เปิดนโยบายรัฐบาล "อภิสิทธิ์
หมาย เหตุ นโยบายรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่จะมีการแถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 29 - 30 ธ.ค.นี้ โดยวันนี้ (23 ธ.ค.) คณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบร่างแถลงนโยบาย ซึ่งมีความหนา 36 หน้า แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยที่น่าสนใจคือ การตั้งองค์กรถาวรแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดแดนภาคใต้ กำหนดเป็นเขตพัฒนาพิเศษ เน้นการปลูกฝังค่านิยม "คนไทยต้องไม่โกง"
นโยบายรัฐบาล ระยะ ที่ 1 หรือ ระยะ เร่งด่วนที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 1 ปี
1. การพัฒนาความเชื่อมั่น และกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม โดยการเสริมสร้างความสมานฉันท์ และความสามัคคีของคนในชาติให้เกิดขึ้นโดยเร็ว รับฟังความเห็นของทุกฝ่าย จัดให้มีสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดแดนภาคใต้ พร้อมทั้งกำหนดเป็นเขตพัฒนาพิเศษ มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษ ด้านภาษี พัฒนาเขตอุตสาหกรรมฮาลาล ที่สำคัญกำหนดเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม และส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางอิสลามการศึกษานานาชาติ เน้นการปฏิรูปการเมือง มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูปโดยการมีส่วนร่วมของ ประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย
เร่งสร้างความ เชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาชาวโลก โดยจะมีการเร่งลงนาม ข้อตกลงในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนให้แล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือน ก.พ.นี้ ฟื้นฟูเเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจะมีการออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุมภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การส่งออก รวมถึงอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมกับทำงบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติมประจำปี พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยจะมีการปรับแผนงบประมาณ รายจ่ายปี 2552 ที่มีอยู่แล้ว ในการจัดอบรมและสัมมนา ให้กระจายทั่วประเทศเร่งลงทุน เพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด
เร่งสร้างบรรยากาศในการลงทุน เน้นการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
2. การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน เน้นความร่วมมือของภาคเอกชน ในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้าง และป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้าง ในภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่ เล็กและย่อม ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงาน จากภาคอุตสาหกรรม และนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานว่างงาน กว่า 5 แสนคน ในระยะเวลา 1 ปี เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือความเดือดร้อนของลูกจ้าง และผู้ว่างงานจากวิกฤติเศรษฐกิจ โดยจะเร่งให้ได้สิทธิประโยชน์ที่พึ่งได้ตามกฎหมายโดยเร็ว
การ เพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และให้ผู้ถูกเลิกจ้างเข้าถึงแหล่งทุน สร้างหลักประกันด้านรายได้ ให้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอ โดยจัดเบี้ยเลี้ยงยังชีพให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยการขอขึ้นทะเบียนขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดาน ให้กู้ยืมจากกองทุนผูสูงอายุ เป็น 30,000 ต่อราย
เพิ่ม มาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชน และกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากโดยการตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอ เพียง จัดสรรวงเงินเพิ่มจากที่เคยให้ เร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณอย่างรวดเร็ว ดำเนินการมาตรการรักษาเสถียรภาพ ราคาสินค้าเกษตร ผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้มีประสิทธิภาพ เร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร เร่งรัดและพัฒนาตลาด ระบบการจ่ายสินค้า ของสินค้าเกษตร และสินค้าชุมชน
จัดตั้ง สภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วม ในการรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน (อสม.)ทั่วประเทศ โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
3.การลดภาระค่าครอง ชีพของประชาชน ให้ทุกคนมีโอกาสรับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราฟรี ชุดนักเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 ทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อชดเชยรายการต่าง ๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง กำกับดูแลราคาสินค้า อุปโภค บริโภค และบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม ดำเนินการมาตรการลดภาระค่าครองชีพ ของประชาชนในการเดินทางก๊าซหุงต้ม การบริการด้านสาธารณูปโภคให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ บนหลักการของการประหยัด
4. ตั้งคณะกรรมการ รัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ (กรอ.) เพื่อเร่งรัดติดตามแก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการ โครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเร็ว
ระยะที่ 2 บริหารราชการเป็นเวลา 3 กำหนดไว้ดังนี้

1. เร่งนโยบายความมั่นคงของรัฐด้วยการปกป้อง เทิดทูนพระมหากษัตริย์ เสริมสร้างพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศให้มีความพร้อม ในการรักษาเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน คุ้มครองผลประโยชน์ของชาติ เตรียมความพร้อมของกองทัพ ฝึกกำลังพลให้เกิดความชำนาญ จัดให้มีแผนสำรองอาวุธ และพลังงานเพื่อความมั่นคง ปรับสิทธิประโยชน์ กำลังพล เบี้ยเลี้ยง และค่าเสบียงสนาม ของทหารหลัก และทหารพราน ให้สอดคล้องกับสภาวเศรฐกิจ เร่งแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี ให้ความสำคัญกับการสำรวจ และการปักปันเขตแดน กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างถูกต้อง ตามข้อตกลง และสนธิสัญญากับประเทศเพื่อนบ้าน แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ ปัญหาแรงงานต่างด้าว เสริมสร้างศักยภาพในการจัดการปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ และพร้อมที่จะแก้ไขปัญหา การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติทุกรูปแบบ ตลอดจนพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับนานาชาติในกรอบสหประชาชาติ
2. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต เน้นนโยบายด้านการศึกษา มีการปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พัฒนาบุคลากร เน้นการเรียนรู้มมุ่งคุณธรรม และมีการกระจายอำนาจทุกภาคส่วน ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา โดยเน้นระดับอาชีวะ และอุดมศึกษา พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ดูแลคุณภาพชีวิตของครู ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู จัดให้ทุกคนมีโอกาสศึกษาฟรี ตั้งแต่อนุบาลไปจนมัธยมปลาย ยกระดับมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวะศึกษา และอุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีการประนอม และไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้วขยายกองทุนให้กู้ยืม เพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้น ให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษา ระดับอาชีวะ และปริญญาตรีเพิ่มขึ้น ที่สำคัญ เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษา เน้นเรื่องการวิจัย ปรับเกณฑ์มาตรฐาน ส่งเสริมความเป็นเลิศ ของมหาวิทยาลัย เป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค ที่เน้นการวิจัย และแก้ปัญหา
นโยบาย แรงงาน เน้นการแก้ไขแรงงานทั้งระบบได้มาตรฐาน แรงงานต้องได้สิทธิคุ้มครองให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความเข้มแข็ง ยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อให้ไปทำงานในต่างประเทศได้อย่างมีคุณภาพ จัดตั้งสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน มีสถานดูแลเด็กอ่อนในสถานประกอบการ จัดระบบแรงงานต่างด้าวให้สอดคล้องกัยภาคผลิต ไม่กระทบแรงงานไทย ส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุ และผู้พิการ
นโยบายด้าน สาธารณสุข ส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนา บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนเพื่อให้กลับมาทำงานในท้องถิ่น สร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคที่กลายพันธุ์ และเป็นสายพันธุ์ใหม่ อย่างทันต่อสถานการณ์ไม่ให้ระบาดซ้ำ ปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุข โดยการลงทุนพัฒนา ระบบบริการสาธารณสุขภาครัฐให้มีมาตรฐานทุกระดับ ยกระดับสถานีอนามัย เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ทำให้ระบบประดันสุขภาพเชื่อมโยงระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อให้ประชาชนมีทางเลือก และการบริการครอบคลุม ลงทุนผลิต และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ พร้อมทั้งสนับสนุนเทคโนโลยีด้านสุขภาพให้ทันสมัย ปรับปรุงระเบียบ เพื่อให้มีรายได้และค่าตอบแทนที่เหมาะสม และผลักดัน การขับเคลื่อนให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ ในระดับนานาชาติ
นโยบาย ด้านศาสนา ศิลป และวัฒนธรรม ส่งเสริมการทำนุ บำรุง ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และภูมิปัญญาไทย ส่งเสริมค่านิยมที่ดีงาม เรียนรู้ให้มีการเผยแพร่สู่สังคมโลกสร้างความเป็นเอกลักษณ์
นโยบายด้าน สวัสดิการและความมั่นคงของมนุษย์ เน้นแก้ไขปัญหาความยากจน จัดหาที่ดินทำกินให้ผู้มีรายได้น้อย ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน ยืดระยะเวลาชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระดอกเบี้ย เร่งรัดให้มีการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ สร้างความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ป้องกันปัญหาอาชญากรรมนโยบายการ กีฬา และนันทนาการ ส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มออกกำลังกาย พัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ ตั้งศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ นำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้เพื่อยกมาตรฐานให้ทัดเทียมนานาชาติ
3.นโยบาย เศรษฐกิจ เน้นนโยบาบบริการเศรษฐกิจมหภาค สนับสนุนให้เศรษฐกิจมีการเจริญอย่างต่อเนื่อง สร้างเสถียรภาพอย่างมั่นคงของสถาบันการเงิน และสร้างความร่วมมือทางการเงิน ภายใต้กรอบการประชุมสุดยอมอาเซียน พัฒนาตลาดทุน และระบบสถาบันการเงินให้เข้มแข็ง สามารถรองรับผลกระทบจาความผันผวนของสภาวะการเงินโลก ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณของประเทศ ให้สอดคล่องกับกำลังเงินของแผ่นดิน ปรับปรุงโครงสร้างภาษีและการจัดเก็บภาษีให้มีความเป็นธรรมโปร่งใส กำหนดกรอบลการลงทุนภาครัฐ รวมทั้งพัฒนาเครื่องมือ และกลไกการระทุนให้มีประสิทธิภาพ ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดประโยชน์สุงสุด ลดต้นทุนการผลิตและการดำเนินการ
นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในส่วนของ ภาคการเกษตร เน้นเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร และพัฒนาระบบโลจิสติกส์เกษตร ส่งเสริมอาชีพ และการนขยายโอกาสการทำประมงทั้งชายฝั่งและประงมงน้ำจืด จัดตั้งองค์กรระดับชาติเพื่อแก้ไขปและพัฒนาประมงประเทศ พัฒนาศักยภาพปศุสัตว์ โดยปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เศรษฐกิจ เช่น โค กระบือ ดูแลสินค้าการเกษตร โดยมีระบบประกันความเสี่ยงด้านราคาสินค้า ผลักดันให้มีการเปิดตลาดสินค้าการเกษตรแห่งใหม่ให้ครอบคลุมทั่วโลก ส่งเสริมเพิ่มมูลค่าเกษตรโดยการส่งเสริมการวิจัย พัฒนามาตรฐาน และความปลอดภัยสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร สร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยเน้นตามแนวทางพระราชดำริ มีธนาคารโค กระบือ สนับสนุนแนวทางเกษตรอินทรีย์ แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพ ความเป็นอยู่ของเกษตรกร
ภาคอุตสาหกรรม เน้นสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า เน้นการวิจัยระหว่างรัฐกับเอกชน เพื่อพัฒนาสินค้า กำพหนดมาตรฐาน อุตสาหกรรมการผลิต เครื่องจักรในประเทศ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร และอัญมณี โดยส่งเสริมด้วยการลดต้นทุนทางภาษี คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญหา เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะ ตามความต้องการของตลาด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยคำนึงถึงความอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนของชุมชน ส่วนเสริมให้อุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคม เน้นคุณภาพมาตรฐานรักษาสิ่งแวดล้อม
ภาคการท่องเที่ยวและการบริการ เพิ่มความหลากหลายของธุรกิจบริการ พัฒนาฝีมือบริการในด้านคุณภาพ และภาษา พัฒนาแหล่งท่อมเที่ยวทั้งของรัฐ และเอกชน ให้ยังคงสภาพ เป็นจุดขาย โดยเน้นตามกลุ่มจังหวัด ให้มีความเหมาะสม เช่น กทม. ที่ทรงเสน่ห์ อันดามัน เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก ภาคเหนือเป็นศูนย์กลางอารยธรรมล้านนา ภาคอีสาน เป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม และชายแดน ภาคกลางเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวอารยธรรม มรดกโลก และมรดกธรรมชาติ มีการพัฒนามาตรฐานธุรกิจการท่องเที่ยว เช่นโรงแรมพนักงาน บริษัทนำเที่ยวอาหาร เสริมสร้างความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว เน้นการประชาสัมพันธ์ สนับสนุนจุดขายที่มีความโดดเด่นให้เป็นศูนย์กลางระดับโลก โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมรักษาสภาพแวดล้อม ให้คงอยู่ต่อไป
ด้านการตลาด การค้า และการลงทุน ส่งเสริมระบบการค้าเสรี และเป็นธรรม มีการบังคับใช้กฎหมายแข่งขันทางการค้า เพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด ตัดตอน รวมทั้งออกกฎหมายค้าปลีก เพื่อกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกอย่างเป็นระบบ ขยายฐานการตลาดไปสู่ประเทศใหม่ เช่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชีย และพัฒนาระบบการกระจายสินค้าให้เกิดความรวดเร็ว ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการเค้าเสรี ทั้งในระดับทวิภาค และพหุภาคี ปรับปรุงมาตรฐานการนำเข้า เพื่อป้องการกัารค้าไม่เป็นธรรม การทุ่มตลาด ส่งเสริมการลงทุนภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะด้านอาหาร อุตสาหกรรมภาพยนต์ พร้อมทั้งสนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศ ในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ปรับปรุงและเร่งรัด กระบวนการพิจารณา อุทธรณ์เรื่องภาษี โดยยกระดับหน่วยงานที่พิจารณาเรื่องอุทธรณ์ จากระดับกรม ขึ้นมาในระดับกระทรวง และให้ตัวแทนภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณา ตัดสินอุทธรณ์ เช่นเดียวกับผู้พิพากษาสมทบ รวมทั้งมีการกำหนดเวลาแน่นอนในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์
นโยบายการพัฒนาโครง สร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยการขยายสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน พัฒนาระบบคมนาคม ขนส่ง แบบโลจิสติกส์ พัฒนาระบบโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนใน กทม. และปริมณฑลให้สมบูรณ์ สามารถเชื่อมต่อชานเมือง พัฒนาระบบรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเส้นทางที่มีปริมาณการขนส่งหนาแน่น พัฒนากิจการพานิชย์นาวี และโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำ เพื่อเพิ่มสัดส่วนในการขนส่งทางน้ำมากขึ้น พัฒนาและขยายความสามารถการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค พัฒนาระบบขนส่งระบบโลจิสติกส์ ในภูมิภาค และเชื่อมโยงกับโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามแนวเศรษฐกิจเหนือ - ใต้ แนวเศรษฐกิจ ตะวันออก - ตะวันตก โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมอ่าวไทย และอันดามัน โครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย รวมทั้งปรับปรุงอำนวยความสะดวกทางการค้า การขนส่งสินค้า ตามจุดชายแดนสำคัญ เช่น ด่านหนองคาย แม่สอดมุกดาหารสระแก้วด่านสิงขรและช่องเม็ค
นโยบาย ด้านพลังงาน พัฒนาให้ไทยสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น จัดหาพลังงานทดแทน และมีเสถียรภาพ ส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก สนับสนุนใช้พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล กำกับดูแลราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมีเสถียรภาพ เป็นธรรมต่อประชาชน ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน ทั้งภาครัฐเรื่องอุตสาหกรรม บริการและขนส่ง เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน เน้นการใช้พลังงานสะอาด เพื่อไม่ให้กระทบสิ่งแวดล้อมลดเรือนกระจก
นโยบายเทคโนโยโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร พัฒนาโครงข่าวสื่อสารพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งการพัฒนา ศักยภาพของบุคลากร ในอุตสากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์
4. นโยบายที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยเน้นการคุ้มครองทัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่า เน้นการฟื้นฟูอนุรักษ์ระบบนิเวศ เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ จัดให้มีระบบป้องกัน เตือนภัย และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัย ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ควบคุมของเสียที่จะเกิดมลพิษด้วยการหามาตรการจูงใจในเรื่องภาษีและสิทธิต่าง ๆ จากผู้ประกอบการเพื่อลดปัญหาโลกร้อน และมลพิษ ให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง
5. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เน้นการวิจัยตามแนวพระราชดำริ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพานิชย์ และอุตสาหกรรม เร่งรัดผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดให้มีกองทุนวิจัยร่วมภาครัฐและเอกชน ที่รัฐลงทุนร้อยละ 50 และจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เอกชนที่เข้าร่วมงานวิจัย
6.นโยบายด้าน การต่างประเทศ และเศรษฐกิจการต่างประเทศ โดยการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านในทุกมิติ เร่งรัดแก้ปัญหาข้อพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค สร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนเพื่อให้บรรลุข้อตกลงอาเซียนในวาระที่ไทยเป็น ประธานอาเซียน ส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศมุสลิม และแนวทางแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระชับความร่วมมือ และความเป็นหุ้นส่วน ทางยุทธศาสตร์ กับประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก และประเทศคู่ค้าของไทยในภูมิภาค ร่วมกันแสวงหาตลาดใหม่ ส่งเสริมเข้าร่วม ในข้อตกลงระหว่างประเทศ ทั้งทวิภาคี และพหุภาคี เร่งรัดการให้สัตยาบันในข้อตกลงที่ได้ลงนามไว้แล้ว สร้างความเชื่อมั่นของต่างชาติต่อประเทศไทยโดยเร็ว คุ้มครองสิทธิประโยชน์และผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ
7.นโยบายการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เน้นประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน สนัลสนุนการกระจ่ายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น และการกระจายอำนาจสู่การปกครองท้องถิ่น ปรับบทบาท และภารกิจ การบริหารระหว่างส่วนกลาง กับส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจน ไม่ให้ซ้ำซ้อน มีการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ สนับสนุนให้มีการบริหารท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ปรับเงินเดือนค่าจ้างค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เหมาะสมกับความสามารถ
นโยบายด้านกฎหมาย ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่ล้าสมัย และเปิดช่องให้เกิดการทุจริตคอรัปชั่น และมีผลประโยชน์ทับซ้อน ขยายและยกเลิกอายุความ ในคดีอาญาบางประเภท และคดีทุจริต ปราบปรามการทุจริตทุกระดับ สนับสนุนให้ประชาชน ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากขึ้น พร้อมทั้งเน้นการปลูกฝังค่านิยม " คนไทยต้องไม่โกง" พัฒนาระบบยุติธรรมให้สะดวก มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส จัดให้มีการตั้งองค์กร ประนอมข้อพิพาท มีกระบวนการชะลอการฟ้องสำหรับคดีประมาท และคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3ปี เป็นอย่างน้อย พัฒนาระบบกฎหมายให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและสังคม เร่งดำเนินการจัดตั้ง องค์กร เพื่อปฏิรูปกฎหมาย และองค์กรเพื่อปฏิรูปแกระบวนการยุติธรรม สนับสนุน และพัฒนาตำรวจ ให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และเป็นตำรวจมืออาชีพ ที่มีเกียรติ และศักดิ์ศรี รวมทั้งดำเนินการ ให้มีการกระจายอำนาจ ของตำรวจไปยังภูมิภาค เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารกระบวนการยุติธรรมรวมทั้งให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการติดตาม ประเมินผลการทำงาน ของตำรวจ อัยการ และผู้ใช้ อำนาจรัฐอื่น ๆ
นโยบายด้านสื่อ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลทางราชการ และสาธารณอย่างกว้างขวาง ปรับปรุงกลไกการสื่อสารภาครัฐ ให้ดำรงบทบาทสื่อเพื่อประโยชน์สาธารณะ และสร้างความสมานฉันท์ในชาติ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมนชนมีส่วนเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นประโชย์ต่อสาธารณะ ที่มีกิจกรรมตอบแทนเชิงพาณิชย์ต่ำ โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ และจัดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ เพื่อให้สื่อมีเสรี ปราศจากการแทรกแซง มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งยกเลิกและปรับปรุง กฎหมาย ที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชนตามรัฐ


นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ ว่าด้วยมาตรการเร่งด่วน 1 ปี
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาล ต่อรัฐสภาในวันที่ 30 ธันวาคม 2551 มีเนื้อหาทั้งสิ้น 36 หน้าขอนำเสนอในส่วนของมาตรการเร่งด่วนระยะ1ปี
รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 4 ประการคือ
หนึ่ง ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง
สอง สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน
สามฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ
สี่ พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ 3 ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังต่อไปนี้
1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก
1.1 การสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ภาคประชาชนและเอกชนในการลงทุนและการบริโภค
1.1.1 เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยใช้แนวทางสันติ รับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย และหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติในทุกกรณี รวมทั้งการฟื้นฟูระเบียบสังคมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แก่ทุกฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนองค์กรตามรัฐธรรมนูญให้มีส่วนร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ ภายใต้กรอบของบทบาท
1.1.2 จัดให้มีสำนักงานบริหาราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โดยยึดมั่นหลักการสร้างความสมานฉันท์ และแนวทาง เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ใช้กระบวนการยุติธรรมกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม กำหนดจังหวัดชายแดนเป็นเขตพัฒนาพิเศษ ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิพิเศษด้านภาษี และพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมฮาลาล นอกจากนั้นกำหนดเป็นพัฒนาพิเศษตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม
1.1.3 ปฏิรูปการเมืองโดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการปฏิรูป โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อวางระบบการบริหารประเทศให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในแนวทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
1.1.4 เร่งสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทยในสายตาของชาวโลก โดยให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมืออาเซียนเป็นลำดับแรก และร่วมมือกับรัฐสภาในการพิจารณาอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยใน ฐานะสมาชิกประชาคมอาเซียนจะต้องลงนามในช่วงของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2552 และเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน
1.1.5 ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่กำลังประสบปัญหาเป็นการเร่งด่วน โดยจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้นที่ครอบคลุม ภาคเกษตรและเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ การสร้างงานและสร้างรายได้ในชนบท การพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติและฟื้นฟูทรัพยากร ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม พร้อมทั้งจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเม็ดเงินของรัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและเพื่อให้ สามารถบรรเทาภาวะความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจได้
1.1.6 เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ และเร่งรัดมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยการดำเนินร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่อง เที่ยวต่างชาติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศ และปรับแผนงบประมาณของส่วนราชการที่ได้รับงานประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552 อยู่แล้วเพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้กระจายทั่วประเทศ รวมทั้งลดหย่อนค่าธรรมเนียมและค่าบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อ ดึงดูดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
1.1.7 เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ การลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบบริการสุขภาพที่มุ่งสู่การป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2552 โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การรักษาสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการรักษาวินัยการคลังของประเทศรวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
1.2 การรักษาและเพิ่มรายได้ของประชาชน
1.2.1 ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัว ของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม โดยใช้มาตรการจูงใจเพื่อลดภาระของภาคเอกชนในการชะลอการเลิกจ้างงาน
1.2.2 ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเฉพาะหน้า เพื่อรองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ โดยจัดโครงการฝึกอบรมแรงงานที่ว่างงานประมาณ 500,000 คน ในระยะเวลา 1 ปี ตามกลุ่มความถนัดและศักยภาพ และรองรับแรงงานกลับสู่ภูมิลำเนา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่วิสาหกิจและ ธุรกิจชุมชน
1.2.3 เร่งรัดดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ถูกเลิกจ้างและผู้ว่าง งานอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการดูแลให้ได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้ตามกฎหมายโดยเร็ว การหางานใหม่ การส่งเสริมอาชีพอิสระ การสร้างงาน และการเพิ่มพูนทักษะเพื่อปรับเปลี่ยนอาชีพ รวมทั้งการจัดสวัสดิการที่จำเป็น เช่น การเพิ่มวงเงินให้กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง และการดำเนินโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างงานและจัดที่ทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน สำหรับแรงงานนอกภาคเกษตรที่ถูกเลิกจ้างให้คืนสู่ภาคเกษตร
1.2.4 สร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ที่มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยจัดสรรเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่แสดงความจำนงโดยการขอขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับการสงเคราะห์ รวมทั้งขยายเพดานให้กู้ยืมจากกองทุนผู้สูงอายุเป็น 30,000 บาทต่อราย
1.2.5 เพิ่มมาตรการด้านการคลัง เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ของประชาชนและกระตุ้นธุรกิจในสาขาที่ถูกผลกระทบ
1.2.6 สร้างรายได้และศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง และจัดสรรเงินเพิ่มเติมให้จากวงเงินที่เคยจัดสรรให้เดิม เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติระดับชุมชน ลดต้นทุนปัจจัยการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเร่งรัดและลดขั้นตอนของภาครัฐเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายงบฯได้ อย่างรวดเร็ว
1.2.7 ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรผ่านกลไกและเครื่องมือของรัฐให้ มีประสิทธิภาพ และเร่งสร้างระบบประกันความเสี่ยงทางการเกษตร ทั้งระบบประกันความเสี่ยงราคาพืชผลผ่านกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตร และระบบประกันภัยพืชผลอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ
1.2.8 เร่งรัดและพัฒนาตลาดและระบบการกระจายสินค้าของสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออก
1.2.9 จัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเสนอนโยบายและวางแผนพัฒนาการเกษตรอย่างเป็น ระบบ และมีระบบการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งของเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน
1.2.10 ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่น/ชุมชน การดูแลเด็กผู้สูงอายุ คนพิการ การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้กับ อสม.เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมี ประสิทธิภาพ
1.3 การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน
1.3.1 ให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี โดยสนับสนุนตำราในวิชาหลักให้กับทุกโรงเรียน จัดให้มีชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนฟรีให้ทันปีการศึกษา 2552 และทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อชดเชยรายการต่างๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บจากผู้ปกครอง
1.3.2 กำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ ให้มีราคาที่เป็นธรรม สะท้อนต้นทุนอย่างเหมาะสมและไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
1.3.4 ใช้กองทุนน้ำมันในการรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการใช้น้ำมันอย่าง ประหยัด
1.4 ตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตาม แก้ไขปัญหา ลดขั้นตอนในการปฏิบัติ และกำหนดมาตรการและโครงการ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะเร่งด่วน
เจาะนโยบายรัฐบาล 'อภิสิทธิ์1' ชูเศรษฐกิจพอเพียงกู้วิกฤติ!
ทันทีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 อย่างเป็นทางการเขาได้ประกาศชัดว่าต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยให้กระเตื้องขึ้นมาได้ โดยคาดหมายกันว่าตัวบุคคลของคณะรัฐมนตรีชุดนี้คงไม่ขี้เหร่มากนัก ในขณะที่นโยบายรัฐบาล ได้เตรียมจะแถลงต่อรัฐสภาให้ได้ก่อนสิ้นเดือนธันวาคมนี้ โดยจะต้องเป็นนโยบายที่ปฏิบัติได้จริงไม่เพ้อฝัน
นายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นเดินสายพบปะทั้งภาคเกษตรกร นักธุรกิจ นายธนาคาร เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแนวทาง แล้วนำไปจัดทำนโยบายของรัฐบาล พร้อมๆกับ แผนปฏิบัติการเร่งด่วน 99 วัน เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจ
เร่งแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังรับพระบรมราชโองการถึงปัญหาเศรษฐกิจว่า จะต้องเร่งแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ครอบคลุมทุกส่วน เช่น แก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ คนตกงาน ฟื้นการท่องเที่ยว ภาคอสังหาริมทรัพย์ให้กับประชาชนมีกำลังซื้อ โดยอาศัยงบประมาณกลางปีแสนล้านบาทมาดำเนินการ
ขณะเดียวกันก็พร้อมปล่อยสินเชื่อภาคธุรกิจให้เกิดสภาพคล่อง รวมทั้งปัญหายางพาราที่ตกต่ำ จะเข้าไปแทรกแซงตลาด โดยจะซื้อนำไปเก็บใน
สต๊อก แก้ปัญหายางล้นตลาดและดึงระดับราคาให้สูงขึ้น และย้ำถึงการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ที่ต้องจัดตั้งองค์กรดำเนินการในยุทธศาสตร์รวม โดยเฉพาะเรื่องความยุติธรรม
"งานใดที่เป็นประโยชน์แม้จะเป็นของรัฐบาลก่อน ผมขอยืนยันว่าผมจะไม่ทิ้งจะสานต่อ จะปรับปรุงให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นโครงการรักษาฟรี ไม่ว่าจะเป็นบรรดากองทุนทั้งหลายที่ลงไปอยู่ในชุมชนต่างๆ และผมทราบดีครับว่าปัญหาเร่งด่วนที่สุดในใจพี่น้องประชาชนในขณะนี้คือปัญหาเศรษฐกิจ การฟื้นฟูเศรษฐกิจจึงเป็นงานสำคัญอันดับแรกของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการต่อไป "
ด้านการบริหารงานนั้นตั้งใจอย่างเต็มที่ในการดูแลเกษตรกร เพื่อไม่ให้รับผลกระทบจากราคาพืชผลที่ตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยาง ปาล์ม รวมถึงการดูแลประชาชนที่อยู่นอกภาคเกษตร ให้มีงานทำ มีรายได้ มีโอกาส และจะทำทุกวิถีทางที่จะลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ตามแนวทางวาระประชาชนและแผนปฏิบัติการเร่งด่วน
ทันทีที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา จะนำเสนอแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ครอบคลุมทุกปัญหา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกษตรกร ผู้ใช้แรงงานภาคเศรษฐกิจ ตั้งแต่อุตสาหกรรม การบริการ การท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์
นอกจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในระยะสั้นที่ต้องเร่งแก้ไขแล้ว จำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาในระยะยาวที่หมักหมมสะสมเรื้อรังและเป็นปัญหากับการพัฒนาประเทศในอนาคต คือเรื่องการศึกษาซึ่งถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดของประเทศ ที่จะยังคงเน้นการเรียนฟรีมีคุณภาพ
"งานกอบกู้เศรษฐกิจนั้น ต้องเกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ถนน การคมนาคม การสื่อสาร อินเตอร์เน็ต รวมถึงการสนับสนุนพลังงานทดแทน เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนาของประเทศจำเป็นต้องมีการเริ่มต้นและผลักดันอย่างรวดเร็ว "
ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เห็นว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะมีแผนใช้งบประมาณเพิ่มเติมจากแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ ทั้งที่เสถียรภาพการเงินของไทยยังมั่นคง แต่เป็นห่วงเรื่องอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่การส่งออกยังเป็นปัญหา และระดับบริโภคภายในประเทศที่มีการชะลอตัว
แต่ขณะเดียวกันยังมีความเชื่อมั่น ว่าปัญหาเศรษฐกิจของเราหากมีความตั้งใจและมีแนวคิดเชิงนโยบาย ที่ชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติน่าจะเป็นปัญหาที่รักษาเยียวยาได้ เช่นโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ชนบท การเข้าถึงแหล่งเงินของประชาชนรากหญ้า ที่จะต้องสานต่อโดยจะพิจารณาหาเงินจากมาใช้จากส่วนใดบ้าง
ส่วนโครงการรถไฟฟ้า จะต้องไปพิจารณาว่าที่ก่อสร้างจริง ควร มีกี่สายและดำเนินการไปถึงไหนแล้ว แต่จะต้องประเมินตามความเหมาะสมว่าจะจัดลำดับความสำคัญของเส้นทางไหนก่อนหลัง และต้องดูความต้องการตามสภาพทางการเงินของประเทศ
นอกจากนี้ยังจะต้องช่วยเหลืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการเข้าถึงแหล่งเงินของธุรกิจเอสเอ็มอี หากให้ความช่วยเหลือได้ คาดว่าเศรษฐกิจก็น่าจะฟื้นตัวได้ในไตรมาส 2- 3 ในปีหน้า
ปรับเศรษฐกิจพึ่งตนเอง
แหล่งข่าวจากทีมร่างนโยบายพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า นโยบายรัฐบาลนั้นจะพิจารณาสานต่อโครงการของรัฐบาลเดิม หากเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ไม่ใช่โครงการประชานิยม แต่จะให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการทำงาน
" เปลี่ยนหลักคิดให้เป็นการพึ่งตัวเอง และต่อยอดโครงการต่างๆ เน้นการทำงานให้มีรายได้ไม่ใช่การนำเงินไปให้และสุดท้ายต้องพึ่งตัวเองได้ในอนาคต เช่นโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรคยังจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป เพราะถือเป็นรัฐสวัสดิการ ไม่ใช่ประชานิยม รัฐบาลต้องแยกให้ประชาชนเห็นระหว่างรัฐสวัสดิการกับประชานิยม"
ด้านการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร โครงการกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน ต้องเป็นนโยบายที่ปฏิบัติได้จริง ทั้ง ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่าเงินงบประมาณที่รัฐบาลสนับสนุนโดยเฉพาะงบประมาณกลางปี 2552 ที่เตรียมตั้งงบขาดดุลเพิ่มอีก 1.1 แสนล้านบาทและยังมีงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ที่มีอยู่ประมาณ 1แสนล้านบาท ต้องใช้ตอบสนองนโยบายรัฐบาลกลางให้มากขึ้น ด้วยการมอบหมายกระจายงานให้องค์กรท้องถิ่นรับดูแลไปเช่นเรื่องการศึกษาให้เด็กได้เรียนฟรี
การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีประมาณ 1 แสนล้านบาทแต่เบิกจ่ายจริงเพียง 50% ต้องเร่งรัดเงินเหล่านี้ให้กระจายออกมา และเงินที่รัฐบาลช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นนี้จะใช้ลดภาระ ให้ประชาชนมีอาชีพเป็นหลักฐานมั่นคง ดูแลลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งต้องสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้มีแรงจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมต่อไป โดยเฉพาะการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและแหล่งเงินทุน
ขณะเดียวกันภาครัฐต้องกำกับดูแลการใช้เงินของชุมชนของกลุ่มที่ปล่อยเงินสนับสนุนด้วยมากกว่าการปล่อยเงินให้โดยไม่มีการควบคุมไม่มีระสิทธิภาพอย่างที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่านโยบายเหล่านี้สอดคล้องกลุ่มเพื่อนเนวินนำเสนอก่อนหน้านี้ เช่นนโยบายเอสเอ็มแอล หรือการพัฒนาศักยภาพหมู่บ้าน และชุมชน การต่อยอดโครงการกองทุนหมู่บ้าน เบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ60ปีขึ้นไปที่พรรคประชาธิปัตย์มีแนวคิดใช้งบประมาณ 6,000 ล้านบาทมาเพิ่มการช่วยเหลือให้คนชรา 1 ล้านคนในปี 2552
การจัดค่าตอบแทนอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลการเกษตรเป็นต้น
แนวร่างนโยบายเร่งด่วน
สำหรับนโยบายที่พรรคประชาธิปัตย์ร่างไว้เป็นแนวทางและได้นำมาผสมผสานเป็นร่างนโยบายที่จะใช้ในแผนปฏิบัติการเร่งด่วน 99 วันที่เคยหาเสียงไว้ อาทิ เรื่องเด็กทุกคนได้เรียนฟรีจนจบมัธยมปลาย ฟรีหนังสือ อุปกรณ์การเรียน และเครื่องแบบ โดยคาดว่างบประมาณ 17,000 ล้านบาท เพิ่มจากงบประมาณที่กระทรวงศึกษาธิการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรให้ตามปกติ การลดภาระค่าครองชีพ ด้วยการยกเลิกการจัดเก็บเงินส่งกองทุนน้ำมันเฉพาะน้ำมันดีเซล และแก๊สโซฮอล์เพื่อให้พลังงานราคาถูกลง ตรึงราคาก๊าซหุงต้ม เพื่อประชาชนทุกครัวเรือนไม่ต้องจ่ายค่าก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นจากที่จ่ายในปัจจุบัน อันเป็นการช่วยลดค่าครองชีพส่วนหนึ่ง
แผนปฏิบัติการฟื้นฟูชนบททันที เพื่อสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรและสร้างงานในท้องถิ่น โดยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงในทุกตำบล เริ่มต้นทุนประเดิมที่ตำบลละ 1 - 2 ล้านบาท โดยรัฐบาลโอนงบประมาณ ให้คณะกรรมการกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงระดับตำบล ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากทุกหมู่บ้าน เพื่อจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ช่วยให้เกิดการเพิ่มมูลค่าผลผลิต การเก็บรักษาผลผลิตเพื่อชะลอการขาย ตลอดจนการลงทุนในเครื่องจักรกล เพื่อลดต้นทุนการผลิต หรือเพื่อการลงทุนประกอบธุรกิจที่ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ใช้งบประมาณกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 10,000 ล้านบาท กระจายลงสู่ทุกตำบลทั่วประเทศ
การจัดตั้งองค์กรเพื่อการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นเอกภาพ โดยมีกฎหมายรองรับและปฏิบัติหน้าที่ได้ทันที นอกจากนี้ยังมีนโยบายกอบกู้เศรษฐกิจเช่นการขยายระบบชลประทานทั่วประเทศใช้งบลงทุน 3 แสนล้านบาท การประกันภัยพืชผล ลงทุน 450,000 ล้านบาท ในระบบขนส่งมวลชนและระบบรถไฟ เป็นต้น นี่คือความหวังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

Followers