง “ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 6” จากประชากร ได้แก่ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ใน 7 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี ชัยนาท และอุทัยธานี จำนวนทั้งสิ้น 532 คน ผลการวิจัยมีรายละเอียดเกี่ยวกับทักษะของผู้บริหาร ดังนี้
1.ทักษะทางเทคนิค พบว่า ผู้บริหารสามารถปรับใช้ระเบียบทางราชการปฏิบัติงานได้มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารสามารถใช้วิธีบริหารได้เหมาะสมกับสถานการณ์ ผู้บริหารสามารถสื่อสารกับผู้ร่วมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารสามารถใช้แผนปฏิบัติการเป็นเครื่องมือในการบริหาร
2.ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์ พบว่า ผู้บริหารสามารถทำงานร่วมกับครูอาจารย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารสามารถปรับปรุงตนเองให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ผู้บริหารสามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลทุกฝ่ายในโรงเรียน และผู้บริหารสามารถควบคุมอารมณ์เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
3.ทักษะทางความคิดรวบยอด พบว่าผู้บริหารเป็นผู้นำทางวิชาการของโรงเรียนได้ ผู้บริหารสามารถนำนโยบายแผนการศึกษามากำหนดเป็นแผนงานของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม ผู้บริหารสามารถวินิจฉัยปัญหาต่างๆอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจสั่งการ ผู้บริหารสามารถใช้ทรัพยากรได้เหมาะสมกับกับศักยภาพและข้อจำกัดของโรงเรียน
จากผลการวิจัยนี้ ผู้วิจัยเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาทักษะของผู้บริหาร ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นคือ
1.ทักษะทางเทคนิค ควรจัดอบรมสัมมนาโครงการที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะทางเทคนิคให้แก่ผู้บริหารโรงเรียนให้อยู่ในระดับความสามารถที่มากขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการบริหารโรงเรียน เช่น อบรมกลยุทธ์ในการบริหารงาน เทคนิคในการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน เทคนิคการประเมินผลและการนำผลประเมินไปใช้ เทคนิคในการป้องกันการประพฤติผิดวินัยของบคลากรในโรงเรียน เทคนิคเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ทางการศึกษา
2.ทักษะทางมนุษยสัมพันธ์ ควรจัดอบรมเกี่ยวกับเทคนิคการสร้างมนุษย์สัมพันธ์กลยุทธ์ในการสร้างแรงจูงใจและการสร้างขวัญกำลังใจ เทคนิคการบริหารความขัดแย้งเพื่อการสร้างสรรค์และภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหาร
3.ทักษะความคิดรวบยอด ควรจัดอบรมเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ทางความคิดเทคนิคการบริหารเชิงระบบ เทคนิคการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์

ทฤษฎีสามภูมิ

นักบริหารมืออาชีพ ควรมีทั้งสามภูมิ คือ ภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิฐาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.ภูมิรู้ คือความรู้ความสามารถ เช่น มีความรู้ทางทฤษฎีการบริหาร แล้วสามารถนำความรู้ทางการบริหารไปใช้ในการบริหารงานได้ มีความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานของตน มีความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองหรือมีความรู้รอบตัว
2.ภูมิธรรม คือมีความประพฤติดี มีคุณธรรม เช่น มีความซื่อสัตย์ มีความโปร่งใส มีความยุติธรรมในการทำงาน มีหิริโอตัปปะ มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ
3.ภูมิฐาน คือมีบุคลิกลักษณะดี รูปร่างหน้าตา ท่าทางดี การแต่งกายเรียบร้อย อย่างไรก็ตามถ้าหากบุคลิกลักษณะและรูปร่างหน้าตาท่าทางไม่ดี แต่รู้จักแต่งกายเรียบร้อย ก็จะทำให้ผู้บริหารดูภูมิฐานได้

ทฤษฎีลิง 3 ตัวของขงจื้อ

ทฤษฎีลิง 3 ตัวนี้ เป็นทฤษฎีของขงจื้อซึ่งเป็นนักปราชญ์ชาวจีน เกิดเมื่อ 8 ปีก่อนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ทฤษฎีลิง 3 ตัวมีสัญลักษณ์โดยเอามือปิดหู ปิดตา และปิดปาก ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักบริหารมืออาชีพจะต้องรู้จักปิดหู ปิดตา และปิดปาก ดังรายละเอียดดังนี้
1.ปิดหู หมายถึงการควบคุมการฟัง การได้ยิน กล่าวคือ ถ้าผู้บริหารจะผูกมิตรกับผู้ร่วมงานหรือคนอื่นจะต้องปิดหู เป็นการควบคุมหูของเราให้ได้ว่า อะไรควรฟัง อะไรควรได้ยินหรือไม่ควรได้ยิน แม้ได้ยินแล้วก็ต้องควบคุมตัวเองให้ได้ว่า อะไรควรเก็บไปคิดหรือไม่ควรเก็บไปคิด อะไรควรเชื่อหรืออะไรไม่ควรเชื่อ ข้อนี้ได้ให้คติต่อผู้บริหารว่า “อย่าเป็นคนหูเบา” ผู้บริหารต้องรับฟังเรื่องทั้งปวงที่ผู้ร่วมงานมาระบาย มาฟ้องหรือมาป้อยอ แต่นักบริหารมืออาชีพย่อมจะต้องไม่ได้ยินทั้งหมด ไม่เชื่อไปเสียทุกอย่าง ไม่บ้าจี้ปฏิบัติตามทุกอย่าง เพราะนักบริหารมืออาชีพต้อง “ไม่เป็นคนหูเบา” นั่นเอง
2.ปิดตา หมายถึงการควบคุมการดู การเห็น สิ่งใดที่ควรมอง สิ่งใดที่ควรรู้หรือไม่ควรรู้ คือบางอย่างก็ทำเป็นไม่เห็นไม่สนใจเสียบ้าง
3.ปิดปาก หมายถึงการควบคุมการพูด การแสดงออก กล่าวคือ
สิ่งใดที่ควรพูดหรือไม่ควรพูดหรือไม่พูดมากเกินไป ไม่พูดน้อยเกินไป ผู้บริหารควรกะให้พอเหมาะพอดี ให้เหมาะกับโอกาสและเวลาที่ควร
จากทฤษฎีลิง 3 ตัวของขงจื้อนี้ จะเห็นได้ว่าถ้าผู้บริหารหรือนักบริหารรู้จักควบคุมหู ควบคุมตา และควบคุมปากให้ใช้ได้ทุกกาละเทศะก็จะได้ชื่อว่าเป็น “นักบริหารมืออาชีพ”

ทฤษฎีของ ดร.ชุบ กาญจนประกร

ดร.ชุบ กาญจนประกรได้จำแนกแบบของผู้บริหารไว้ 3 แบบด้วยกันคือ
1.แบบใช้พระเดช (Legal Leaders) หมายถึงผู้บริหารที่ได้มาซึ่งอำนาจจากตัวบทกฎหมาย ปฎิบัติการของผู้บริหารแบบนี้ ยึดถือเอากฏหมาย ระเบียบแบบแผนเป็นที่ตั้ง การปฏิบัติงานขาดความยืดหยุ่นในการที่จะประพฤติปฏิบัติให้สอดคล้องเข้ากับเหตุการณ์
2.แบบใช้พระคุณ (Charismatic Leaders) หมายถึงผู้บริหารที่มีอำนาจและศิลปะในการที่จะสามารถจูงใจให้บุคคลทั้งหลายทั้งปวงปฎิบัติตามที่ตนประสงค์ได้ โดยเฉพาะการสนับสนุนแก่ตนเอง แม้ตัวผู้บริหารเองจะมิได้มีอำนาจตามตัวบทกฏหมายก็ตาม หากแต่การปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้บริหารนั้น เกิดจากศรัทธาและภาวะทางใจเป็นสำคัญ ผู้บริหารแบบนี้มีพฤติกรรมไปทางอ่อนโยนละเมียดละไม เห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน มุ่งสร้างมนุษยสัมพันธ์แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้เกี่ยวข้องโดยทั่วไป
3.แบบสัญลักษณ์ (Symbolic Leaders) หมายถึงผู้บริหารที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์ของผู้อยู่ในตำแหน่งที่ควรแก่การเคารพนับถือ ตัวอย่างที่ประจักษ์เด่นชัดในลักษณะนี้ได้แก่ องค์พระมหากษัตริย์ซึ่งได้รับการเทิดทูน เคารพ สักการะ จากปวงชนในฐานะองค์พระประมุขของชาติ หรือประธานสภา ประธานที่ประชุมซึ่งถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ
นักบริหารมืออาชีพ น่าจะเป็น แบบใช้พระคุณ คือเป็นผู้บริหารที่มีอำนาจและศิลปะในการที่จะสามารถจูงใจให้บุคคลทั้งหลายทั้งปวงปฎิบัติตามที่ตนประสงค์ได้

ทฤษฎีของเกทเซลส์ (Getzel) กับ กูบา (Guba)

เกทเซลส์ (Getzel) กับ กูบา (Guba) ได้แบ่งผู้บริหารออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
1.ผู้บริหารที่ใช้อำนาจทางสถาบันมิติ (Nomothetic Dimension Leader) คือผู้บริหารที่ใช้อำนาจ และระเบียบข้อบังคับของสถาบันเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการให้บุคลากรมีบทบาทตามที่สถาบันกำหนด เช่น ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ให้ครูในโรงเรียน ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน โดยไม่มีการประนีประนอมหรือยกเว้นใดๆทั้งสิ้น ครูต้องปฏิบัติตามให้ได้ งานจึงจะสำเร็จ
2.ผู้บริหารที่ใช้บารมีทางบุคลามิติ (Idiographic Dimension Leader) คือผู้นำที่ยึดบุคคล ซึ่งแต่ละบุคคลย่อมมีบุคลิกภาพ และความต้องการแตกต่างกัน ผู้บริหารเข้าใจผู้ร่วมงานแต่ละบุคคล และมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงาน โดยคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ความต้องการ ความทุกข์ ความสุข ความจำเป็นของบุคคลเป็นสำคัญ หากมีสิ่งใดที่ขัดกับระเบียบข้อบังคับอยู่บ้าง ก็ใช้วิธีประนีประนอม ไม่เคร่งครัดจนเกินไป เพราะถือว่าถ้าบุคคลมีความสุข ไม่มีความวิตกกังวลจนเกินไป ก็จะทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพและสำเร็จ
3.ผู้บริหารแบบประสานประโยชน์หรือผสมผสาน (Transactional Leader) คือผู้นำ ที่เน้นพฤติกรรมทั้งสองด้าน คือใช้อำนาจทางสถาบันมิติและใช้บารมีทางบุคลามิติพร้อมๆกัน คือผสมผสานกันทั้งยึดระเบียบข้อบังคับของสถาบันและคำนึงถึงผู้ร่วมงานแต่ละบุคคลด้วย เช่น ครูใหญ่ยึดระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนและประนีประนอมในกรณีที่ครูมีความจำเป็นส่วนตัว หรือมีปัญหาส่วนตัว เป็นต้น
นักบริหารมืออาชีพควรจะเป็นแบบไหนดี ถ้าหากเป็นผู้บริหารที่ใช้อำนาจทางสถาบันมิติ (Nomothetic Dimension Leader) ก็จะแข็งเกินไปไม่ยืดหยุ่น และถ้าเป็นผู้บริหารที่ใช้บารมีทางบุคลามิติ (Idiographic Dimension Leader) ก็จะหย่อนเกินไป ดังนั้นควรจะเป็นผู้บริหารแบบประสานประโยชน์หรือผสมผสาน (Transactional Leader) จะดีกว่า คือผสมผสานกันทั้งยึดระเบียบข้อบังคับของสถาบันและคำนึงถึงผู้ร่วมงานแต่ละบุคคลด้วย

ทฤษฎีของเบลค (Blake) กับ มูตัน (Mouton)

เบลค (Blake) กับ มูตัน (Mouton) ได้แบ่งผู้บริหารออกเป็น 2 แบบ คือ
1.ผู้บริหารแบบคำนึงผลผลิต (Concern for Production) คือผู้บริหารที่ใฝ่ใจในงาน คำนึงถึงผลงานเป็นสำคัญ หรือเก่งงาน
2.ผู้บริหารแบบคำนึงคน (Concern for People) คือผู้บริหารที่ใฝ่ใจในคน คำนึงถึงคนเป็นสำคัญ หรือเก่งคน
จากผู้บริหาร 2 แบบนี้ ได้แบ่งผู้บริหารเป็น 5 แบบด้วยกัน คือ
1.ผู้บริหารแบบย่ำแย่ (Impoverished) คือผู้บริหารที่สนใจงานน้อยมากและสนใจคนน้อยมาก คือไม่สนใจที่จะทำงาน ไม่สนใจว่าผู้ร่วมงานจะทำงานหรือไม่อย่างไร จึงเรียกได้ว่าเป็น ผู้บริหารแบบย่ำแย่ (จากแผนภูมิ คือ 1,1)
2.ผู้บริหารแบบงานขึ้นสมอง (Task) คือผู้บริหารที่สนใจงานมาก สนใจคนน้อยมาก ไม่สนใจว่าผู้ร่วมงานว่าจะทุกข์สุขอย่างไร (จากแผนภูมิ คือ 9,1)
3.ผู้บริหารแบบเดินสายกลาง (Middle of the Road) คือผู้บริหารที่สนใจงาน และสนใจคนปานกลาง คือสนใจที่จะทำงานพอสมควรไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป รวมทั้งสนใจผู้ร่วมงานพอสมควรเช่นกัน จึงน่าจะเรียกผู้นำแบบนี้ว่า ผู้นำแบบเดินสายกลาง (จากแผนภูมิ คือ 5,5)
4.ผู้บริหารแบบชุมนุมสังสรรค์ (Country Club) คือผู้บริหารที่สนใจคนมาก แต่สนใจงานน้อยมาก คือเอาใจใส่ผู้ร่วมงานมาก แต่ไม่ค่อยสนใจในการทำงาน (จากแผนภูมิ คือ 1,9)

ตารางการบริหาร
1,9 9,9



5,5



1,1 9,1
คำนึงผลผลิต

5.ผู้บริหารแบบเล่นเป็นทีม (Team Approach) คือผู้บริหารที่สนใจงานมาก และสนใจคนมาก คืองานก็ดีมีประสิทธิภาพ คนก็มีความสุขมากในการทำงาน เหมือนการเล่นกีฬาเป็นทีม จึงน่าจะเรียกผู้บริหารแบบนี้ว่า ผู้บริหารแบบเล่นเป็นทีม (จากแผนภูมิคือ 9,9)
นักบริหารมืออาชีพ จึงควรเป็นผู้บริหารแบบเล่นเป็นทีม (Team Approach) หรือเป็นผู้บริหารแบบเดินสายกลาง (Middle of the Road) ก็ยังดี แต่ไม่ควรเป็นผู้บริหารแบบย่ำแย่ (Impoverished หรือผู้บริหารแบบงานขึ้นสมอง (Task) หรือผู้บริหารแบบชุมนุมสังสรรค์ (Country Club)

ทฤษฎีของ วิลเลียม เจ. เรดดิน (William J. Reddin)
ได้กำหนดนักบริหารออกเป็น 8 แบบด้วยกัน ใน 8 แบบนี้ยังแบ่งออกเป็นแบบผู้บริหารที่มีประสิทธิผลน้อย 4 แบบ และ แบบผู้บริหารที่มีประสิทธิผลมาก 4 แบบ ดังรายละเอียดดังนี้
1.แบบผู้บริหารที่มีประสิทธิผลน้อย แบ่งออกเป็น 4 แบบคือ
1.1 แบบผู้หนีงาน (Deserter) เป็นผู้บริหารที่ชอบเป็นใหญ่หรือเป็น
หัวหน้างาน แต่เกลียดการทำงาน คือไม่สนใจการทำงานและไม่สนใจผู้ร่วมงาน ผลงานต่ำ มนุษยสัมพันธ์ก็ต่ำ จึงเป็นนักบริหารที่มีประสิทธิผลน้อยอย่างชัดเจน
1.2 แบบนักบุญ (Missionary) เป็นผู้บริหารที่มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานดี มีความเห็นอกเห็นใจผู้ร่วมงาน แต่ผลงานต่ำ เพราะมีความเชื่อว่าถ้าผู้ร่วมงานมีความสุขแล้วจะทำงานเอง จึงทำให้ผลงานไม่ดีเท่าที่ควร
1.3 แบบผู้เผด็จการ (Autocrat) เป็นผู้บริหารที่มุ่งแต่งานอย่างเดียว ขาดมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ทำให้ผู้ร่วมงานกลัวไม่ชอบเพราะถูกบังคับข่มขู่และใช้อำนาจมากเกินไป อย่างไรก็ตามก็ยังอยู่ในแบบผู้บริหารที่มีประสิทธิผลน้อย เพราะผู้ร่วมงานทำงานด้วยความหวาดกลัว ไม่รักงาน ไม่เต็มใจที่จะทำงานอย่างจริงจัง ผลงานจึงไม่ดีเท่าที่ควร จึงทำให้งานมีประสิทธิผลน้อย
1.4 แบบผู้ประนีประนอม (Compromisor) เป็นผู้บริหารที่มุ่งทำงานให้สำเร็จและมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานดี แต่ชอบประนีประนอมไม่เด็ดขาด เห็นอกเห็นใจผู้ร่วมงาน จึงทำให้งานมีประสิทธิผลน้อยเช่นกัน
2.แบบผู้บริหารที่มีประสิทธิผลมาก ผู้บริหารแบบนี้จะตรงกันข้ามกับผู้บริหารที่มีประสิทธิผลน้อย คือผลงานจะสำเร็จและได้ผลดี แบ่งออกเป็น 4 แบบเช่นกันคือ
2.1 แบบผู้ที่ทำตามคำสั่งอย่างเดียว (Bureaucrat) ผู้บริหารแบบนี้คล้ายแบบผู้หนีงาน คือไม่สนใจในความสำเร็จของงาน หรือมุ่งงานต่ำ คือถ้าได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาจึงจะทำตามคำสั่ง จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้บริหาร “แบบผู้ที่ทำตามคำสั่งอย่างเดียว”
2.2 แบบนักพัฒนา (Developer) เป็นผู้บริหารที่มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานอย่างมาก สามารถจูงใจให้ผู้ร่วมงานทำงานได้สำเร็จ จึงจัดอยู่ในแบบผู้บริหารที่มีประสิทธิผลมาก และผู้บริหารรู้ว่างานขั้นแรกของเขาก็คือการพัฒนา จึงเรียกผู้บริหารแบบนี้ว่า “แบบนักพัฒนา”
2.3 แบบผู้เผด็จการที่มีศิลปะ (Benevolent Autocrat) เป็นผู้บริหารที่มีความชำนาญในด้านการสั่งงาน โดยที่ไม่ทำให้ผู้ร่วมงานเกิดความขุ่นเคืองไม่พอใจ ถึงแม้ผู้บริหารแบบนี้มีลักษณะเผด็จการ แต่ก็ทำงานอย่างมีศิลปะนุ่มนวลและมีประสิทธิภาพมาก จึงจัดอยู่ในแบบผู้บริหารที่มีประสิทธิผลมาก
2.4 แบบนักบริหาร (Executive) เป็นผู้บริหารที่มุ่งทั้งงานสูง และมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานสูง รู้จักใช้ความสามารถของผู้ร่วมงานให้ได้ประโยชน์มากที่สุด และทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ร่วมงานด้วย จึงกล่าวได้ว่าแบบนักบริหารนี้ เป็นผู้บริหารที่ดีที่สุด และควรได้ชื่อว่าเป็น “นักบริหารมืออาชีพ”
จากแบบของผู้บริหารทั้ง 8 แบบนี้ เมื่อสรุปลักษณะรวมที่เรียกว่า ลักษณะคู่ จะได้ลักษณะคู่ของลักษณะร่วมกัน 4 อย่าง ประกอบด้วย
1.คู่อ่อน ประกอบด้วย ผู้หนีงาน และ ผู้ที่ทำตามคำสั่งอย่างเดียว คือ อ่อนทั้งมุ่งงานและมุ่งสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน จึงถือว่าเป็นคู่อ่อน
2.คู่ละมุนละม่อม ประกอยด้วย นักบุญ และ นักพัฒนา คือทั้งคู่จะมุ่งสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงานอย่างมาก จึงจัดเป็นคู่ละมุนละม่อม
3.คู่แข็ง ประกอบด้วย ผู้เด็จการ และ ผู้เผด็จการที่มีศิลปะ ทั้งคู่จะมุ่งที่ความสำเร็จของงานหรือมุ่งงานมาก แต่มุ่งสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงานน้อย จึงถือว่าเป็นคู่แข็ง
4.คู่ที่เป็นลักษณะผสม ประกอบด้วย ผู้ประนีประนอม และ นักบริหาร ซึ่งทั้งคู่จะมุ่งความสำเร็จของงานหรือมุ่งงานสูง และมุ่งสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงานสูงด้วย จึงจัดเป็นคู่ที่เป็นลักษณะผสม
เพื่อให้เข้าใจแจ่มชัด และมองเห็นภาพเป็นรูปธรรมขึ้น ขอให้ดูตารางการบริหารงานนี้ ซึ่งก็คล้ายกับตารางการบริหารงานตามทฤษฎีของเบลค (Blake) และมูตัน (Mouton) ที่กล่าวมาแล้ว แต่ตารางนี้มี 4 ตารางหรือ 4 ส่วนด้วยกัน

(2)
มุ่งงานต่ำ
มุ่งสัมพันธ์สูง
(4)
มุ่งงานสูง
มุ่งสัมพันธ์สูง
(1)
มุ่งงานต่ำ
มุ่งสัมพันธ์ต่ำ
(3)
มุ่งงานสูง
มุ่งสัมพันธ์ต่ำ

จากตารางนี้จะพบว่า ส่วนที่ 1 คือ คู่อ่อน ส่วนที่ 2 คือ คู่ละมุนละม่อม ส่วนที่ 3 คือ คู่แข็ง และส่วนที่ 4 คือ คู่ที่เป็นลักษณะผสม
ขอให้เปรียบเทียบกับตารางทั้งสองต่อไปนี้อีกครั้งหนึ่งก็จะมองเห็นเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นไปอีก

แบบผู้บริหารที่มีประสิทธิผลน้อย
(2)
นักบุญ
(Missionary)
(4)
ผู้ประนีประนอม
(Compromisor)
(1)
ผู้หนีงาน
(Deserter)
(3)
ผู้เผด็จการ
(Autocrat)

แบบผู้บริหารที่มีประสิทธิผลมาก
(2)
นักพัฒนา
(Developer)
(4)
นักบริหาร
(Executive)
(1)
ผู้ที่ทำตามคำสั่งฯ
(Bureacrat)
(3)
ผู้เผด็จการที่มีศิลปะ
(Benevolent
Autocrat)

จากตารางทั้ง 3 ตารางนี้จะพบว่า ส่วนที่ 1 คือ ผู้หนีงาน และ ผู้ที่ทำตามคำสั่งอย่างเดียว ซึ่งมุ่งงานและมุ่งสัมพันธ์ต่ำ จึงถือว่าเป็น คู่อ่อน
ส่วนที่ 2 คือ นักบุญ และ นักพัฒนา ซึ่ง มุ่งงานต่ำ แต่มุ่งสัมพันธ์สูง จึงถือว่าเป็น คู่ละมุนละม่อม
ส่วนที่ 3 คือ ผู้เผด็จการ และ ผู้เผด็จการที่มีศิลปะ ซึ่งมุ่งงานสูงแต่มุ่งสัมพันธ์ต่ำ จึงถือว่าเป็นคู่แข็ง
ส่วนที่ 4 คือ ผู้ประนีประนอม และ นักบริหาร ซึ่งมุ่งงานสูงและมุ่งสัมพันธ์สูงทั้งคู่ จึงเรียกว่า คู่ที่เป็นลักษณะผสม
ถ้าจะวิเคราะห์ในจำนวนผู้บริหารทั้ง 8 แบบนี้ แบบนักบริหาร เป็นแบบที่เป็น นักบริหารมืออาชีพ เพราะเป็นผู้บริหารที่มุ่งงานสูงและมุ่งสัมพันธ์สูง และเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผลมากอีกด้วย ส่วน แบบผู้ประนีประนอม นั้น ถึงแม้เป็นผู้บริหารที่มุ่งงานสูงและมุ่งสัมพันธ์สูงเช่นเดียวกับแบบนักบริหาร แต่เป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิผลน้อย จึงยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็น นักบริหารมืออาชีพ ส่วนแบบอื่นๆอีก 6 แบบนั้น แต่ละแบบล้วนมีข้อบกพร่อง จึงไม่ถึงขั้นที่จะเป็น นักบริหารมืออาชีพ ได้

ทฤษฎีของเลวิน (Kert Lewin) ลิพพิท (Ronald Lippit)
และ ไวท์ (Ralph White)
เลวิน ลิพพิท และ ไวท์ ได้ทำการทดลองกับเด็ก 3 กลุ่มที่มหาวิทยาลัยไอโอวา โดยให้แต่ละกลุ่มมีหัวหน้าหรือผู้นำกลุ่ม ผู้นำเป็นผู้สั่งให้ทำงาน ผลของการทดลองทำให้ทราบแบบของผู้นำ 3 แบบ คือ
1.แบบอัตนิยมหรืออัตตาธิปไตย (Autocrat) หมายถึงผู้บริหารที่นิยมใช้อำนาจอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้ตัดสินใจและแก้ปัญหาเองทุกเรื่อง เป็นผู้กำหนดนโยบายและวิธีการทำงานเอง ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ร่วมงาน นอกจากนี้ยังชอบทำตามใจตัวเอง เน้นตัวเองเป็นใหญ่ และต้องการให้คนอื่นทำตามความคิดของตนเอง และมักจะเรียกกันว่าเป็น ผู้บริหารแบบเผด็จการ เพราะผู้บริหารใช้อำนาจเผด็จการแต่ผู้เดียว ผู้ร่วมงานไม่มีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็นหรือเลือกผู้ร่วมงานได้เลย ทั้งจะต้องทำตามที่ผู้บริหารสั่งการ จะทำเกินขอบเขตหรือล่วงหน้าไม่ได้เลย
ถ้าหากในองค์กรมีผู้บริหารแบบนี้จะมีผลดีอยู่บ้างคือ ในกรณีที่บุคลากรในองค์กรนั้นขาดความรู้ความสามารถ หรือมีความคิดขัดแย้งกัน ขาดความรับผิดชอบ และผู้บริหารมีความรู้ความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริต ทำงานเพื่อความก้าวหน้าขององค์กร ก็ย่อมจะทำให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปด้วยดีอย่างยิ่ง แต่จะมีผลเสียถ้าผู้บริหารไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต ขาดความรู้ความสามารถ ก็ย่อมจะทำให้การดำเนินงานขององค์กรเสียหาย และไม่เจริญก้าวหน้าแน่นอน ยิ่งไปกว่านั้นบุคลากรในองค์กรไม่มีโอกาสแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน ไม่มีกำลังใจในการทำงาน และจะเกิดการผิดพลาดในการดำเนินงานได้ง่าย จึงเห็นได้ว่าถ้าในองค์มีผู้บริหารแบบนี้จะมีผลเสียมากกว่าผลดี
2.แบบประชาธิปไตย (Democratic) หมายถึงผู้บริหารที่ใจกว้าง ถืออำนาจของกลุ่มเหนือกว่าตนเอง จะดำเนินการบริหารงานสิ่งใดก็มักจะกระทำในนามของกลุ่ม คือผู้ร่วมงานมีโอกาสแสดงความคิดเห็น ได้อภิปรายและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตัวผู้บริหารเป็นทั้งผู้นำและผู้ให้คำแนะนำสั่งงานแก่ผู้ร่วมงาน ในการปฏิบัติงานผู้ร่วมงานมีสิทธิที่จะเลือกทำงานกับคนที่คิดว่าเหมาะสมกับตนได้มากกว่า ดังนั้นผู้ร่วมงานจึงมีความไว้วางใจกัน มีสัมพันธภาพอันดีต่อกัน รวมทั้งมีการร่วมมือและประสานงานกันอย่างจริงจังและเต็มใจ ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นผลดีทั้งสิ้น ถ้าหากในองค์กรมีผู้บริหารแบบนี้ ก็จะทำให้ผู้ร่วมงานมีความกระตือรือร้นในการทำงานและมีขวัญดีอีกด้วย
ส่วนผลเสียก็มีอยู่บ้าง คือถ้าผู้บริหารในองค์กรยังมีน้ำใจไม่หนักแน่นพอในการประชุมพิจารณาแสดงความคิดเห็นต่างๆ อาจเกิดความแตกแยกได้ ยิ่งผู้บริหารมีประสบการณ์น้อย หรือยังไม่เป็นผู้ใหญ่พอ อาจเกิดความวุ่นวายได้ อย่างไรก็ตามผู้บริหารแบบนี้มีผลดีมากกว่าผลเสียแน่นอน
3.แบบเสรีนิยม (Laissez Faire) หรือที่นิยมเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า แบบตามสบาย คือผู้บริหารแบบนี้จะใช้อำนาจน้อย ให้เสรีภาพแก่ผู้ร่วมงานในการปฏิบัติงานต่างๆเอง โดยผู้บริหารอาจจะให้คำแนะนำก็ต่อเมื่อได้รับการขอร้องเท่านั้น นอกจากนี้ผู้บริหารไม่มีหลักการควบคุมดูแล หรือไม่ได้สร้างเกณฑ์ควบคุมงานขึ้นไว้สำหรับควบคุมงานว่า ใครปฏิบัติงานได้ผลหรือไม่ จึงทำให้ผู้ร่วมงานขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มีการวางแผนงานและการประสานงาน เพราะทุกคนทำในสิ่งที่ตนต้องการ ทั้งยังขาดความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เนื่องจากต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำ จึงเห็นได้ว่า ผู้บริหารแบบนี้ถ้ามีในองค์กรจะทำให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงมีผลเสียมากกว่าผลดี
สำหรับ นักบริหารมืออาชีพ ควรจะเป็น แบบประชาธิปไตย เพราะเป็นผู้บริหารที่มีผลดีมากกว่าผลเสีย

ผู้นำในกลุ่มทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของดักลาส แมคเกรเกอร์

ตั้งขึ้นโดยสมมุติฐานเกี่ยวกับคนงาน ในสายตาของนักบริหาร 2 ลักษณะที่แตกต่างกัน คือ
1.ผู้นำในกลุ่มทฤษฎี X
2.ผู้นำในกลุ่มทฤษฎี Y
1.ผู้นำในกลุ่มทฤษฎี X เป็นทฤษฎีที่มองมนุษย์ในทางลบ คือมีความเชื่อว่า
1.มนุษย์ทุกคนไม่มีความรู้สึกอยากทำงาน เกียจคร้าน ชอบหลบเลี่ยงงาน หลบเลี่ยงความรับผิดชอบ แสวงหาความสะดวกสบาย และต้องการควบคุม
2.การจูงใจให้มนุษย์ทำงาน ต้องใช้วิธีบังคับ ควบคุม ลงโทษตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ
3.มนุษย์ต้องการให้ความสำคัญแก่ตนเองมากกว่าสนใจความต้องการของคนอื่น
4.มนุษย์ชอบต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกับตนเอง
2.ผู้นำในกลุ่มทฤษฎี Y เป็นทฤษฎีที่มองมนุษย์ในทางบวก คือมีความเชื่อว่า
1.งานก็เหมือนกับการเล่นหรือการพักผ่อน เมื่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้มีการจัดไว้อย่างเหมาะสม
2.การควบคุมตนเองเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะจะทำให้เป้าหมายขององค์การประสบความสำเร็จ
3.ความสามารถทางด้านความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาขององค์การนั้นมีอยู่เกือบทุกคน
4.การจูงใจจะเป็นการจูงใจด้วยความต้องการทางด้านความมีชื่อเสียงและความต้องการทางด้านความสำเร็จของชีวิต
5.มนุษย์สามารถที่จะควบคุมตนเองได้และมีความคิดริเริ่มในงาน ถ้าหากว่าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
ถ้าหากนำทฤษฎีนี้ไปวิเคราะห์นักบริหารมืออาชีพ นักบริหารมืออาชีพ ควรเป็นผู้นำในกลุ่มทฤษฎี Y มากกว่าเป็นผู้นำในกลุ่มทฤษฎี X

ผู้นำตามทฤษฎีของฮอลพิน (Halpin) และ คูนส์ (Coons)
ได้แบ่งพฤติกรรมผู้นำด้วยองค์ประกอบสองอย่าง คือ
1.พฤติกรรมกิจสัมพันธ์ (Initiating Structure) หรือ ผู้นำแบบกิจสัมพันธ์ เป็นผู้นำที่ยึดงานเป็นศูนย์กลาง (Job Centered Leader) คือสนใจงานมากกว่าสนใจคน ถึงแม้จะทำให้ได้ผลงานแต่ผู้ร่วมงานจะไม่ตั้งใจทำงาน
2.พฤติกรรมมิตรสัมพันธ์ (Consideration) หรือ ผู้นำแบบมิตรสัมพันธ์ เป็นผู้นำที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง (Employee Centered Leader) คือสนใจคนมากกว่าสนใจงาน ผู้ร่วมงานจะมีความสุขจากการทำงาน แต่ผลงานอาจจะด้อยคุณภาพ เพราะผู้นำไม่สนใจในการทำงาน
นักบริหารมืออาชีพควรสนใจทั้งงานและคนพอๆกัน คือเป็นทั้งผู้นำแบบกิจสัมพันธ์ และเป็นผู้นำแบบมิตรสัมพันธ์ จึงจะประสบความสำเร็จในการบริหารงาน ผู้ร่วมงานมีความสุขในการทำงาน และผลงานก็มีประสิทธิผล
ขอยกตัวอย่าง แบบสอบถาม LBDQ (Leader Behavior Description Questionaire) ซึ่งเป็นแบบสอบถามที่สภาวิจัยบุคลากร มหาวิทยาลัยโอไฮโอ สเตทได้พัฒนาขึ้น เพื่อใช้ทดสอบกับบุคคลที่อยู่ในวงการทหาร ธุรกิจ อุตสาหกรรม และการศึกษา โดยสรุปพฤติกรรมผู้นำว่าประกอบไปด้วยองค์ประกอบสองอย่าง คือ
1.พฤติกรรมกิจสัมพันธ์ (Intiating Structure) ประกอบด้วยพฤติกรรมดังนี้
1.แสดงให้ผู้ร่วมงานเข้าใจทัศนคติของท่านอย่างชัดเจน
2.นำความคิดใหม่ๆไปหารือกับเพื่อนร่วมงาน
3.ปกครองผู้ร่วมงานด้วยมาตรการที่เฉียบขาด
4.ตำหนิการทำงานที่บกพร่อง
5.พูดจากับผู้ร่วมงานด้วยทีท่าน่าเกรงขาม
6.มอบหมายงานเฉพาะอย่างให้ผู้ร่วมงาน
7.ทำงานโดยไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
8.วางมาตรฐานในการทำงานเอาไว้แน่นอน
9.เน้นการทำงานให้ทันตามกำหนดเวลา
10.ส่งเสริมการใช้ระเบียบปฏิบัติอย่างเดียวกันใน
การทำงาน
11.ย้ำให้ผู้ร่วมงานทราบถึงอำนาจหน้าที่ของตัวท่านเอง
ในหน่วยงาน
12.ขอร้องให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติตามกฏและระเบียบ
ข้อบังคับที่วางไว้
13.แจ้งให้ผู้ร่วมงานทราบถึงความมุ่งหวังของหน่วยงาน
ที่มีต่อผู้ร่วมงาน
14.สอดส่องดูแลให้ผู้ร่วมงานทำงานเต็มกำลังความ
สามารถของแต่ละบุคคล
15.สอดส่องดูแลให้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด
2.พฤติกรรมมิตรสัมพันธ์ (Consideration) ประกอบด้วย
พฤติกรรมดังนี้
1.ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ร่วมงาน
2.ช่วยงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้ผู้ร่วมงานชื่นชมใน
การเป็นสมาชิกของหน่วยงาน
3.ประพฤติตนเป็นคนเปิดเผยเข้าใจง่าย
4.หาโอกาสรับฟังความคิดเห็นจากผู้ร่วมงาน
5.เก็บเรื่องราวไว้เพียงผู้เดียว
6.ดูแลเอาใจใส่สวัสดิภาพของผู้ร่วมงานแต่ละคน
7.ปฏิเสธที่จะอธิบายถึงการปฏิบัติงานของท่าน
8.ปฏิบัติงานตามลำพังโดยไม่มีการหารือใคร
9.ไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ
10.ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานในฐานะเป็นผู้ที่เท่าเทียมกัน
11.แสดงความเต็มใจที่จะให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
12.แสดงความเป็นมิตรไม่ถือตัว
13.พยายามทำให้ผู้ร่วมงานเกิดความรู้สึกสบายใจใน
ขณะที่สนทนาอยู่ด้วย
14.นำข้อเสนอแนะของผู้ร่วมงานไปปฏิบัติ
15.ขอความเห็นชอบจากผู้ร่วมงานในเรื่องที่สำคัญ ๆ
ก่อนจะมีการดำเนินงาน ต่อไป
จากทฤษฎีนี้มีสารนิพนธ์เรื่องหนึ่ง คือเรื่อง เครื่องมือในการศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารการศึกษา ของเกรียงศักดิ์ นุตตะโร ได้ค้นพบว่า เครื่องมือในการศึกษาพฤติกรรมผู้นำ ในงานวิจัยปริญญานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต และระดับดุษฎีบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และวิทยาเขตในอดีต ที่ทำการศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2530-2545 มีการศึกษาพฤติกรรมผู้นำใน 2 มิติ คือ
1) แบบพฤติกรรมของผู้นำ จะมีการศึกษาแบบพฤติกรรมของผู้นำแบบมุ่งงาน และแบบพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์มากที่สุด รองลงมา แบบพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งสัมฤทธิ์
2)แบบคุณลักษณะของผู้นำ จะมีการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำด้านสติปัญญาและความสามารถมากที่สุด รองลงมาคือ ลักษณะด้านสังคม และลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงาน

ทฤษฎีฐานอำนาจของผู้บริหาร (ทฤษฎีของเฟรนช์และราเวน)
ฐานอำนาจ หมายถึงแหล่งหรือต้นเหตุที่ทำให้เกิดอำนาจ มีหลายประเภทแตกต่างกันไป สำหรับทฤษฎีฐานอำนาจทั้ง 5 ฐานที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นทฤษฎีของเฟรนช์และราเวน ซึ่งมีดังนี้
1.ฐานอำนาจจากการให้รางวัล (Reward Power) เกิดจากความสามารถของผู้บริหารที่จะให้รางวัลตอบแทนผู้อื่นที่ยอมปฏิบัติตาม รางวัลตอบแทนดังกล่าว ได้แก่ การให้รางวัลเป็นวัตถุ การช่วยเหลือการสงเคราะห์ให้ได้เข้าสู่ตำแหน่ง การมอบหมายความรับผิดชอบ การให้คำชมเชย การให้อภัย การไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ การไปร่วมงาน การโอภาปราศรัยและสนทนาด้วย การให้เกียรติข้าราชการบำนาญ เป็นต้น
2. ฐานอำนาจจากการบังคับหรือการลงโทษ (Coercive Power) เกิดจากความสามารถของผู้บริหารที่สามารถทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษโดยอำนาจที่เขามีอยู่ ความเข้มของอำนาจการบังคับหรือการลงโทษนี้จะมากขึ้น เมื่อบุคคลรับรู้ว่าผู้ใช้อำนาจมีอำนาจที่จะบังคับหรือลงโทษเขาได้จริงและโดยตรง วิธีที่ผู้บริหารจะใช้ฐานอำนาจประเภทนี้ให้เป็นประโยชน์ในการบริหารก็คือ การตำหนิด้วยวาจาซึ่งแบ่งออกเป็นการตำหนิเฉพาะตัวและการตำหนิโดยเปิดเผย การตำหนิโดยลายลักษณ์อักษร และการเงียบหรือการลงโทษด้วยการแสดงท่าทีไม่พอใจ เป็นต้น
3.ฐานอำนาจตามกฏหมาย (Legitimate Power) เกิดจากค่านิยมภายในของบุคคลที่สั่งสมมาจนยอมรับว่า ผู้มีอำนาจมีสิทธิหรืออำนาจอันชอบทำที่มีอำนาจเหนือตน โดยทั่วไปอำนาจตามกฏหมายหรือความชอบธรรมนี้เกิดขึ้นจากตำแหน่งที่ผู้ใช้อำนาจครองอยู่ที่เรียกว่าอำนาจหน้าที่ (Authority) แต่ในบางกรณี อำนาจจากฐานอำนาจนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งก็ได้ หากแต่เกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยมและการยอมรับที่บุคคลนั้นมีต่อผู้ผู้ใช้อำนาจโดยตรง จุดสำคัญที่ผู้บริหารจะใช้ฐานอำนาจประเภทนี้ให้เป็นประโยชน์ในการบริหารก็คือ การจัดโครงสร้างขององค์กร การจัดวางตัวบุคคล การพยายามกระจายอำนาจ การเร่งปฏิบัติโดยไม่ชักช้า การเชื่อถือและให้เกียรติ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา การประนีประนอมประสานประโยชน์ เป็นต้น
4. ฐานอำนาจจากการอ้างอิง (Reference Power) เกิดจากคุณลักษณะของผู้ใช้อำนาจที่เป็นที่ชื่นชมของบุคคล จนประสงค์ที่จะมีลักษณะเช่นนั้นบ้าง ความเข้มของอำนาจอ้างอิงจะมากยิ่งขึ้นตามความชื่นชมหรือความอยากเป็นเหมือนผู้ใช้อำนาจของบุคคลคนนั้นที่เพิ่มมากขึ้น คุณลักษณะของผู้บริหารที่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาชื่นชมและยึดถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตน อันเป็นผลทำให้ผู้บริหารสามารถใช้อำนาจนี้เพื่อการบริหารงานได้อย่างราบรื่น ประกอบด้วย การมีวุฒิภาวะ การมีสติปัญญาสูงซึ่งประกอบด้วยการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความกระตือรือร้นในการทำงาน การมีบุคลิกภาพดี การมีอุปนิสัยและอัธยาศัยที่ดี การมีชาติตระกูลที่เป็นคนดี การมีเศรษฐกิจส่วนตัวดี การเป็นผู้มีความจงรักภักดี และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นต้น
5.ฐานอำนาจที่เกิดจากความเชี่ยวชาญ (Expert Power) เกิดจากผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ มีทักษะและความรู้จนเป็นที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป ฐานอำนาจเช่นนี้ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมทำตาม เพราะเชื่อว่าผู้บริหารมีความรู้ความสามารถเหนือตน ผู้บริหารจะใช้ฐานอำนาจข้อนี้ในลักษณะต่างๆ ดังนี้ การสร้างการยอมรับในชุมชน การทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย การศึกษากรณีทางวิชาการต่างๆก่อนมีส่วนร่วม การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ การเกษียณหนังสือราชการ เป็นต้น
พ.ต.ดร.นพดล.เจนอักษร ได้ทำการวิจัยเรื่อง “การใช้อำนาจในการบริหารของผู้นำทางการบริหารการศึกษา : กรณีศึกษาเชิงคุณภาพ” เมื่อปี พ.ศ. 2537 การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ทฤษฎีฐานอำนาจทั้ง 5 ฐานของเฟรนช์และราเวนเป็นกรอบในการศึกษา จากการศึกษาพบว่า นายชำนาญ เจริญเลิศ (บุคคลที่ปรากฏชื่อเป็นกรณีศึกษาและเป็นบุคคลที่มีตัวจริง หากผู้วิจัยได้แก้ไขชื่อเสียใหม่โดยมารยาทแห่งการวิจัย) ได้ใช้อำนาจจากฐานอำนาจในกรอบทฤษฎีของเฟรนช์และราเวนครบทั้ง 5 ฐาน โดยใช้อำนาจจากฐานอำนาจการอ้างอิงมากที่สุด รองลงมาคือใช้ฐานอำนาจที่เกิดจากความเชี่ยวชาญ และ ฐานอำนาจจากการให้รางวัล ส่วน ฐานอำนาจตามกฏหมาย และ ฐานอำนาจจากการบังคับหรือการลงโทษ จะใช้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น มีตัวอย่างพอสังเขปดังนี้
1.ฐานอำนาจจากการให้รางวัล นายชำนาญ เจริญเลิศ ได้ใช้ฐานอำนาจจากการให้รางวัลเป็นสองกรณีคือ
1.1 การให้รางวัลเป็นวัตถุ ได้แก่การให้ของขวัญที่ตนได้รับในโอกาสต่างๆมาประมูลขายในราคาถูกเพื่อรวบรวมรายได้ไว้เป็นกองทุนสวัสดิการโดยส่วนรวมของหน่วยงาน และการมอบเงินเดือนของตนเองไว้เป็นสวัสดิการของคณะเลขานุการ
1.2 การให้รางวัลในลักษณะอื่นๆ ได้แก่ การช่วยเหลือการสงเคราะห์ให้ได้เข้าสู่ตำแหน่ง การมอบหมายความรับผิดชอบ การให้คำชมเชยและการยกย่องให้เกียรติด้านความคิดหรือการปฏิบัติแก่บุคคลอื่น การให้โอกาสร่วมเดินทาง การให้อภัย การไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ การไปร่วมงาน การโอภาปราศรัยและสนทนาด้วย และการให้เกียรติข้าราชการบำนาญ
2. ฐานอำนาจจากการบังคับหรือการลงโทษ วิธีที่นายชำนาญ เจริญเลิศใช้ฐานอำนาจประเภทนี้ในการบริหาร ได้แก่ การตำหนิด้วยวาจา ซึ่งแบ่งออกเป็นการตำหนิเฉพาะตัวและการตำหนิโดยเปิดเผย การตำหนิโดยลายลักษณ์อักษร และการเงียบหรือการลงโทษด้วยการแสดงท่าทีไม่พอใจ เป็นต้น
3.ฐานอำนาจตามกฏหมาย จุดสำคัญที่นายชำนาญ เจริญเลิศใช้ฐานอำนาจประเภทนี้ให้เป็นประโยชน์ในการบริหารก็คือ การจัดโครงสร้างขององค์กร การจัดวางตัวบุคคล การพยายามกระจายอำนาจ การเร่งปฏิบัติโดยไม่ชักช้า การเชื่อถือและให้เกียรติแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา การเร่งปฏิบัติโดยไม่ชักช้า และการประนีประนอมประสานประโยชน์
4. ฐานอำนาจจากการอ้างอิง คุณลักษณะของนายชำนาญ เจริญเลิศที่ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาชื่นชมและยึดถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตน อันเป็นผลทำให้นายชำนาญ เจริญเลิศ สามารถใช้อำนาจนี้เพื่อการบริหารงานได้อย่างราบรื่น ประกอบด้วย การมีวุฒิภาวะ การมีสติปัญญาสูงซึ่งประกอบด้วยการมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความกระตือรือร้นในการทำงาน การมีบุคลิกภาพดี การมีอุปนิสัยและอัธยาศัยที่ดี การมีชาติตระกูลที่เป็นคนดี การมีเศรษฐกิจส่วนตัวดี การเป็นผู้มีความจงรักภักดี และการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
5.ฐานอำนาจที่เกิดจากความเชี่ยวชาญ นายชำนาญ เจริญเลิศใช้ฐานอำนาจข้อนี้ในลักษณะต่างๆ เช่น การสร้างการยอมรับในชุมชน การทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย การใช้ภาษาอังกฤษในชุมชนวิชาการและสมาคมของชาวต่างประเทศ การศึกษากรณีทางวิชาการต่างๆก่อนมีส่วนร่วม การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ การเกษียณหนังสือราชการ

องค์ประกอบของความเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ

จำลอง นักฟ้อน ได้เขียนหนังสือ “นักบริหารการศึกษามืออาชีพ” ได้กล่าวถึงผู้บริหารการศึกษาว่า จะต้องมีองค์ประกอบของความเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ 3 ด้าน ดังนี้
1.คุณลักษณะเฉพาะตัว (Character) หมายถึงการแสดงออกของผู้บริหารมืออาชีพที่เป็นคุณลักษณะที่ดีทั่วไปของผู้นำหรือผู้บริหารองค์กร ได้แก่ มีความรับผิดชอบสูง มีความขยันหมั่นเพียร มีความอดทนและอุตสาหะ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และกระตือรือร้นในการทำงาน มีทักษะในการวินิจฉัยสั่งการ มีการรักษาระเบียบวินัยที่ดี มีความตรงต่อเวลาและการบริหารเวลาเป็น และมีบุคลิกดี
2.ทักษะและความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน (Skill and abilities) หมายถึงความชำนาญในการปฏิบัติและการมีความรู้ความสามารถในงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ มีความรู้ความสามารถในเชิงวางแผน มีความรู้ความสามารถในเชิงผู้นำ มีความรู้ความสามารถในการจัดการ มีความรู้ความสามารถในการเป็นนักวิจัยและพัฒนา การเป็นนักประสานงานและประสานผลประโยชน์ มีความรู้ความสามารถในเชิงการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์งาน มีความรู้ความสามารถในการนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นผู้มีพลังหรือศักยภาพที่จะนำมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างไม่จำกัด
3.ประสบการณ์ และผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน (Experience and achievement) หมายถึง การประเมินผลงานและประสบการณ์ที่ผ่านภารกิจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ คุณวุฒิ ประสบการณ์ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาตามภารกิจหน้าที่กำหนดหรือเกี่ยวข้อง มีการศึกษา ฝึกอบรมและดูงาน มีผลงานวิชาการเอกสาร งานวิจัยและตำรา ผลสำเร็จในการปฏิบัติงานในช่วงที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถและงานที่ปฏิบัติบรรลุผล และแผนการดำเนินงาน แผนพัฒนางานในตำแหน่งที่ปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบัน

ทฤษฎีผู้บริหารตามสถานการณ์ 4 แบบ
ทฤษฎีนี้ได้แบ่งผู้บริหารออกเป็น 4 แบบ ดังนี้
1. แบบสั่งการ (Telling ) ผู้บริหารแบบนี้ได้ชื่อว่า “สั่งงานสูง – ความสัมพันธ์ต่ำ” ที่กล่าวว่าสั่งงานสูง หมายความว่าจะสั่งให้ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และจะกำหนดเป้าหมาย วิธีการตัดสินใจเองทุกขั้นตอน มีการตรวจสอบ ติดตามผล เคร่งครัดในระเบียบวินัย และเน้นมาตรฐานของผลงานเป็นสำคัญ
ส่วนด้านความสัมพันธ์ต่ำ คือให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้ร่วมงานน้อย ให้เฉพาะผู้ที่ทำงานสำเร็จ และสื่อความหมายทางเดียวจากผู้บริหารไปยังผู้ตามเท่านั้น
2. แบบขายความคิด (Selling ) ผู้บริหารแบบนี้ได้ชื่อว่า “สั่งงานสูง – ความสัมพันธ์สูง” คือ สั่งงานสูง หมายความว่ายังคงเน้นงานในระดับที่ใกล้เคียงกับแบบสั่งการ แต่เมื่อกำหนดเป้าหมายและ วิธีการแล้ว จะชี้แจงเหตุผลหรือเกลี้ยกล่อมให้ผู้ตามยอมรับ หรือขอความเห็น หารือผู้ตามแล้วมากำหนดเป้าหมาย วิธีการเอง
ส่วนด้านความสัมพันธ์สูง หมายความว่าให้ขวัญกำลังใจ อำนวยความสะดวกในการทำงานสูง สื่อความหมายหลายทางจากผู้บริหารไปยังผู้ตาม
3. แบบมีส่วนร่วม (Participating ) ผู้บริหารแบบนี้ได้ชื่อว่า “สั่งงานต่ำ – ความสัมพันธ์สูง” คือ สั่งงานต่ำ หมายความว่าให้ผู้ตามมีส่วนร่วมในการทำงานทุกขั้นตอน หรือเป็นที่ปรึกษา ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ตามเมื่อเขามีความจำเป็น
ส่วนความสัมพันธ์สูง หมายความว่าสนับสนุนเต็มที่ ให้ขวัญกำลังใจสูง สื่อความหมายหมายทางจากผู้บริหารไปยังผู้ตาม
4. แบบมอบหมายงาน (Delegating ) ผู้บริหารแบบนี้ได้ชื่อว่า “สั่งงานต่ำ – ความสัมพันธ์ต่ำ” คือ สั่งงานต่ำ หมายความว่ามอบหมายงานให้ผู้ตามรับผิดชอบในการทำงานทุกขั้นตอน ให้ช่วยเหลือเท่าที่ผู้ตามต้องการ
ส่วนความสัมพันธ์ต่ำ หมายความว่าเปิดโอกาสให้ผู้ตามสร้างแรงจูงใจในตัวเองโดยอาศัยความสำเร็จของงาน สื่อความหมายทางเดียว
จากทฤษฎีนี้จะพบว่า แบบขายความคิด (Selling ) เป็นลักษณะของนักบริหารมืออาชีพ เพราะเป็นนักบริหารที่สั่งงานสูงและมีความสัมพันธ์สูงด้วย
บทบาทหน้าที่ของนักบริหารมืออาชีพ
นักบริหารมืออาชีพได้ชื่อว่าเป็น “ผู้บังคับบัญชา” หรือ “หัวหน้างาน” ของ “ผู้ใต้บังคับบัญชา” นั่นเอง ถ้าจะวิเคราะห์ว่า ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานโดยทั่วๆไปมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้างหรือทำงานอะไรบ้าง จะพบว่ามีอยู่ 4 ข้อด้วยกัน คือ
1.เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงาน (Symbolic Function) คือเป็นตัวแทนขององค์กรในการทำพิธีต่างๆ เช่น พิธีทอดผ้างานศพ กล่าวอวยพรคู่สมรส เป็นต้น ซึ่งจะเห็นกันโดยทั่วไป
2.ริเริ่มงานใหม่ (Initiating Function) คือคิดทำโครงการใหม่ๆขององค์กร เพื่อให้องค์กรก้าวหน้า เพื่อให้องค์กรบริการแก่ผู้รับบริการดียิ่งๆขึ้นไป ก็ควรจะคิดงานใหม่ๆให้ทันสมัย
3.สอนแนะลูกน้อง (Supervisory Function) คือแนะนำการทำงานแก่ผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับชาได้ เมื่อผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับชามีปัญหาในการทำงานก็แนะนำได้
4.ตัดสินใจสั่งการ (Decision Function) คือมีความสามารถในการคิดตัดสินใจที่จะทำอะไรอย่างไรได้เอง แล้วสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปทำได้ ถ้าวิเคราะห์สัดส่วนของหน้าที่ของผู้บริหารทั้ง 4 ข้อนี้ เช่น
1.ถ้าผู้บริหารตัดสินใจสั่งการมากที่สุด สอนแนะลูกน้องรองลงมา เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงาน และ ริเริ่มงานใหม่น้อยกว่าสองข้อแรก แสดงว่า “องค์กรกำลังพัฒนา”
2.ถ้าผู้บริหาร สอนแนะลูกน้องมากที่สุด ตัดสินใจสั่งการรองลงมา เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงาน และ ริเริ่มงานใหม่น้อยกว่าสองข้อแรก แสดงว่า “องค์กรพัฒนามาก”
อย่างไรก็ตามนักบริหารมืออาชีพควรทำหน้าที่ทั้ง 4 ข้อนี้ให้ได้สัดส่วนหลากหลายกัน คือต้องมีความสามารถในการสอนแนะลูกน้องได้ และต้องคิดริเริ่มงานใหม่ๆอยู่เสมอ
บทบาทการของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษาจะประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการฝึกอบรมผู้บริหารโรงเรียน
มีดังนี้
1.ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องแปรเปลี่ยนความทะเยอทะยานส่วนตนสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า คือเพื่อองค์การและคนในรุ่นต่อไป
2.ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเชื่อว่าสถานศึกษาของตนจะมีผลอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตของนักเรียนนักศึกษา
3.ผู้บริหารโรงเรียนประพฤติตนเป็นแบบอย่าง มีความสุภาพอ่อนโยน มีคุณธรรม เป็นนักฟังที่ดีและเคารพความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น
4.มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาอย่างจริงจัง เอาใจใส่ สนับสนุน ปรับปรุงผลการเรียนการสอนโดยมุ่งผลลัพธ์สูงสุด
5.กล้าคิดใหม่ กล้าทำนอกกรอบเดิมๆ และเมื่อมีการผิดพลาดก็ปรับปรุงแก้ไข โดยไม่ตำหนิกล่าวโทษผู้ใดหรือปัจจัยภายนอกใด
6.มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ จริงจัง ต่อเนื่อง สร้างสังคมการเรียนรู้ในสถานศึกษา สร้างทีมร่วมเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ วางแผนพัฒนาวิชาชีพ การเรียนการสอนและช่วยเหลือกัน
7.สร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างเป็นระบบ โดยให้โอกาสส่งเสริมความก้าวหน้า ชนชมกับผลงานความสำเร็จของบุคลากร เพื่อความมั่นใจในตนเองและชี้แนะสอนงาน
8.เป็นความหวังของชุมชนและสังคม โดยยึดหลักว่า ความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุน ชุมชน และสังคม เป็นภารกิจหนึ่งของสถานศึกษาและสามารถโน้มน้าวให้ชุมชนและสังคมมาร่วมมือกับสถานศึกษาด้วย
9.มองโลกในแง่ดีและมีความหวังเสมอ มองการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องท้าทายความสามารถ และมองตนเองว่าไม่มีอะไรพิเศษกว่าใคร
10.ตั้งมาตรฐานการทำงานที่ไม่ให้ต่ำกว่าเดิม กระทำอย่างมั่นคง ไม่ท้อแท้ท้อถอยแม้จะมีอุปสรรคปัญหามากมายเพียงใดก็ตาม ทุกอย่างตัดสินใจบนหลักการโดยไม่ใช้ความรู้สึกหรือแรงกดดันจากภายนอก

เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา พ.ศ. 2540
เดิมทีคุรุสภาได้กำหนด เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นตัวชี้วัดให้ผู้บริหารพัฒนางาน และพัฒนาตนเองไปในทิศทางที่พึงประสงค์ โดยได้จัดเกณฑ์มาตรฐานไว้ 12 มาตรฐาน จึงขอนำมากล่าวไว้ด้วย ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการ เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหาร
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้น กับการพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงาน ให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนงานขององค์กรให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
มาตรฐานที่ 6 ปฏิบัติงานขององค์กรโดยเน้นผลถาวร
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 11 เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์
ผู้บริหารการศึกษา ควรจะศึกษา เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา ทั้ง 12 มาตรฐานไปวิเคราะห์ตัวเองได้เช่นกัน

ผู้บริหารในข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ
และจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548
ต่อมาคุรุสภาได้ทำข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 ขึ้นใหม่ เป็นข้อบังคับคุรุสภาล่าสุดที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2548 นี้เอง และได้แยกผู้บริหาร เป็น ผู้บริหารสถานศึกษา กับ ผู้บริหารการศึกษา
คือในข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 ได้กล่าวถึงบุคลากรทางการศึกษาไว้ 5 กลุ่ม คือ
1.ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
2.ครู
3.ผู้บริหารสถานศึกษา
4.ผู้บริหารการศึกษา
5.บุคลากรทางการศึกษาอื่น
ในที่นี้จะขอคัดลอกมาเฉพาะที่เกี่ยวกับ ผู้บริหาร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา กับ ผู้บริหารการศึกษา เท่านั้น ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้
ผู้บริหารสถานศึกษา คือบุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน เช่น ผู้อำนวยการโรงเรียน อาจารย์ใหญ่ ครูใหญ่ เป็นต้น
ผู้บริหารการศึกษา คือบุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา เช่น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นต้น
จากข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 ในหมวด 1 ได้กำหนดมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ของ ผู้บริหารสถานศึกษา ไว้ในข้อ 6 ดังนี้
ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
(ก)มาตรฐานความรู้ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่า
หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
1.หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา
2.นโยบายและการวางแผนการศึกษา
3.การบริหารด้านวิชาการ
4.การบริหารด้านธุรการ การเงิน พัสดุ และอาคารสถานที่
5.การบริหารงานบุคคล
6.การบริหารกิจการนักเรียน
7.การประกันคุณภาพการศึกษา
8.การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
9.การบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน
10.คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
นอกจากคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารสถานศึกษาที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง
(ข)มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
1.มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี หรือ
2.มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและต้องอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าหมวด หรือหัวหน้างาน หรือตำแหน่งบริหารอื่นๆในสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
และได้กำหนดมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ของ ผู้บริหารการศึกษา ไว้ในข้อ 7 ดังนี้
ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา ต้องมีมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
(ก) มาตรฐานความรู้ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
1.หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา
2.นโยบายและการวางแผนการศึกษา
3.การบริหารด้านจัดการศึกษา
4.การประกันคุณภาพการศึกษา
5.การนิเทศการศึกษา
6.การพัฒนาหลักสูตร
7.การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
8.การวิจัยทางการศึกษา
9.คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษา
นอกจากคุณวุฒิตามวรรคหนึ่งต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการศึกษาที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง
(ข) มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
1.มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่าแปดปี หรือ
2.มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีหรือ
3.มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาที่ไม่ต่ำกว่าระดับกองหรือ
เทียบเท่ากองมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี หรือ
4.มีประสบการณ์ในตำแหน่งบุคลากรทางศึกษาอื่น ตามที่กำหนดในกฏกระทรวง
มาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี หรือ
5.มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอน และมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารนอกสถานศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฏกระทรวงรวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
และใน หมวด 2 ได้กำหนด มาตรฐานการปฏิบัติงาน ของของ ผู้บริหารสถานศึกษา และ ผู้บริหารการศึกษา ไว้ในข้อ 11 ดังนี้
ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา และ ผู้บริหารการศึกษาต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
1.ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษา
2.ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาของบุคลากรผู้เรียน และชุมชน
3.มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ
4.พัฒนาแผนงานขององค์การให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
5.พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ
6.ปฏิบัติงานขององค์การโดยเน้นผลถาวร
7.รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
8.ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
9.ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์
10.แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
11.เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ
12.สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์
และในหมวด 3 จรรยาบรรณของวิชาชีพ ข้อ 13 ได้กล่าวว่า ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (ซึ่งครอบคลุมทั้ง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ครู และ บุคลากรทางการศึกษาอื่น) ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ดังรายละเอียดดังนี้
1 จรรยาบรรณต่อตนเอง ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์วิชาชีพ
3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3.1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
3.2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3.3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
3.4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
3.5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
5.จรรยาบรรณต่อสังคม ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เป็นที่สังเกตว่าในข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 นี้ได้แยก ผู้บริหารสถานศึกษา กับ ผู้บริหารการศึกษา ออกจากกันดังกล่าวในตอนต้น
ส่วน ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ที่กล่าวไว้ในหมวด 3 จะครอบคลุมทั้ง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ครู และ บุคลากรทางการศึกษาอื่น ด้วย และ บุคลากรทางการศึกษาอื่น นั้นหมายถึงบุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา

ผู้บริหารตามเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบของ สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดทำเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารต้นแบบไว้ ซึ่งมี 2 ข้อใหญ่ ดังนี้
1.ความสามารถในการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้
2. การครองตน ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ยอมรับจากสังคม
จาก 2 ข้อใหญ่นี้ มีรายละเอียดย่อยๆอีก ดังนี้
1.ความสามารถในการบริหารจัดการที่ส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยพิจารณาจาก
1.1 ผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารที่ได้มาตรฐาน มีรายละเอียดอีก 8 ข้อย่อย ดังนี้
1.1.1 ผู้บริหารสถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้างการบริหารงาน อย่างเป็นระบบ ครบวงจร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการศึกษา มีปรัชญา แผนพัฒนา / ธรรมนูญสถานศึกษา แผนการดำเนินงานของสถานศึกษา และตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.1.2 ผู้บริหารสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
1.1.3 ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมความสัมพันธ์ และ
ความร่วมมือกับกรรมการสถานศึกษา และชุมชนในการพัฒนาการศึกษา และมีบทบาทในการส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Community)
1.1.4 ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และปลอดภัยของผู้เรียน
1.1.5 ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมและพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครูมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ คิดวิเคราะห์และสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
1.1.6 ผู้บริหารสถานศึกษาจัดให้มีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
1.1.7 ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับหลักสูตรและความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
1.1.8 ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.2 ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำในลักษณะเป็นผู้นำทางวิชาการ (Instructional Leadership)
1.3 ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้อำนวยความสะดวกแก่บุคลากรในโรงเรียนและผู้เรียน
1.4 ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการปฏิรูปการเรียนรู้
1.5 ผู้บริหารสถานศึกษามีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาให้ทันกับ-
ความเปลี่ยนแปลง มีศักยภาพในการพึ่งตนเอง สามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
1.6 ผู้บริหารสถานศึกษามีผลงานดีเด่นด้านส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามมาตรฐาน โดยแยกเป็นข้อย่อยอีก 7 ข้อย่อย ดังนี้
1.6.1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
1.6.2 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตอง และมีวิสัยทัศน์
1.6.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
1.6.4 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
1.6.5 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และมีเจตนคติต่ออาชีพที่สุจริต
1.6.6 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
1.6.7 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ มีคุณลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
2. การครองตน ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม เป็นที่ยอมรับจากสังคม พิจารณาจากข้อย่อย 4 ข้อย่อย ดังนี้
2.1 ผู้บริหารสถานศึกษาอุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2.2 ผู้บริหารสถานศึกษามีความเมตตา กรุณา มีความรับผิดชอบ ยุติธรรม ซื่อสัตย์
2.3 ผู้บริหารสถานศึกษามีการครองตนที่ดี ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข สิ่งเสพย์ติด
1.1 ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับความศรัทธา ยอมรับด้านคุณธรรม จริยธรรมจากนักเรียน ครู เพื่อนผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บังคับบัญชา กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
นักบริหารการศึกษามืออาชีพ ควรใช้ เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ ทั้ง 2 ข้อใหญ่นี้ ไปวิเคราะห์ตัวเองได้เช่นกัน

คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ
ของ สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทําหลักสูตร “ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ” โดยกําหนดคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพไว้ 6 ประการ คือ
1. การเป็นผู้นําที่มีคุณธรรม จริยธรรม ในเรื่องต่อไปนี้
1.1 คุณธรรม จริยธรรมสําหรับผู้บริหารมืออาชีพ
1.2 การบริหารบุคคลตามแนวคิดของศาสนา
1.3 การบริหารจัดการภูมิปัญญาไทย เพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
2. การเป็นผู้นำด้านการจัดระบบ ในเรื่องต่อไปนี้
2.1 การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้
2.2 การจัดและใช้ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร
2.3 การจัดระบบเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2.4 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ
3. การเป็นผู้นําด้านวิชาการ ในเรื่องต่อไปนี้
3.1 การพัฒนาหลักสูตรเพื่อความเป็นเลิศ
3.2 การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนรู้
3.3 การพัฒนาครูตามแนวปฏิบัติการศึกษา
3.4 การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ
3.5 การประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
4. การเป็นผู้นําด้านการบริหารจัดการ ในเรื่องต่อไปนี้
4.1 การวางแผนกลยุทธ์ เป็นการวางแผนเพื่อนำองค์การไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ ก้าวสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการในอนาคต การวางแผนกลยุทธ์จึงเป็นการวางแผนในภาพรวมขององค์การ ทุกกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นเป็นปัจจัยที่ชี้อนาคตขององค์การนั้น
4.2 การบริหารแบบมีส่วนรวม
4.3 ผู้บริหาร : ผู้นําการเปลี่ยนแปลง
4.4 การบริหารความขัดแย้ง
4.5 การบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
4.6 เทคนิคการบริหารจัดการแนวใหม่
5. การเป็นผู้นําด้านสังคมและชุมชน ในเรื่องต่อไปนี้
5.1 การบริหารจัดการโรงเรียน เพื่อชุมชนและสังคม
5.2 การบริหารในบริบทที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม

6. การเป็นผู้นําการพัฒนาตนเองในเชิงบริหาร ในเรื่องการพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นผู้บริหารมืออาชีพ
คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ของ สถาบันพัฒนา
ผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 6 ข้อนี้ เป็นคุณลักษณะของนักบริหารการศึกษามืออาชีพเช่นกัน
คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต การบริหารการศึกษา ของ สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา
ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต การบริหารการศึกษา ของ สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้บริหารมืออาชีพ เพื่อปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสําเร็จโดยกําหนด คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ที่สําคัญไว้ 6 ประการ ดังนี้
1.เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง
2. มีจิตวิญญาณนักบริหาร
3. เป็นผู้นําทางการศึกษา
4. มีความรู้ความสามารถในการบริหาร
5. มีผลงานที่แสดงถึงความชํานาญการในการบริหารสถานศึกษา
6. นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร
ทั้ง 6 ประการมีรายละเอียดดังนี้
1.เป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง หมายถึงผู้บริหารมืออาชีพจะต้องเป็นผู้ที่มี “ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์” เพื่อให้การบริหารสถานศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น และเจริญรุดหน้าไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างรวดเร็ว เพราะวิทยาการต่าง ๆ ในโลกก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล จะเป็นพื้นฐานสําคัญที่จะช่วยให้ ผู้บริหารมืออาชีพมี “วิสัยทัศน์” สามารถกําหนดภาพอนาคตของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจนและเหมาะสมกับยุคสมัย ตลอดจนกําหนดกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อนําสถานศึกษาไปสู่จุดหมายนั้น
2.มีจิตวิญญาณนักบริหาร ผู้บริหารมืออาชีพจะต้องมีจิตวิญญาณนักบริหาร อย่างน้อย 3 ประการย่อยๆคือ
2.1 อุทิศตนเพื่อหน้าที่ เป็นผู้ที่มีรักและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มุ่งมั่น ขยัน อดทน และเสียสละที่จะทํางานในหน้าที่ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนําสถานศึกษาไปสู่ความสําเร็จในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพอย่างสมบูรณ์ตามจุดหมายของการปฏิรูปการศึกษา
2.2 มีความเป็นปัญญาชน เป็นผู้ที่ดําเนินชีวิตและทํางานในหน้าที่โดยใช้ “ปัญญา” พิจารณาด้วยเหตุผล ตามหลักกาลามสูตร ไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ โลภ โกรธ หลง และความลําเอียงด้วยอคติต่าง ๆ มีจิตใจที่เข้มแข็งหนักแน่นในเหตุผลแห่งความถูกต้อง ในความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม
2.3 บริหารตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นผู้ที่ให้ความสําคัญต่อการประพฤติปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างที่ดีในทุกด้าน ทั้งด้านความเก่ง ความดี และความมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิตในฐานะที่มีหน้าที่เป็นผู้นําในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยยึดหลักว่า “จะพัฒนาใครเขาต้องพัฒนาตัวเราก่อน” นอกจากนี้ การพัฒนาตนให้มี “ภูมิรู้ ภูมิธรรม และภูมิฐาน” ยังช่วยให้ ผู้บริหารได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ทําให้ การบริหารได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายและประสบความสําเร็จสูงขึ้น
3.เป็นผู้นําทางการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ จะต้องเป็นผู้มี “ภูมิรู้” ทางด้านการศึกษา เห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับสภาวะแวดล้อมในสังคม สามารถวิเคราะห์ ปัญหาและแนวโน้มทางการศึกษาของไทยได้อย่างชัดเจน มีความเป็นผู้นำในการปฏิรูปการศึกษา เป็นผู้นำทางวิชาการ และเป็น ผู้นำในการบริหารคุณภาพการศึกษา
4. มีความรู้ความสามารถในการบริหาร ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ นอกจากจะต้องมี “ภูมิรู้ ” ทางด้านการศึกษาแล้วยังต้องมี “ภูมิรู้ ” ทางด้านการบริหารอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ ในหลักการบริหาร เทคนิคการบริหาร และ การวางแผนกลยุทธ์ ตลอดจนสามารถนํา “หลักวิชา” ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ประสบความสําเร็จ ในการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูง
5.มีผลงานที่แสดงถึงความชํานาญการในการบริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ จะต้องมีความสามารถในการใช้ ศาสตร์ และศิลปะในการบริหาร มาพัฒนาการบริหารงานด้านต่างๆ ภายในสถาบันการศึกษาให้ประสบความสําเร็จ สู่ความเป็นเลิศในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีความสามารถในการบริหารทรัพยากร ทั้งบุคคล เงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ และอาคารสถานที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดสูงสุด
6.นํานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร ผู้
บริหารสถานศึกษามืออาชีพในยุคปัจจุบัน จะต้องรู้จักนํานวัตกรรมและ
เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาผู้เรียนประสบความสําเร็จ มีคุณภาพสมบูรณ์ ทั้งเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และมีความสุขในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ท่านมีคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพดังกล่าวข้างต้นครบถ้วนหรือยัง หากขาดตกบกพร่องก็เสริมเพิ่มเติม หากมีครบถ้วนแล้วก็พัฒนาให้มีมากยิ่งขึ้น การปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษาของท่านก็จะประสบความสําเร็จสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อนําไปสู่การพัฒนาประเทศชาติอันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราทุกคน

Followers