การบริหารงานแบบบูรณาการ :
ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา
กรอบแนวคิดการบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา
เนื้อหา (Contens)
การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา

1. ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่
1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ
1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ
1.3 ความสามารถหลักขององค์การแบบบูรณาการ

2. การบริหารงานแบบบูรณาการ ในทัศนะของ ดร.อนันท์ งามสะอาด
2.1 ภาวะผู้นำ (Leadership)
2.2 วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture)
2.3 มีส่วนร่วม (Participative Management)

ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่
 บริหารจัดการด้วยความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
— มีข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนางาน กำหนดนโยบาย
— มีกระบวนการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจกับลูกค้า

1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ
1) มีเจ้าภาพ
2) มีส่วนร่วม
3) มียุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์พันธกิจชัดเจน
4 )รวดเร็วลดขั้นตอน
5 ) แก้ปัญหาเร่งด่วนที่เกิดขึ้น
6 ) มีประสิทธิภาพประหยัด
7) เกิดผลสัมฤทธิ์

1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ คือ การพัฒนาสร้างวิสัยทัศน์แบบคิดใหม่ทำใหม่ (Rethinking the Future) ได้แก่
1) หลักการ (Rethinking Principle)
2) การแข่งขัน (Competition)
3) การบริหารองค์กร (Control & Complexity)
4) ความเป็นผู้นำ (Leadership)
5) ระบบเครือข่าย (Networking)
6) มีส่วนร่วม (Participating)

1.3 ความสามารถหลัก (Core Competencies) ขององค์การแบบบูรณาการ (Integrated organization) ประกอบด้วย
1) การวิจัยและพัฒนา
2) การเงิน
3) กลยุทธ์เป็นสากล
4) กระบวนการผลิต
5) ระบบข้อมูลข่าวสาร
6) การตลาด
7) การบริหาร
8) การใช้กลยุทธ์เป็นพันธมิตร
9) การใช้กลยุทธ์การร่วมทุน
10) ผู้จัดจำหน่าย
11) การทำให้ลูกค้าคิดว่าลูกค้าก็คือหุ้นส่วนของกิจการ
12) คนกลาง

ความสามารถหลัก (Core Competencies) ขององค์การ ประกอบด้วย

1) การวิจัยและพัฒนา (Research and development) ต้องค้นหานวัตกรรมให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะได้เปรียบในเชิงแข่งขัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ได้ทันเวลา โดยต้องเปิดหาแหล่งความคิดใหม่ ๆ เพื่อการค้นคว้าจากพนักงานทุกระดับด้วยการให้รางวัลในการจูงใจจะได้นำไปสู่การวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์
2) การเงิน (Financial) ต้องสรรหาเงินมาลงทุนในหน่วยธุรกิจ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้ารวมทั้งต้องหมั่นดูแลสุขภาพทางการเงินขององค์การโดยให้พนักงานได้รับทราบถึงความเป็นไปของธุรกิจ
3) กลยุทธ์เป็นสากล (Global Strategy) มีการวางแผนที่จะขยายตัวไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น มิใช่แต่จะรุกตลาดเดิมเพียงอย่างเดียว
4) กระบวนการผลิต (Production Process) ต้องผลิตสิ่งที่จะขายได้ ในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
5) ระบบข้อมูลข่าวสาร (Data System) มีการติดตามความเคลื่อนไหวของสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้ทันกาลเวลาและทันความต้องการใช้ของธุรกิจ ต้องประมวลทุกอย่างเข้าด้วยกันตั้งแต่ข้อมูล (Data) การบริหารข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูล “ข้อมูลถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การ ”
6) การตลาด (Marketing) เป็นหน้าที่ของทุกคนทุกฝ่ายในการทำการตลาดมิใช่หน้าที่ของฝ่ายการตลาดแต่เพียงอย่างเดียว โดยจะต้องสร้างเป็นวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในองค์การ
7) การบริหาร (Management) ผู้บริหารทุกระดับชั้นนอกจากจะทำการบริหารจัดการในแต่ละหน่วยขององค์การแล้ว ยังต้องมีจิตวิญญาณของการเป็นนักการตลาดด้วย เนื่องจากปัจจุบันต้องบริหารงานภายใต้แนวคิดให้คุณค่าแก่ลูกค้า (Consumer Value)
8) การใช้กลยุทธ์เป็นพันธมิตร (Strategic Partner) ไม่จำเป็นต้องมีคนมาก เนื่องจากอะไรที่คนอื่นทำแล้ว ทำได้ดีกว่า ถูกกว่า ให้นำเข้ามาร่วมกับธุรกิจได้ เช่น Outsourcing, Strategic Alliances เป็นต้น
9) การใช้กลยุทธ์การร่วมทุน (Joint Ventures)
10) ผู้จัดจำหน่าย (Vendor Partnering) การมีเครือข่ายทางธุรกิจที่จะต่อแขนต่อขา จะทำให้องค์การมีความสามารถในการส่งสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าได้มากและทั่วถึงขึ้น
11) การทำให้ลูกค้าคิดว่าลูกค้าก็คือหุ้นส่วนของกิจการทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกเป็นเจ้าของ
12) คนกลาง (Middlemen) เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จทางการตลาด ในการกระจายผ่านผู้ค้าคนกลางไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย ให้ได้รับความพึงพอใจ หรือถึงผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้น จึงต้องมีการรักษาสัมพันธภาพไว้ให้ยาวนาน
2. การบริหารงานแบบบูรณาการ : ทัศนะ ดร.อนันท์ งามสะอาด
2.1 ภาวะผู้นำ (Leadership)
คือ กระบวนการมีอิทธิพล (influence) ซึ่งกันและกันระหว่างผู้นำและผู้ตามเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ (achieve organizational objectives) และเกิดการเปลี่ยนแปลง (change)

ภาวะผู้นำ (leadership)
ตัวอย่าง : ภาวะผู้นำสู่ความสำเร็จ
ตัวอย่าง : ภาวะผู้นำสู่ความสำเร็จ
1. shared vision
2. team work
3. following up
4. trust
5. empowerment
6. effective communication

คุณลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิผล (trait of effective leaders)
1. มีลักษณะเด่น (dominance)
2. มีพลังตื่นตัวมุ่งความสำเร็จ (high energy)
3. เชื่อมั่นในตนเอง (self confidence)
4. เชื่ออำนาจแห่งตน (internal locus of control)
5. อารมณ์มั่นคง (stable)
6. น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ (integrity)
7. มีปฏิภาณไหวพริบ (intelligence)
8. ยืดหยุ่น (flexibility)
9. ไวต่อความรู้สึกของบุคคลอื่น (sensitive to others)

ผู้นำทางธุรกิจ ( Leader)
1. เป็นผู้ที่มีแรงขับดันในการทำงานสูง มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายชัดเจน
2. ชอบท้าทายอุปสรรค มีพลังอำนาจเป็นที่ยอมรับของทุกคน
2. คิดเป็น และคิดให้มากกว่าคนอื่น
3. ทำงานเป็น และทำงานหนักกว่าลูกน้อง
4. ยืนอยู่แถวหน้าเสมอ ไม่ว่าองค์การจะรุ่งโรจน์หรือรุ่งริ่ง

ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำ Interrelationships

ระดับกลุ่ม (Group Level) ระดับองค์การ (Organizational Level)
ระดับบุคคล (Individual Level)


2.2 วัฒนธรรมองค์การ :Organization Culture
เจ.ซี. สเปนเดอร์ (J.C. Spender) กล่าวว่า เป็นระบบความเชื่อที่สมาชิกขององค์การยืดถือร่วมกัน
วัฒนธรรมองค์การ คือวิถีชีวิตของกลุ่มคนในองค์การหนึ่งๆ ที่ประพฤติปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มคนนั้นๆ วัฒนธรรมองค์การที่ดีจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้องค์การสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและยั่งยืน

ตัวอย่าง : วัฒนธรรมของศิริราช "SIRIRAJ" มีความหมาย ดังนี้
S = Seniority กัลยาณมิตร ความเป็นพี่เป็นน้อง ความหวังดีช่วยเหลือกัน
I = Integrity มีระเบียบวินัยด้วยตัวเอง มีความมั่นคงในคุณธรรม เชื่อถือไว้วางใจได้
R = Responsibility มีความทุ่มเทให้องค์การ คิดถึงประโยชน์ขององค์การ ตั้งใจทำงานจนสำเร็จ
I = Innovation พัฒนาความคิดและกระบวนการ มีความคิดสรางสรรค์ กล้าคิดกล้าทำ
R = Respect เห็นคุณค่าของคนทุกระดับ ให้เกียรติและคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นเอาใจเขามาใส่ใจเรา
A = Altruism การเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ความไม่เห็นแก่ตัว
J = Journey to excellence and sustainability มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ

2.3 บริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management)
1. การร่วมกันวางแผน (Plan)
2. การร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Do)
3. การร่วมกันตรวจสอบ (Check)
4. การร่วมกันปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง (Action)

แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วม
1. พัฒนาวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วิธีดำเนินการ ขององค์การอย่างชัดเจน
2. จัดตั้งทีมงานที่มีคุณภาพหลากหลาย
3. พัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ
4. พัฒนาระบบข่าวสารข้อมูล
5. สร้างแรงจูงใจ ให้เกียรติยกย่องบุคลากร
6. ยกย่องผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพ
7. มีการประชาสัมพันธ์ที่ดี

สรุป
การบริหารงานแบบบูรณาการ : ร่วมคิดร่วมทำร่วมพัฒนา

1.ลักษณะการบริหารงานสมัยใหม่
1.1 การบริหารงานแบบบูรณาการ
1.2 องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การบริหารงานแบบบูรณาการประสบผลสำเร็จ
1.3 ความสามารถหลักขององค์การแบบบูรณาการ

2. การบริหารงานแบบบูรณาการ ในทัศนะของ ดร.อนันท์ งามสะอาด
2.1 ภาวะผู้นำ (Leadership)
2.2 วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture)
2.3 มีส่วนร่วม (Participative Management)

Followers